คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วนสามัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-การขายที่ดินเพื่อหากำไร-ภาระภาษี-ผลผูกพันสัญญา
ตามพฤติการณ์ที่โจทก์กับ อ. ตกลงร่วมกันซื้อที่ดินพิพาทจาก ส. เมื่อถึงวันโอนโจทก์ไม่ว่างจึงให้ อ. เป็นผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายที่ดินเพียงผู้เดียว การจ่ายเงินค่าที่ดินโจทก์ร่วมจ่ายกับ อ. ตั้งแต่แรกคนละครึ่ง นอกจากนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการขายที่ดินให้บริษัท ก. ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2533 โจทก์เป็นผู้เสนอขายที่ดินบริเวณแขวงตลาดบางเขน (ดอนเมือง) รวม 10 โฉนด ซึ่งรวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าว โดยมีข้อมูลประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับความสูงของอาคารที่จะสามารถก่อสร้างได้ ซึ่ง อ. สอบถามจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย และการขอเปิดทางเข้า - ออก ผ่านที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งโจทก์ดำเนินการร่วมกับ อ. แสดงให้เห็นว่าโจทก์และ อ. ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อขายและร่วมกันขายให้แก่บริษัท ก. จึงเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
การที่โจทก์และ อ. ร่วมกันจองซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 ซึ่งเป็นที่นาอยู่ต่ำกว่าทางรถไฟ 2.3 เมตร ไม่มีบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้าง ในราคาตารางวาละ 47,000 บาท อ. ได้รับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2533 และโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2533 แล้วร่วมกันขายต่อให้บริษัท ก. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2533 ในราคาตารางวาละ 66,000 บาท ซึ่งเป็นการขายต่อในระยะเวลาสั้นและได้กำไรจำนวนมากโดยไม่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับ อ. มีเจตนาซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การที่โจทก์กับ อ. ขายที่ดินให้แก่บริษัท ก. จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรและเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไร ต้องนำรายได้จากการขายมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 40 (8), 56, 77 (เดิม) และ 78 (เดิม)
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ระบุว่าบริษัท ก. เป็นผู้ชำระค่าภาษีจากการขายที่ดินทั้งหมดเป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาคือโจทก์กับพวกและบริษัท ก. มีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลทำให้ความรับผิดของโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญฟ้องหนี้เฉพาะส่วนไม่ได้ ต้องฟ้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
โจทก์และ ส. ตกลงเข้ากันเป็นหุ้นส่วนทำกิจการบ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ แม้ในการทำสัญญาขายที่ดินพร้อมอาคารแก่จำเลย จะได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจจัดการแทน อันมีผลทำให้โจทก์และ ส. ผูกพันตามสัญญาที่ ว. ทำไว้กับจำเลย ซึ่งโจทก์หรือ ส. ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิฟ้องจำเลยได้โดยลำพังก็ตาม แต่การฟ้องคดีก็จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เมื่อโจทก์และ ส. ยังเป็นหุ้นส่วนกันอยู่ การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เฉพาะส่วนของตนกึ่งหนึ่ง จึงเป็นการฟ้องเรียกหนี้สินของห้างหุ้นส่วนสามัญในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4357/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน: การแบ่งทรัพย์สินหลังเลิกห้างหุ้นส่วนและการพิพากษาคืนทุน/แบ่งผลกำไรโดยไม่ต้องชำระบัญชี
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจาก ท.ด้วยราคาเพียง 850,000 บาทแต่ห่างกันเพียง 15 วัน จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์กลับตั้งราคาสูงถึง 4,500,000 บาท โดยมีข้อสัญญาข้อ 2.1 ที่ระบุว่า จ่ายวันที่ 10 ธันวาคม2526 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ข้อ 2.2 ว่า เมื่อโครงการผ่านไปได้ 70เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 22 เดือน จ่าย 1,500,000 บาท ข้อ 3 ว่า เมื่อเสร็จโครงการแล้วจะแบ่งผลกำไรให้อีกเป็นเงิน 2,000,000 บาท สำหรับข้อสามนี้ส่วนแบ่งอาจจะเพิ่มขึ้นเมื่อผลลัพธ์ของงานได้ผลดี และหรืออาจจะลดลงตามส่วนเมื่อผลลัพธ์ของงานไม่ดี ลักษณะข้อความเรื่องการแบ่งปันกำไร ประกอบกับจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือถึงโจทก์ขอรับโฉนดคืนจากโจทก์โดยเสนอให้ที่ดินแก่โจทก์ 9 ล็อกเช่นนี้แสดงว่าโจทก์ สามีโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงเข้ากันเพื่อทำโครงการบ้านจัดสรรขายเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้ แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาซื้อขายที่ดินเช่นนี้จึงต้องฟังว่าเป็นสัญญาเข้าหุ้นส่วนทำบ้านจัดสรรขายด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้หนึ่งถึงแก่ความตาย ห้างหุ้นส่วนที่ร่วมลงทุนทำกิจการค้าจึงต้องเลิกกันและแบ่งทรัพย์สินระหว่างกัน
