พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการของห้างสรรพสินค้าต่อผู้ที่สงสัยว่าลักทรัพย์ ไม่ถือเป็นการข่มขืนใจหรือกรรโชก หากมีเหตุเชื่อโดยสุจริต
จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าผู้เสียหายได้ลักเอาสติกเกอร์ของห้างซึ่งจำเลยมีหน้าที่ช่วยดูแลกิจการอยู่ไป การที่จำเลยบอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับให้ห้าง 30 บาท ถ้าไม่ยอมจะส่งตัวให้เจ้าพนักงานตำรวจนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการข่มขืนใจหรือขู่เข็ญผู้เสียหายให้ยอมให้เงิน 30 บาทเพราะจำเลยมีหน้าที่ดูแลกิจการของห้างชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายทางอาญาในความผิดฐานลักทรัพย์ได้การที่จำเลยให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับเท่ากับเสนอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อตกลงเลิกคดีกัน จำเลยไม่มีความผิดฐานกรรโชก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6616/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าและผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยต่อการโจรกรรมรถยนต์ในลานจอดรถ
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า จัดให้มีลานจอดรถสำหรับลูกค้าที่ขับรถเข้ามาซื้อสินค้าโดยจำเลยที่ 1 เคยกำหนดระเบียบให้ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่บริเวณทางเข้าห้างจำเลยที่ 1 และต้องคืนบัตรจอดรถให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ทางออกห้างจำเลยที่ 1 หากไม่คืนบัตรจอดรถลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการต้องนำหลักฐานมาแสดงว่าเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถไปได้ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมทำให้ผู้มาใช้บริการจอดรถที่ห้างจำเลยที่ 1 เข้าใจว่าที่จอดรถดังกล่าวจำเลยที่ 1 จัดให้บริการรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่จะนำรถยนต์เข้ามาจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าในห้างจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองปฏิบัติมาในครั้งก่อน ๆ ก่อให้เกิดหน้าที่แก่จำเลยที่ 1 ต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่รถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดไม่ให้ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ออกไปจากที่จอดรถหรือป้องกันการโจรกรรมรถยนต์
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
สัญญาว่าจ้างบริการรักษาความปลอดภัย ที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ข้อ 4.3 (ก) และ (ข) ระบุว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างจะดำเนินการสอดส่องตรวจตราและสังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สินของบุคคลที่มาใช้บริการของผู้ว่าจ้างในสถานที่ให้บริการให้มีความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการกำหนดและดำเนินมาตรการเพื่อป้องกัน และทำการช่วยเหลือในการป้องกันและหรือระงับการโจรกรรมที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ให้บริการ โดยจำเลยทั้งสองได้กำหนดมาตรการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์หลายประการ เช่น การจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถให้แก่ผู้ขับรถยนต์เข้าห้างจำเลยที่ 1 และรับบัตรจอดรถคืนขณะขับรถออกจากห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 จัดให้มีเครื่องกั้นอัตโนมัติที่ทางเข้า - ออก เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์แล่นออกจากที่จอดรถไปได้โดยง่าย และจัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตรวจตราบริเวณที่จอด แต่ก็ยังปรากฏว่ามีรถยนต์สูญหายจากบริเวณที่จอดรถ ดังที่จำเลยทั้งสองได้ประกาศเตือนผู้นำรถยนต์เข้ามาจอดให้ระวังรถยนต์สูญหาย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้อยู่ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้รถของลูกค้าสูญหายได้ จำเลยทั้งสองจึงควรแก้ไขมาตรการในการป้องกันการโจรกรรมรถให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหายเพิ่มขึ้นอีก แต่จำเลยทั้งสองกลับเลือกยกเลิกมาตรการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่บริเวณทางเข้า - ออก ห้างจำเลยที่ 1 เพื่อแจกบัตรจอดรถและรับบัตรจอดรถคืนและยกเลิกเครื่องกั้นอัตโนมัติ คงเหลือมาตรการใช้กล้องวงจรปิดเพียงอย่างเดียวเพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์บริเวณทางเข้า - ออกห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมิใช่วิธีป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ และระงับการโจรกรรมรถยนต์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจงดเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาและป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าสูญหาย จำเลยที่ 2 ผู้รับจ้างรักษาความปลอดภัยทรัพย์สิน โดยวิชาชีพและหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัญญาจ้างย่อมต้องมีวิธีการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการถูกลักไปโดยง่าย การที่จำเลยที่ 2 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำที่ทางเข้า - ออกจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีและไม่ใช้วิธีการที่ดีเพียงพอ อันเป็นผลโดยตรงทำให้รถกระบะที่โจทก์รับประกันภัยไว้ถูกคนร้ายลักไป ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 อันเป็นการทำละเมิดต่อนางสมคิดผู้เอาประกันภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยที่ 1ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 2 ตัวแทนของจำเลยที่ 1ได้กระทำไปในทางการที่มอบหมายให้ทำแทน ตามมาตรา 427 โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนให้ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยเต็มจำนวนตามตารางกรมธรรม์ให้ความคุ้มครอง โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4832/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของห้างฯมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยรถลูกค้า การเปลี่ยนรูปแบบบัตรจอดรถเป็นเหตุให้เกิดละเมิด
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุได้จัดให้มีที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าโดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 คอยแจกบัตรจอดรถให้กับผู้มาใช้บริการที่ทางเข้าและรับบัตรจอดรถคืนที่บริเวณทางออกของห้างสรรพสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ย่อมทำให้ผู้ที่มาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้าจัดให้บริการรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ของผู้มาใช้บริการที่จะนำเข้ามาจอดในที่จอดรถขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ต้องดูแลรักษาความเรียบร้อยและจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมในการดูแลรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้ามาจอดยังที่จอดรถของจำเลยที่ 2 ด้วย
ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแจกบัตรจอดรถที่ทำจากกระดาษแข็งชนิดอ่อนเคลือบด้วยพลาสติกใส ไม่ระบุวันเดือนปีและเวลารถเข้าออก ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าในห้าง เพียงแต่ระบุหมายเลขประจำบัตรจอดรถเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบัตรจอดรถไปจากบัตรเดิมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถให้ตรงกับบัตรได้ การนำบัตรจอดรถซึ่งไม่ระบุรายละเอียดรถที่แล่นผ่านเข้าห้างมาใช้เช่นนี้ จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่าบุคคลอื่นอาจนำบัตรจอดรถดังกล่าวมาใช้เพื่อนำรถคันอื่นๆ ออกจากที่จอดรถในบริเวณห้างจำเลยที่ 2 ได้โดยง่าย พฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองผ่อนปรนการใช้ความระมัดระวังในการตรวจตรารถซึ่งผ่านเข้าออกห้างจำเลยที่ 2 ด้วยการจัดให้นำบัตรที่ไม่ระบุวันเดือนปี เวลาและหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าห้างจำเลยที่ 2 มาใช้ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นผลโดยตรงทำให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป ถือว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 นายจ้าง และจำเลยที่ 2 ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
ในวันเกิดเหตุจำเลยทั้งสองจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยแจกบัตรจอดรถที่ทำจากกระดาษแข็งชนิดอ่อนเคลือบด้วยพลาสติกใส ไม่ระบุวันเดือนปีและเวลารถเข้าออก ไม่ระบุหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าในห้าง เพียงแต่ระบุหมายเลขประจำบัตรจอดรถเท่านั้น อันเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบัตรจอดรถไปจากบัตรเดิมที่สามารถตรวจสอบหมายเลขทะเบียนรถให้ตรงกับบัตรได้ การนำบัตรจอดรถซึ่งไม่ระบุรายละเอียดรถที่แล่นผ่านเข้าห้างมาใช้เช่นนี้ จำเลยทั้งสองย่อมเล็งเห็นได้ว่าบุคคลอื่นอาจนำบัตรจอดรถดังกล่าวมาใช้เพื่อนำรถคันอื่นๆ ออกจากที่จอดรถในบริเวณห้างจำเลยที่ 2 ได้โดยง่าย พฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสองผ่อนปรนการใช้ความระมัดระวังในการตรวจตรารถซึ่งผ่านเข้าออกห้างจำเลยที่ 