คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หักหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการหักหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท และอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามประกาศธนาคาร
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 7 ระบุว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมให้โจทก์นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทหักกับบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่กับโจทก์เพื่อชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีท อันเป็นการให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะดำเนินการตามข้อตกลงที่ระบุไว้โดยไม่จำต้องขอรับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 อีก ข้อสัญญาดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงที่บังคับให้โจทก์ต้องปฏิบัติเสมอไป การที่โจทก์มิได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์เป็นจำนวนสูงเกือบเต็มวงเงินที่จะเบิกเกินบัญชีได้ ทั้งนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 หากโจทก์นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้งสองรายการไปหักทอนในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ก็อาจเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับภาระหนี้สินมากขึ้น ประกอบกับก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีกระแสรายวันเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเบิก ดังนี้กรณีที่โจทก์มิได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักทอนในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จำนองบางส่วนและการหักหนี้ การบังคับคดีต่อลูกหนี้ร่วม
คดีปรากฏในชั้นอุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์จำนวน 1,500,000 บาท (ตามวงเงินที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันไว้) โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 พร้อมทั้งขอรับเอกสารเพื่อไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้ต่อไป กรณีจึงมีผลเท่ากับโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามสัญญาจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป และต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวหักออกจากจำนวนหนี้ 7,280,180.66 บาท ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย และมูลหนี้ดังกล่าวจำนวน 1,500,000 บาท เป็นมูลหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกกันได้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้กู้กับจำเลยที่ 2 ผู้จำนอง คำพิพากษาจึงต้องมีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ผู้จำนองซึ่งต้องรับผิดซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1) แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีเงินฝาก: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. หน้าที่ของลูกหนี้ในการรักษาผลประโยชน์ตนเอง
การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ ย่อมแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้มีการ ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หักกลบลบกัน โดยมีการ หักทอนบัญชีกันอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า หลังจากที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด บัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องโดยจำเลยที่ 1 ยังคงใช้เช็คฝากถอนเงินจากบัญชีตลอดมาอีกประมาณ 50 ครั้ง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้นำหนี้อันเกิดจากสัญญาทรัสต์รีซีทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาหักทอนบัญชีกันในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันด้วยแต่อย่างใด แม้ในสัญญาทรัสต์รีซีทที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์จะมีข้อตกลงว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัด ยินยอมให้โจทก์หักจากบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่ 1 ได้ทันที ก็เป็นการแสดงเจตนาให้สิทธิแก่โจทก์ แต่มิใช่ข้อตกลงที่กำหนดหน้าที่ให้โจทก์ต้องปฏิบัติ การที่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ก็เพื่อความสะดวกและความคล่องตัวในการประกอบกิจการค้าขายของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งมาชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทเสียในเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด หรือภายในระยะเวลาอันสมควร ย่อมเป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ที่ยังมีเงินฝากในบัญชีให้เดินสะพัดต่อไป ทำให้เกิดสภาพคล่องและธุรกิจของจำเลยที่ 1 ไม่หยุดชะงักเพราะขาดเงินสดหมุนเวียน ซึ่งหากธุรกิจของ จำเลยที่ 1 ต้องหยุดชะงักก็จะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าการที่จำเลยที่ 1 ยังคงต้องเสียดอกเบี้ยตามสัญญาทรัสต์รีซีท อีกต่อไป การที่โจทก์มิได้หักเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันนั้น แม้จะเล็งเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น แต่ก็เป็นลักษณะของผลประโยชน์โดยตรงจากการประกอบธุรกิจกิจการธนาคารพาณิชย์ตาม วัตถุประสงค์ของโจทก์อยู่แล้ว จำเลยที่ 1 เองก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของตนเช่นกัน ย่อมต้องทราบ ว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันของตนมีอยู่เท่าใด