การเข้าหุ้นประกอบกิจการค้าระหว่างโจทก์ สามีโจทก์ และจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนสามัญมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนกันแล้วจะต้องมีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอคืนเงินทุนกับแบ่งผลกำไร จำเลยทั้งสองก็ให้การปฏิเสธว่าโจทก์กับสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินและบ้านไปแล้วโดยไม่มีกำไร ดังนั้นการที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์เพราะจำเลยทั้งสองก็ยังยืนยันว่าโจทก์และสามีโจทก์ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนและจำเลยขายที่ดินและบ้านไปโดยไม่มีกำไร ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีการคืนทุนและแบ่งผลกำไรตามที่พิจารณาได้ความไปทีเดียว โดยไม่ต้องให้มีการชำระบัญชีได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เข้าเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยทั้งสองหรือไม่ จำเลยทั้งสองต้องคืนทุนและแบ่งผลกำไรให้โจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้น หากข้อเท็จจริงได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญที่โจทก์และสามีโจทก์เป็นหุ้นส่วนอยู่นั้นยังมีที่ดินเหลืออยู่ ก็จำต้องนำที่ดินที่เหลือมาแบ่งส่วนให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนกัน โดยถือเป็นกำไรของห้างหุ้นส่วน การที่ศาลพิพากษาให้นำที่ดินที่เหลือจำนวน 10 โฉนด มาแบ่งส่วนให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วน จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-ความรับผิดร่วม: ละเมิดจากลูกจ้างในกิจการร่วมกัน
จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเกินรถกับจำเลยที่3ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการโดยจำเลยที่3ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่2ร้อยละ13ของยอดรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและยอมให้จำเลยที่3นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่4กับยอมให้จำเลยที่3พ่นชื่อบริษัทจำเลยที่3ไว้ที่ข้างรถจึงถือว่าจำเลยที่2และที่3เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการรับขนคนโดยสารด้วยกันในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเมื่อจำเลยที1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจำเลยที่3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่2ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่1ด้วย ที่จำเลยที่3ฎีกาว่าจำเลยที่4ต้องรับผิดไม่เกิน250,000บาทในนามของจำเลยที่3นั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ความรับผิดในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่3ต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลดลงเนื่องจากโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่3ได้เต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ, การบอกเลิกห้างหุ้นส่วน, สิทธิในทรัพย์สิน, การพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อ-กฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ - การพิสูจน์ข้อเท็จจริง - กระบวนพิจารณา - ศาลต้องฟังพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยได้นำเงินมาลงหุ้นเพื่อซื้อที่ดินพิพาทมาขายแบ่งกำไรกันและจำเลยได้ยึดถือที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยในโฉนดที่ดินแทนส่วนของโจทก์ไว้ ต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนองให้เช่าและกล่าวอ้างว่าที่ดินเป็นของจำเลยโดยโจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของด้วย ขอให้จำเลยแบ่งที่ดินให้โจทก์ตามส่วน จำเลยให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์และจำเลยเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ และตามคำขอของโจทก์โจทก์ต้องการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056ที่ต้องบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องไปนั้น จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะในข้อนี้จำเลยยังให้การปฏิเสธอยู่ ทั้งยังปฏิเสธเรื่องการเป็นเจ้าของรวมอีกด้วย ศาลจำต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญ-กรรมสิทธิ์รวม: การเปลี่ยนแปลงคำขอในชั้นฎีกาต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์กับ ป. แต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาทั้งโจทก์และ ป. ต่างมีทรัพย์สินมาลงหุ้นส่วนกัน โจทก์กับ ป.จึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. จึงเลิกกันและขณะที่ ป. ถึงแก่ความตายมีทรัพย์สินของหุ้นส่วนหลายรายการ รวมทั้งบ้านและที่ดินพิพาทด้วย จำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า โจทก์ไม่มีทรัพย์สินใดแม้แต่แรงงานมาลงหุ้นกับ ป. ในลักษณะของสัญญาหุ้นส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสัญญาการเข้าเป็นหุ้นส่วนได้ ทรัพย์สินตามฟ้องล้วนเป็นทรัพย์สินที่ ป. มีมาก่อนอยู่กินกับโจทก์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป. ศาลชั้นต้นจึงกำหนดเป็นประเด็นพิพาทว่า ทรัพย์สินพิพาทเป็นหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับ ป. หรือไม่เพียงใด เช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ ป. บ้านและที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างโจทก์กับ ป.โจทก์จะยกปัญหาที่ว่า จำเลยซื้อบ้านและที่ดินพิพาทโดยเจตนาให้เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ป. ขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2578/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ และการฟ้องคดีค่าน้ำค่าไฟที่ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าโดยไม่ชำระค่าเช่า จึงขอให้ขับไล่จำเลยให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าเกี่ยวกับการเช่าดังกล่าว โจทก์จำเลยตกลงกันด้วยวาจาว่าโจทก์ยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้า แต่จำเลยต้องเป็นผู้ชำระเงินค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า จึงขอให้บังคับจำเลยชำระค่าน้ำประปาและไฟฟ้าที่โจทก์ได้ชำระแทนไป ข้อตกลงเรื่องโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้น้ำประปาและไฟฟ้าโดยจำเลยเป็นผู้ชำระเงิน เป็นข้อตกลงต่างหากจากสัญญาเช่า มิใช่เรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแรกไม่เป็นฟ้องซ้อน
หุ้นส่วนที่จะฟ้องบังคับบุคคลภายนอกในกิจการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญได้จะต้องเป็นผู้มีชื่อในกิจการค้านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1049 การฟ้องคดีจึงไม่จำเป็นต้องลงชื่อบรรดาผู้ถือหุ้นทุกคนตามสัญญาเช่ามีแต่ชื่อโจทก์ที่ 1 ไม่ปรากฏชื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจถือสิทธิใด ๆ แก่จำเลยในการเช่านี้ และไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนสามัญ, ผู้รับประกันภัย และการชดใช้ค่าเสียหายกรณีรถชน โดยประเด็นสำคัญคือการเสื่อมราคาของรถ
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเดินรถกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ช. จำเลยที่ 2 จึงเป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าวในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้สินของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างฯ ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างฯ ห้างฯ และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดแทนห้างฯ และจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยจำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสื่อมราคารถแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ารถยนต์โจทก์เสื่อมราคาจากการเกิดเหตุ กรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาจึงชี้ขาดให้มีผลถึงจำเลยที่ 1ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญขาดทุน เลิกห้าง-ชำระบัญชี: ศาลสั่งบังคับรับผิดได้ แม้ยังมิได้ชำระบัญชี
การที่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญฟ้องผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเป็นจำเลยให้รับผิดในส่วนที่ขาดทุน โดยที่ยังไม่มีการเลิกห้างและชำระบัญชีนั้น แม้ในคำฟ้องของโจทก์จะมิได้มีคำขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่เมื่อตาม คำฟ้องมีคำขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนครึ่งหนึ่งพร้อมด้วย ดอกเบี้ยแสดงให้เห็นความประสงค์ของโจทก์ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าไม่มีตัวบุคคลที่จะช่วย ให้การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนดำเนินต่อไปได้ อีกแล้ว ถือว่ามีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1057(3)ศาลย่อมสั่งให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว จะต้อง มีการชำระบัญชีกันก่อนเพื่อทราบกำไรขาดทุน แต่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่มีเจ้าหนี้ไม่มี คงมีแต่ เพียงลูกหนี้ที่ไม่สามารถติดตาม เรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ส่วนที่ขาดทุนคือเงินทดรองซื้อ สินค้า ดังนั้น การที่จะให้ไปดำเนินการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อนย่อมไม่เป็นประโยชน์ แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนโดย มิได้ขอให้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ศาลก็ย่อมพิพากษาบังคับให้จำเลยรับผิดในส่วนที่ขาดทุนได้โดย มิต้องให้มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนนั้น.
of 5