2 ด้วยการจัดให้นำบัตรที่ไม่ระบุวันเดือนปี เวลาและหมายเลขทะเบียนรถที่แล่นผ่านเข้าห้างจำเลยที่ 2 มาใช้ในวันเกิดเหตุ โดยไม่มีมาตรการตรวจสอบใดๆ เพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นผลโดยตรงทำให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป ถือว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และเป็นการกระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนของจำเลยที่ 2 ด้วย จำเลยที่ 1 นายจ้าง และจำเลยที่ 2 ตัวการต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถยนต์จากการยกเลิกมาตรการรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจห้างสรรพสินค้า ขายปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ มีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการเป็นจำนวนมาก แม้จำเลยที่ 1 จะต้องจัดให้มีสถานที่จอดรถตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ในการดำเนินธุรกิจของจำเลยที่ 1 มีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการโดยนำรถยนต์เข้าไปในห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นปกติ การจัดสถานที่จอดรถที่สะดวกและปลอดภัยนอกจากทำเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว ยังเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้าและใช้บริการอันส่งผลต่อรายได้ของจำเลยที่ 1 อีกด้วย ลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องดูแลความปลอดภัยของรถยนต์ของลูกค้าที่นำเข้าไปจอดในลานจอดรถที่จำเลยที่ 1 จัดไว้เพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ดังกล่าวถูกโจรกรรมได้โดยง่าย
จำเลยที่ 1 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลบริเวณทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและเครื่องกั้นจราจรสกัดกั้นมิให้ขับรถยนต์ออกไปจากลานจอดรถได้โดยสะดวก ทำให้คนร้ายฉวยโอกาสนำรถยนต์ออกจากห้างสรรพสินค้าโดยแล่นย้อนศรสวนทางออกไปในช่องทางเข้าผ่านด้านหลังของกล้องวงจรปิดทำให้กล้องวงจรปิดไม่สามารถส่องเห็นใบหน้าคนขับ หากจำเลยที่ 1 จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่ในบริเวณทางเข้าและทางออก จำเลยที่ 1 ก็จะตรวจพบความผิดปกติของคนร้ายที่ขับรถย้อนศรออกไปทางช่องทางเข้าได้ในทันที เหตุรถยนต์สูญหายก็จะไม่เกิดขึ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 งดเว้นการที่จักต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมเป็นการกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 สำหรับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ดูแลทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและตามลานจอดรถตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ไปดูแลพื้นที่อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ไปดูแลบริเวณอื่นอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
จำเลยที่ 1 ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถและไม่จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลบริเวณทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและเครื่องกั้นจราจรสกัดกั้นมิให้ขับรถยนต์ออกไปจากลานจอดรถได้โดยสะดวก ทำให้คนร้ายฉวยโอกาสนำรถยนต์ออกจากห้างสรรพสินค้าโดยแล่นย้อนศรสวนทางออกไปในช่องทางเข้าผ่านด้านหลังของกล้องวงจรปิดทำให้กล้องวงจรปิดไม่สามารถส่องเห็นใบหน้าคนขับ หากจำเลยที่ 1 จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่ในบริเวณทางเข้าและทางออก จำเลยที่ 1 ก็จะตรวจพบความผิดปกติของคนร้ายที่ขับรถย้อนศรออกไปทางช่องทางเข้าได้ในทันที เหตุรถยนต์สูญหายก็จะไม่เกิดขึ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 งดเว้นการที่จักต้องดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันมิให้รถยนต์ของลูกค้าถูกโจรกรรมเป็นการกระทำด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อเป็นผลโดยตรงทำให้คนร้ายฉวยโอกาสโจรกรรมรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไป จึงเป็นการทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 สำหรับจำเลยที่ 2 ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้ยกเลิกการแจกบัตรจอดรถยนต์ และยกเลิกการจัดพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ดูแลทางเข้าออกห้างสรรพสินค้าและตามลานจอดรถตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ไปดูแลพื้นที่อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงจัดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ไปดูแลบริเวณอื่นอันเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนจึงไม่มีหน้าที่ดูแลรถยนต์ของลูกค้าเพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมอีกต่อไป ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถในลานจอด – ไม่มีภาระหน้าที่หากเจ้าของรถประมาท