และโจทก์ได้หักเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่ได้หักเงินจากบัญชีกระแสรายวันภายในระยะเวลาอันสมควรและเงินในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ยังคงเป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิถอนเงินจากบัญชีนั้นมาชำระหนี้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยต่อไปได้ การที่จำเลยที่ 1 ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์โดยเบิกถอนเงินในบัญชีของตนเรื่อยมาและมิได้ดำเนินการอย่างใด ๆ เมื่อได้รับหนังสือของโจทก์ที่ทวงถามให้ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่รักษาผลประโยชน์ของตนเอง กรณีจึงไม่อาจถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตที่ไม่หักเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2167/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระดอกเบี้ยเกินกฎหมาย แม้เป็นโมฆะ แต่หากชำระโดยสมัครใจแล้ว จะนำมาหักหนี้ต้นเงินไม่ได้
โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 มีผลให้ดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อจำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวด้วยความสมัครใจตามที่ตกลงกู้ยืมเงินกับโจทก์ จึงเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจและเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และ 411 จำเลยจะเรียกดอกเบี้ยคืนหรือนำมาหักชำระหนี้ต้นเงินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหนี้เบิกเกินบัญชี, การค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ดอกเบี้ย, หักหนี้
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการโจทก์ และมีอำนาจที่จะมอบอำนาจให้พนักงานของธนาคารโจทก์กระทำการใด ๆตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับธนาคารโจทก์ ส. ได้มอบอำนาจให้ ป. รองผู้จัดการมีอำนาจกระทำการบอกกล่าว ทวงถามเรียกเก็บหนี้สิน ฟ้องคดีแพ่ง และต่อสู้คดีทั้งปวงแทนได้และมีอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อกระทำการดังกล่าวได้ และป. ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.และหรือค. ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม เมื่อการมอบอำนาจของโจทก์เป็นไปโดยต่อเนื่องไม่ขาดสาย การฟ้องและดำเนินคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์กับเดินสะพัดทางบัญชีกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียน จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ นอกจากนี้ยังระบุ ถึงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและวันที่คิดดอกเบี้ย ในแต่ละอัตราต่าง ๆ และระบุยอดหนี้คิดถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 128,931,527.86 บาท คิดดอกเบี้ย ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 12,169,017.73 บาท รวมเป็นหนี้ 141,100,555.59 บาท จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกัน ชำระหนี้ดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่า จะชำระเสร็จอันเป็นรายละเอียดที่แสดงถึงสภาพแห่งข้อหา ของโจทก์ คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยแจ้งชัดแล้ว ส่วนรายละเอียดหรือเอกสารเกี่ยวกับการ คิดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความชอบ ที่จะนำสืบพิสูจน์พยานหลักฐานกันในชั้นพิจารณาได้ แม้คำฟ้องโจทก์ไม่ระบุรายละเอียดหรือเอกสารดังกล่าวมา ก็หาทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายซึ่งเป็นสัญญาที่ใช้ประกอบกับสัญญาบัญชีเดินสะพัดได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2527 กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนแก่โจทก์ภายใน 1 ปี สัญญาจึงย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528เว้นแต่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปแต่ไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาแต่อย่างใด อีกทั้งหลังวันที่2 เมษายน 2528 ซึ่งสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์ก็ไม่ยินยอม ให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีหรือเดินสะพัดทางบัญชีกัน อีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลย จึงสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว มิใช่สิ้นสุดเมื่อโจทก์ บอกเลิกสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากจำเลยจากยอดหนี้ที่ค้างชำระ ณ วันสิ้นสุดสัญญา โดยไม่ทบต้น หามีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันบอกเลิกสัญญาไม่ โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกันตั้งแต่ปี 2522 เป็นหนี้ผูกพันกันตลอดมาจนถึงปี 2527 แล้วตกลงทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันต่อไปอีก และเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 ซึ่งสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี และตามการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าชำระหนี้ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2533 ชำระครั้งสุดท้ายจำนวน 5,000,000 บาท อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)เมื่อนับอายุความใหม่จนถึงวันฟ้องวันที่ 30 กรกฎาคม 2535ยังไม่เกิน 10 ปี สำหรับสิทธิเรียกร้องในต้นเงินค้างชำระและไม่เกิน 5 ปี สำหรับดอกเบี้ยค้างชำระ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวทั้ง 2 กรณีจึงไม่ขาดอายุความ แม้โจทก์จะทำหนังสือมอบอำนาจให้ อ.บอกกล่าวบังคับจำนองหรือไม่ก็ตาม แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้ทำ เป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างใดเมื่อ อ. