พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องการอ้างเหตุเดิมเพื่อขอให้ศาลพิจารณาคดีซ้ำหลังศาลฎีกาชี้ขาดแล้ว
เดิมศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบ จำเลยไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวมาสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเหตุว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยใหม่ในประเด็นข้ออื่น ไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องว่าโรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาใหม่แล้ว จำเลยกลับยื่นฎีกาเข้ามาใหม่ขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์โดยอ้างเหตุเดิมอีกว่า โรงเรือนพิพาทปลูกสร้างอยู่บนที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาชี้ขาดคดีไปแล้ว ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลง หรือข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในชั้นศาล
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ประกอบธุรกิจประกันภัยไม่ใช่สถาบันการเงินที่จะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นั้น จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การภายหลังชี้สองสถานต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 เมื่อประเด็นยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้คันที่จำเลยขับรถยนต์กระบะชนได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยให้การและฟ้องแย้งยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้ ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานโดยมิได้กำหนดข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองและเจ้าของรถยนต์ตู้หรือไม่เป็นอันยุติตามนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 การที่จำเลยยื่นคำร้องในเวลาต่อมาว่า เพิ่งทราบว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ตู้ จึงขอแก้ไขคำให้การใหม่ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แต่คำร้องก็มิได้ปฏิเสธในข้อที่ว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตู้ การขอแก้ไขคำให้การภายหลังวันชี้สองสถานในประเด็นที่จำเลยยอมรับและยุติไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ศาลจึงไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การและไม่อนุญาตให้จำเลยยืนบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท: การฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งและข้อห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วยดังนั้น ที่จำเลยฎีกาถึงความเข้าใจของตนว่ามีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเพื่อแสดงว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ ห้ามตามกฎหมาย แม้ทรัพย์สินเปลี่ยนไป เพื่อป้องกันการใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาที่มีการบังคับคดีแต่ยังไม่พอชำระหนี้ และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อีก ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้วเนื่องจากยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ ทั้งทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดไว้อาจขายทอดตลาดได้ราคาสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ก็ได้ จึงมีเหตุที่ยังไม่ควรให้ ล้มละลาย การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกในเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 แม้คดีนี้โจทก์อ้างว่ามีข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากคดีก่อน โดยโจทก์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอ ชำระหนี้ก็ตาม
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การใช้กฎหมายล้มละลายในทางบีบคั้นลูกหนี้ให้ต้องล้มละลายซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นการผิดจากเจตนารมณ์ ที่แท้จริงของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7818/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กรณีพิพาทที่ดิน: ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน แต่ไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้ามาครอบครองที่ดินดังกล่าว และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 ขอให้ศาลเพิกถอนน.ส.3 ก. และนิติกรรมการขายที่ดินและการจำนอง และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้เข้าไปครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้คนงานไถที่ดินพิพาทและปักรั้วลวดหนามเข้ามาในที่ดินโจทก์ กับถอนเสาปูนซิเมนต์ที่โจทก์ปักไว้เป็นแนวเขต แม้มิได้เป็นการที่จำเลยที่ 2 กระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องก็ตาม แต่โจทก์ได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสามเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทซึ่งอาจทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2)
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน การที่จำเลยที่ 2 เข้าไปกั้นรั้วลวดหนามและเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมอาจทำให้โจทก์เดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี กรณีจึงมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) มาใช้โดยห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยที่ 2 กั้นรั้วลวดหนามเพิ่มเติมและห้ามมิให้จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินพิพาทต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
แต่ที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ให้กลับคืนสภาพเดิมนั้น ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2ต่างไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท เพราะอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายเดือดร้อนเสียหายได้หากศาลพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดี เมื่อโจทก์ยังไม่ได้เข้าไปในที่ดินพิพาทและยังไม่สมควรเข้าไปทำสิ่งใดในที่ดินพิพาท ดังนั้นการมีรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์อยู่ยังไม่ทำให้โจทก์เสียหายเดือดร้อน กรณีไม่มีเหตุสมควรให้รื้อถอนรั้วลวดหนามและเสาปูนซิเมนต์ที่จำเลยที่ 2 เข้าไปปักไว้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อเป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอน น.ส.3 ก. พิพาท ตามคำขอของโจทก์ ก็ย่อมเป็นผล ต่อเนื่องในเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นการ ให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั่นเอง จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินจาก บ. เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน59 ตารางวา ในราคา 10,000 บาท และจำเลยที่ 1 ขอออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินของโจทก์เพียงบางส่วน และจำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 ไร่ 55 ตารางวา ในราคา 60,000 บาท จำเลยที่ 3ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เนื้อที่ 3 งาน 88 ตารางวาในราคา 20,000 บาท โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจาก ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อที่ดินมาจากจำเลยที่ 1เพียงประมาณ 1 ปี ราคาของที่ดินจึงไม่น่าจะต่างกันมากนัก ที่ดินเฉพาะในส่วนที่พิพาทกันมีเนื้อที่เป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทั้งแปลง ราคาของที่ดินพิพาทซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ของคดีนี้ย่อมไม่เกิน50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามเรื่องข้อที่ยุติแล้ว และประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยนอกคำฟ้องได้ในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามในราคา2,500,000บาทแต่ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสองชำระค่าที่ดินให้โจทก์ทั้งสามเพียง1,000,000บาทยังค้างชำระ1,500,000บาทโจทก์ทั้งสามทวงถามแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ปัญหาฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นประเด็นในคดีแต่จำเลยที่2ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรและด้วยเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลนำลายมือชื่อในเอกสารพิพาทซึ่งจำเลยที่2ปฎิเสธว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารฉบับอื่นที่มีอยู่ในสำนวนกับที่คู่ความได้อ้างมาเป็นพยานในคดีนี้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลได้รู้เห็นเองและเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 2 แสนบาท: ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2389/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค่าเสียหายจากการชนรถยนต์: ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ทำให้ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน 71,852 บาท และดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองรถยนต์คันที่ถูกชนเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์กับค่าที่รถยนต์เสื่อมราคาและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน 40,378 บาท และโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยเรียกร้องเงินที่ได้ชดใช้ค่าเสียหายในการซ่อมรถและค่าลากจูงรถยนต์ที่ถูกชนไปทำการซ่อมและดอกเบี้ยเป็นเงิน 31,474 บาทเป็นการฟ้องเรียกหนี้ที่อาจแบ่งแยกกันชำระได้ จึงไม่ใช้หนี้ร่วมค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกต้องแยกออกจากกัน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นย่อมต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.