ผู้ได้รับอนุญาตให้นำรถเข้ามาจอดจะต้องหาสถานที่จอดเอง เก็บกุญแจรถไว้เอง และจะต้องดูแลรถกับทรัพย์สินภายในรถเอง ทั้งนี้ จำเลยไม่ได้เรียกเก็บค่าบริการในการนำรถเข้าจอด ดังนั้นความครอบครองในรถยังคงอยู่กับเจ้าของรถหรือผู้ที่นำรถเข้ามาจอด จำเลยจึงไม่ใช่ผู้รับฝากรถและไม่ได้รับประโยชน์อันเนื่องจากการที่มีผู้นำรถเข้าไปจอดในห้างสรรพสินค้าที่เกิดเหตุแต่อย่างใด เพียงแต่ได้รับประโยชน์จากผลกำไรที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าและการบริการซึ่งเป็นปกติทางการค้าเท่านั้น
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมไม่ได้กระทำประมาทปราศจากความระมัดระวังปล่อยให้คนร้ายลักรถกระบะคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ออกไปโดยไม่ตรวจสอบบัตรอนุญาตจอดรถให้ถูกต้อง และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ระมัดระวังดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับรถที่มีผู้นำมาจอดในห้างสรรพสินค้าของจำเลยตามสมควรแล้ว การที่รถสูญหายมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรือละเว้นกระทำของจำเลยและจำเลยร่วม ดังนั้นจำเลยและจำเลยร่วม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
พนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยร่วมไม่ได้กระทำประมาทปราศจากความระมัดระวังปล่อยให้คนร้ายลักรถกระบะคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ออกไปโดยไม่ตรวจสอบบัตรอนุญาตจอดรถให้ถูกต้อง และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของสถานที่ได้ระมัดระวังดูแลรักษาความปลอดภัยสำหรับรถที่มีผู้นำมาจอดในห้างสรรพสินค้าของจำเลยตามสมควรแล้ว การที่รถสูญหายมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำหรือละเว้นกระทำของจำเลยและจำเลยร่วม ดังนั้นจำเลยและจำเลยร่วม จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถในลานจอดรถ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของบริษัทประกันภัย
จำเลยเป็นห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่งสินค้าอุปโภคและบริโภค ย่อมต้องให้ความสำคัญด้านบริการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการเกี่ยวกับสถานที่จอดรถซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการอื่น ๆ หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 8 (9), 34 บัญญัติให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของอาคารต้องจัดให้มีพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การจราจร แต่จำเลยยังต้องคำนึงและมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของลูกค้าทั้งในชีวิตและทรัพย์สิน มิใช่ปล่อยให้ลูกค้าระมัดระวังหรือเสี่ยงภัยเอาเอง การที่จำเลยเคยจัดให้มีการแจกบัตรสำหรับรถของลูกค้าที่เข้ามาในห้างซึ่งเป็นวิธีการที่ค่อนข้างรัดกุม เพราะหากไม่มีบัตรผ่าน กรณีจะนำรถยนต์ออกไปจะต้องถูกตรวจสอบโดยพนักงานของจำเลย แต่ขณะเกิดเหตุกลับยกเลิกวิธีการดังกล่าวเสียโดยใช้กล้องวรจรปิดแทน เป็นเหตุให้คนร้ายสามารถเข้าออกลานจอดรถห้างฯ ของจำเลยและโจรกรรมรถได้โดยง่ายยิ่งขึ้น แม้จำเลยจะปิดประกาศว่าจะไม่รับผิดชอบต่อการสูญหายหรือเสียหายใด ๆ รวมทั้งการที่ลูกค้าก็ทราบถึงการยกเลิกการแจกบัตรจอดรถ แต่ยังนำรถเข้ามาจอดก็ตาม ก็เป็นเรื่องข้อกำหนดของจำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีผลเป็นการยกเว้นความรับผิดในการทำละเมิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11783/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการลักทรัพย์ในห้างสรรพสินค้า: ประมาทเลินเล่อของผู้เสียหายและผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่ตั้งแต่เวลาห้างจำเลยที่ 1 ปิดบริการเป็นต้นไป คือ ตั้งแต่เวลา 22 นาฬิกา จนถึง 10 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้น ซึ่งหากในช่วงดังกล่าวมีทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่หายไป จำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบแก่ผู้เช่าพื้นที่ แสดงว่า โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 มีความเข้าใจในข้อสัญญาดังกล่าวตรงกันบางส่วนว่า ในเวลาที่ห้างจำเลยที่ 1 เปิดทำการ โจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชอบดูแลรักษาทรัพย์สินด้วยตนเอง หากเกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์ทั้งสองในช่วงเวลาดังกล่าว ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในช่วงเวลาที่ห้างจำเลยที่ 1 ปิดทำการ จำเลยที่ 1 จะรับผิดชอบในความสูญหายของทรัพย์สินโจทก์ทั้งสอง สำหรับข้อที่ไม่ตรงกันนั้นโจทก์ทั้งสองอ้างว่า ความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เริ่มแต่เมื่อโจทก์ทั้งสองปิดร้านให้บริการแล้วด้วย เห็นว่า วันใดที่โจทก์ทั้งสองไม่เปิดร้านให้บริการก็ดี หรือเปิดร้านให้บริการแล้ว แต่ปิดร้านก่อนถึงเวลาห้างจำเลยที่ 1 ปิดทำการตามปกติ ซึ่งยังเป็นช่วงเวลาที่อาจมีร้านค้าอื่นยังไม่ปิดบริการ ยังมีประชาชนเข้าออกในการจับจ่ายซื้อของหรือยังมีพนักงานของร้านค้าต่าง ๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่เช่าของตน จำเลยที่ 1 ยังไม่สามารถควบคุมพื้นที่ทุกส่วนของห้างได้เด็ดขาดเพราะยังมีประชาชนเดินเข้าออกอยู่ภายในห้าง ซึ่งง่ายแก่การที่มิจฉาชีพจะแอบแฝงตัวเข้ามาโจรกรรมทรัพย์สินของร้านค้าต่าง ๆ ได้โดยไม่ผิดสังเกต ผิดกับช่วงเวลาที่ห้างปิดทำการแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 จะไม่อนุญาตให้ผู้เช่าพื้นที่ทุกรายรวมทั้งบุคคลภายนอกอยู่หรือเข้าไปภายในห้างได้ จึงเป็นความรับผิดของจำเลยที่ 1 เมื่อทรัพย์สินของผู้เช่าพื้นที่สูญหายไป ดังนี้ ช่วงเวลาที่โจทก์ทั้งสองปิดร้านก่อนถึงเวลาที่จำเลยที่ 1 ปิดห้างตามปกติ จึงเป็นความรับผิดของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเอง ข้อตกลงที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในช่วงเวลาที่ห้างเปิดทำการ จึงไม่เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้โจทก์ทั้งสองปฏิบัติหรือรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เอาเปรียบโจทก์ทั้งสองเกินสมควร จึงไม่เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและบังคับกันได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างสรรพสินค้าต่อความเสียหายรถยนต์ในลานจอดรถจากการดูแลรักษาความปลอดภัยที่บกพร่อง
จำเลยที่ 1 มีข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าไปจอดในบริเวณลานจอดรถในห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าจะต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เสียก่อน และเมื่อจะนำรถออกจากบริเวณลานจอดรถก็จะต้องนำบัตรจอดรถมอบคืนแก่พนักงานรักษาความปลอดภัยที่ทางออกจึงจะนำรถออกจากลานจอดรถได้ แม้ผู้ที่มาใช้บริการที่จอดรถเป็นผู้เลือกที่จอดรถ ดูแลปิดประตูรถ และเก็บกุญแจรถไว้เอง และไม่ต้องเสียค่าบริการก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมาก็ย่อมทำให้ลูกค้าที่มาใช้บริการโดยทั่วไปเข้าใจได้ว่าบริเวณที่จอดรถดังกล่าวนั้น จำเลยที่ 1 ได้จัดให้มีบริการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ตลอดจนรถที่ลูกค้าจะนำเข้าจอดขณะเข้าไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 2 และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนรับดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยโดยถือว่าเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ ซึ่งถือได้ว่ามีผลโดยตรงต่อยอดการจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดโดยปล่อยปละละเลยให้คนร้ายลักรถของ อ. ผู้เอาประกันภัย ซึ่งจอดรถอยู่ในลานจอดรถของจำเลยที่ 1 ไป จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนดูแลรักษาความเรียบร้อยและความปลอดภัยในบริเวณลานจอดรถของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 420 โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าเสียหายในการที่รถสูญหายจึงรับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของห้างสรรพสินค้าต่อการโจรกรรมรถยนต์ของลูกค้า: ตัวการ-ตัวแทน
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่นำมาจอดเพื่อใช้บริการของห้างจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างห้างจำเลยที่ 1 อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องมีที่จอดรถ จำเลยที่ 1 จึงต้องจัดสร้างที่จอดรถดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ในการดูแลรักษาความปลอดภัยห้างของจำเลยที่ 1 ซึ่งในการนำรถยนต์เข้ามาจอด ต้องรับบัตรจอดรถจากพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 และเมื่อจะนำรถยนต์ออกต้องแสดงบัตรจอดรถที่ตรงกับหมายเลขทะเบียนรถต่อพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ตรวจดูว่าถูกต้องจึงจะอนุญาตให้นำรถออกจากห้องของจำเลยที่ 1 ได้ แม้จำเลยที่ 1 ไม่เก็บค่าจอดรถ แต่ก็เป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้าตามพระราชบัญญัติของกฎหมาย