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว แต่ไม่ชำระหนี้และต่อมาโจทก์ได้ฟ้องบังคับจำนอง ถือได้ว่าโจทก์ ได้ให้สัตยาบันการบอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 แล้วการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์เป็นไปโดยชอบมิได้ตกเป็นโมฆะ ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันทุกฉบับ และข้อความในสัญญาก็ระบุชัดว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกัน จึงเป็นการแสดงฐานะของจำเลยที่ 3ไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่าค้ำประกันในฐานะส่วนตัว หาใช่จำเลยที่ 3 อ้างว่าลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่ อีกทั้งจำเลยที่ 3 ก็ไม่ได้เป็น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย ส่วนเรื่องการบอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 3 นั้น เมื่อโจทก์บอกกล่าวทวงถามจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิ เรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหรือไม่ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิด ตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในต้นเงินจำนวน 63,200,000 บาทซึ่งเป็นการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการนำเงินเข้าและถอนออกในบัญชี ช่วงเวลาใดที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ครบวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงิน ค้ำประกันเป็นต้นไป แต่หากต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ลูกหนี้ชั้นต้นนำเงินชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิด ในหนี้ส่วนที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะมีการเบิกถอนเงินจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ย นั้นอีก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกัน พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินค้ำประกันครั้งสุดท้ายเมื่อปรากฏว่าครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มวงเงินตามสัญญาค้ำประกันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์ นับแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปแต่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงในวันที่ 2 เมษายน 2528 จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นให้แก่โจทก์นับแต่วันที่1 พฤศจิกายน 2527 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 2 เมษายน 2528อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญาเท่านั้น หลังจากนั้นเสียดอกเบี้ยไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ทั้งนี้ต้องคิดดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวอัตราเดียวกับจำเลยที่ 1และต้องนำเงินฝากในช่วงเวลาดังกล่าวตามรายการในการ์ดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาหักทอนบัญชีคำนวณยอดหนี้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายผ้า, อายุความ, การร่วมรับผิดของหุ้นส่วน, และการหักหนี้
อุทธรณ์ของโจทก์มีใจความว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,889,967.75 บาท แล้ว จึงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้จำนวนนี้จริงจะนำข้อต่อสู้เรื่องอายุความมาตัดทอนจำนวนหนี้ที่รับกันหาได้ไม่ ที่ศาลชั้นต้นหักค่าผ้าเป็นเงิน 198,864.80 บาท ออกจากจำนวนหนี้ที่รับฟังเป็นยุติแล้ว จึงคลาดเคลื่อนต่อกฎหมายและการซื้อขายผ้าตามฟ้องจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ชำระเป็นเงินสดแสดงว่าเป็นการซื้อขายระบบสินเชื่อมีระยะเวลา 90 วัน ตามที่โจทก์นำสืบ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้อุทธรณ์เรื่องอายุความ เกี่ยวกับสินค้าที่โจทก์ได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว การซื้อขายผ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะต้องชำระราคาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับผ้า โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาผ้านับแต่วันส่งมอบผ้า โจทก์ส่งผ้าตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2528โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 30 เมษายน 2530 ค่าผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2528 รวม 2 รายการเป็นเงิน 198,864.80 บาท จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(เดิม) จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในยอดหนี้จำนวนดังกล่าว การหักกลบลบหนี้เป็นเรื่องบุคคลสองฝ่ายต่างมีความผูกพันเป็นหนี้กัน และหนี้ซึ่งผูกพันกันอยู่อันจะเกิดการหักกลบลบหนี้กันได้นี้ต้องเป็นหนี้สองรายหรือต่างรายกัน แต่ความรับผิดของจำเลยที่จะต้องชำระราคาผ้ากับความรับผิดของโจทก์ใน การรับคืนผ้าที่ขายเพราะเหตุชำรุดบกพร่องนี้เกิดจากสัญญาซื้อขายผ้ารายเดียวกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างผูกพันในหนี้อันเดียวกัน ดังนั้น การหักราคาผ้าที่โจทก์รับคืนเพราะเหตุชำรุดบกพร่องออกจากราคาผ้าที่โจทก์ขายไป จึงไม่ใช่ เรื่องหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 นับตั้งแต่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำการค้าระหว่างกันจนกระทั่งฟ้องร้องคดีนี้ไม่เคยมีการหักทอนบัญชีแต่อย่างใดเนื่องจากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับตัวเลขแสดงว่ามิได้มีการตกลงกำหนดเวลาให้มีการหักทอนบัญชีในกิจการค้าระหว่างโจทก์กับ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสาระสำคัญข้อหนึ่งเกี่ยวกับสัญญา บัญชีเดินสะพัด แม้กฎหมายจะไม่บังคับว่าการจดแจ้งทางบัญชี จะต้องทำอย่างไรและจะต้องถูกต้องตามหลักการทำบัญชีก็ตาม