และตามพฤติการณ์ยังเป็นการให้บริการอย่างหนึ่งของห้างจำเลยที่ 1 ที่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่น จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ให้บริการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 3 ทั้งห้างของจำเลยที่ 1 มีลูกค้าขับรถยนต์มาจอดและเข้าซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากการดำเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคโดยส่วนรวมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโจทก์ย่อมมีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาและแต่งตั้งให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้บริโภคขับรถยนต์พิพาทไปจอดที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยรับบัตรจอดรถฉบับบนจากจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ประจำอยู่ประตูทางเข้าของห้าง โดยจำเลยที่ 4 ได้เขียนกำกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของผู้บริโภคไว้ในบัตรจอดรถก่อนมอบให้ผู้บริโภค เมื่อจอดรถแล้วผู้เสียหายได้เข้าไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นประมาณ 50 นาที ผู้บริโภคได้กลับมาที่จอดรถ ปรากฏว่ารถยนต์พิพาทหายไปแล้ว โดยบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การออกบัตรจอดรถให้เจ้าของรถยนต์ที่ผ่านเข้ามาจอดในลานจอดรถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ โดยเขียนกำกับเฉพาะหมายเลขทะเบียนแต่ไม่ได้ระบุหมวดตัวอักษรหน้าหมายเลขทะเบียน และบัตรอ่อนไม่ระบุวันเดือนปีและเวลาที่รถยนต์เข้ามาจอด จึงง่ายต่อการปลอมแปลงและนำมาใช้ซ้ำ การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยปล่อยให้คนร้ายนำรถของผู้บริโภคออกจากลานจอดรถโดยไม่ระมัดระวังในการตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ถูกลักไป เป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างที่กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อผู้บริโภค
ตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ครอบคลุมเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างและลูกจ้างของผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่านอกจากจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วยังรวมตลอดถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรืออยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้ยังได้ระบุในสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ข้อ 7.3 ว่า "ประสานงานและให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การก่ออาชญากรรมทุกรุปแบบตลอดจนการก่อความวุ่นวาย การจลาจลต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง" ด้วย จึงย่อมรวมถึงรถยนต์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ที่มาจอดในบริเวณห้างและถูกคนร้ายลักไปเพราะการลักทรัพย์ถือเป็นการโจรกรรมและการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง จึงอยู่ในขอบเขตการว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนที่รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ในการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินในห้างจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดทำให้รถยนต์พิพาทของผู้บริโภคสูญหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
ในวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 19 นาฬิกา ผู้บริโภคขับรถยนต์พิพาทไปจอดที่ลานจอดรถของห้างสรรพสินค้าของจำเลยที่ 1 โดยรับบัตรจอดรถฉบับบนจากจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ที่ประจำอยู่ประตูทางเข้าของห้าง โดยจำเลยที่ 4 ได้เขียนกำกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ของผู้บริโภคไว้ในบัตรจอดรถก่อนมอบให้ผู้บริโภค เมื่อจอดรถแล้วผู้เสียหายได้เข้าไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นประมาณ 50 นาที ผู้บริโภคได้กลับมาที่จอดรถ ปรากฏว่ารถยนต์พิพาทหายไปแล้ว โดยบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การออกบัตรจอดรถให้เจ้าของรถยนต์ที่ผ่านเข้ามาจอดในลานจอดรถไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ โดยเขียนกำกับเฉพาะหมายเลขทะเบียนแต่ไม่ได้ระบุหมวดตัวอักษรหน้าหมายเลขทะเบียน และบัตรอ่อนไม่ระบุวันเดือนปีและเวลาที่รถยนต์เข้ามาจอด จึงง่ายต่อการปลอมแปลงและนำมาใช้ซ้ำ การที่พนักงานรักษาความปลอดภัยปล่อยให้คนร้ายนำรถของผู้บริโภคออกจากลานจอดรถโดยไม่ระมัดระวังในการตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัด จึงเป็นผลโดยตรงที่ทำให้รถยนต์ถูกลักไป เป็นการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างที่กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 อันเป็นการละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการละเมิดต่อผู้บริโภค
ตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ครอบคลุมเฉพาะการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างและลูกจ้างของผู้ว่าจ้างเท่านั้น แต่ตามสัญญาข้อ 1 ระบุว่านอกจากจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ทำการรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แล้วยังรวมตลอดถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรืออยู่ภายใต้การควบคุมดูแลหรือครอบครองของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้ยังได้ระบุในสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย ข้อ 7.3 ว่า "ประสานงานและให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือในการป้องกันและปราบปรามโจรกรรม การก่อวินาศกรรม การก่ออาชญากรรมทุกรุปแบบตลอดจนการก่อความวุ่นวาย การจลาจลต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในบริเวณสถานที่ของผู้ว่าจ้าง" ด้วย จึงย่อมรวมถึงรถยนต์ของผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ที่มาจอดในบริเวณห้างและถูกคนร้ายลักไปเพราะการลักทรัพย์ถือเป็นการโจรกรรมและการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง จึงอยู่ในขอบเขตการว่าจ้างการรักษาความปลอดภัยตามสัญญาว่าจ้างงานรักษาความปลอดภัย จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนที่รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ในการรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินในห้างจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดทำให้รถยนต์พิพาทของผู้บริโภคสูญหายไป จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในกิจการที่รับมอบหมายให้ทำแทนนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5800/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ให้บริการที่จอดรถในห้างสรรพสินค้าต่อความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของผู้ใช้บริการ
แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบกิจการห้างสรรพสินค้า เทสโก้ โลตัส สาขามีนบุรี จะไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับฝากรถของลูกค้าที่มาจอดเพื่อใช้บริการของห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีการเก็บค่าจอดรถก็ตาม แต่การก่อสร้างห้างจำเลยที่ 1 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ซึ่งกำหนดให้ต้องมีที่จอดรถ 1 คัน ต่อพื้นที่ทุกๆ 20 ตารางเมตร และจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของห้าง โดยต้องตรวจบัตรเมื่อจะนำรถออกให้ตรงกับทะเบียนรถ จึงเป็นการจัดที่จอดรถให้แก่ลูกค้า ตามพฤติการณ์เป็นการให้บริการอย่างหนึ่งที่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้า ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่น จึงเป็นผู้ให้บริการ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 3 และนอกจากผู้บริโภคในคดีนี้แล้วยังมีผู้บริโภคอื่นอีกหลายรายที่นำรถไปจอดในที่จอดรถของห้างจำเลยที่ 1 แล้วสูญหายไป การดำเนินคดีย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวมตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 39 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง เมื่อปรากฏว่ารถที่สูญหายไปบัตรจอดรถยังอยู่ที่ผู้บริโภค การที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พนักงานรักษาความปลอดภัยลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ระมัดระวังในการออกบัตรจอดรถและตรวจบัตรจอดรถโดยเคร่งครัดเป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้บริโภคถูกลักไป จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 425 จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดดังกล่าว ทั้งจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 และลูกจ้าง ตลอดทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 ในบริเวณห้างจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 ย่อมเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับมอบหมายจึงต้องรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้บริโภค จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนได้กระทำไปในกิจการที่ได้รับมอบหมายให้ทำแทนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 427