แต่พฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ปฏิบัติต่อกันดังที่ นำสืบมานั้นเป็นเรื่องซื้อขายผ้ากันธรรมดา ถือไม่ได้ว่า กิจการค้าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะเป็น สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 จำเลยทั้งสี่ฎีกาอ้างว่าผ้าที่โจทก์ต้องรับคืนตามฟ้องแย้ง ไม่ใช่ผ้าชำรุดบกพร่อง หากแต่เป็นผ้าที่ไม่อาจใช้งานของ จำเลยที่ 1 ได้ แต่นำไปใช้งานอย่างอื่นได้ กรณีไม่ใช่เป็น การเรียกเอาค่าสินค้าที่เกิดจากความชำรุดบกพร่อง ฟ้องแย้ง จึงไม่ขาดอายุความนั้น ข้ออ้างตามฎีกาจำเลยทั้งสี่ดังกล่าว ขัดกับคำให้การและฟ้องแย้งที่ว่า ผ้าที่โจทก์ส่งแก่จำเลย ที่ 1 หากเกิดชำรุดบกพร่องโดยการทอก็ดี การฟอกย้อมก็ดี และหรือเหตุอื่นใดก็ดี เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่อาจ ใช้ประโยชน์ตามมุ่งหมายแห่งสัญญา โจทก์ยอมรับคืน ซึ่งหมายความ ว่าหากผ้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 มีลักษณะดังกล่าว ข้างต้น แม้จะสามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ก็ให้ถือว่า เป็นผ้าที่ชำรุดบกพร่องในการที่โจทก์จะต้องรับคืนจากจำเลย ที่ 1 นั่นเอง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 474 ได้บัญญัติในเหตุที่ว่านี้ให้ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ พบเห็นความบกพร่อง เมื่อปรากฎว่าโจทก์ส่งผ้าให้แก่ จำเลยที่ 1 ปี 2528 จึงเชื่อว่าฝ่ายจำเลยย่อมจะพบเห็น ความชำรุดบกพร่องของผ้าดังกล่าวตั้งแต่ปีดังกล่าวแล้วการที่จำเลยทั้งสี่มาฟ้องแย้งโจทก์ในปี 2530 จึงเกิน 1 ปีนับแต่ที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องฟ้องแย้งจึงขาดอายุความ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิดกับห้าง จำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าผ้าทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งหมายถึงในฐานะที่ เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วย เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องให้แต่เฉพาะผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เท่านั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 มาก่อน ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัด ความรับผิด แม้ต่อมาในขณะฟ้องจำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าได้ เปลี่ยนแปลงเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด จึงถือว่า จำเลยที่ 2 ยังเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดอยู่ ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 ปรากฏว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง จำเลยที่ 1 จึงเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด เช่นกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะมิได้ซื้อผ้า จากโจทก์เป็นการส่วนตัวก็ตาม จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ต้อง รับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัด จำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077(2) ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมรับผิด กับจำเลยที่ 1 ตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แม้โจทก์คำนวณหนี้ผิดพลาด โจทก์หักหนี้ไม่ได้
จำเลยเจตนาจะชำระหนี้ทั้งหมดตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่มีอยู่แก่โจทก์และจำเลยได้ชำระหนี้แก่โจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่โจทก์แจ้งยอดค้างชำระหนี้ให้จำเลยทราบกรณีเช่นนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยต้องชำระหนี้โจทก์โดยมูลหนี้หลายรายแล้วชำระหนี้ไม่เพียงพอจะเปลื้องหนี้สินได้หมดทุกรายอันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าการชำระหนี้ของจำเลยจะเป็นการเปลื้องหนี้รายใดก่อนหลังตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328เมื่อปรากฎว่าโจทก์คำนวณยอดหนี้ตามสัญญากู้เงินผิดพลาด ส่วนยอดหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีถูกต้อง อีกทั้งจำนวนเงินที่จำเลยชำระก็เพียงพอและถูกต้องตามยอดหนี้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบถ้วนและหนี้ดังกล่าวระงับไปแล้ว โจทก์จะนำเงินที่จำเลยชำระไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินที่โจทก์คำนวณยอดหนี้ผิดพลาดก่อนโดยพลการไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีกระแสรายวันและการขยายผลการพิพากษาถึงจำเลยอื่น
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับ ทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว
เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10 จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่
แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7,ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากบัญชีธนาคาร และผลผูกพันหนี้ร่วม การบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงกันว่า เมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ชีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต จำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง 6 ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้น จึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีชีทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 7 ถึงที่ 10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่ 1, ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1,ที่ 2, ที่ 4, ที่ 7, ที่ 8, ที่ 9 และที่ 10 ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247
of 6