พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน: คำวินิจฉัยอธิบดีผูกพันเฉพาะคดีเดิม แม้คู่ความและมูลคดีเดียวกัน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา9วรรคสองที่บัญญัติว่าในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุดมีความหมายว่าหากกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลแรงงานหรือไม่นั้นให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าอย่างไรคำวินิจฉัยย่อมเป็นที่สุดและย่อมผูกพันคู่ความเฉพาะในคดีที่ได้มีการวินิจฉัยเท่านั้นหาผูกพันคู่ความที่พิพาทกันในคดีอื่นไม่แม้คู่ความในคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่321/2538ของศาลแรงงานกลางเป็นคู่ความเดียวกันและมูลคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตามแต่ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องในลักษณะเป็นการจ้างแรงงานซึ่งถ้าฟังได้ว่าเป็นการจ้างแรงงานดังที่โจทก์อ้างคดีก็ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางในคดีก่อนไม่มีผลที่จะถือได้ว่าคดีนี้ไม่อยู่อำนาจของศาลแรงงานและศาลแรงงานก็ไม่มีอำนาจสั่งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3828/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: กรมโยธาธิการมอบอำนาจ อธิบดีฯ ดำเนินการ ถือเป็นการกระทำแทนจำเลย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยโดยมอบให้อธิบดีกรมโยธาธิการลงชื่อในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยได้กำหนดค่าทดแทนและให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนจากจำเลยจึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยนั้นเองอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมโยธาธิการที่ได้ดำเนินการดังกล่าวถือว่ากระทำในฐานะผู้แทนของจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4055/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดต่อที่ราชพัสดุ เริ่มนับจากวันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ทราบการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิด
ที่ราชพัสดุใช้เป็นสนามบินเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพอากาศอยู่ในความปกครองดูแลรักษาของกรมธนารักษ์ อายุความฟ้องผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ที่ราชพัสดุรายนี้ จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่อธิบดีกรมธนารักษ์ได้รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน มิใช่นับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหาร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ อธิบดีกรมธนารักษ์ทราบจากผู้บัญชาการทหารอากาศที่แจ้งให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม 2528ยังไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตตัวแทนของกรมและการนับอายุความละเมิด
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: ผู้แทนโจทก์คืออธิบดีกรมเท่านั้น การนับอายุความเริ่มเมื่ออธิบดีทราบเรื่อง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีอธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าอธิบดีโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์โดยผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการ มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมาย
ผู้รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอัยการลงชื่อรับรองอุทธรณ์ว่า มี เหตุสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย มีผลเท่ากับอธิบดีกรมอัยการ รับรองเอง และการรับรองหาจำต้องรับรองไว้ในตัวคำฟ้องอุทธรณ์ เสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนด หากไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าการใช้อำนาจไม่ชอบ
การใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจเจ้าพนักงานประเมินจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะถึงที่สุดตามมาตรา 86 เบญจ วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้า โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์มิชอบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด คำวินิจฉัยคำคัดค้านของอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่ถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้าได้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าแจ้งรายจ่ายด้วยแบบ ภ.ค.45 ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายในสิบห้าวันนับแต่วันถัดจากวันได้รับแบบ ภ.ค.45 แสดงว่า ก่อนที่เจ้าพนักงานประเมินจะใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจได้นั้น เจ้าพนักงานจะต้องส่งแบบ ภ.ค.45 ให้ผู้ประกอบการค้าก่อนเพื่อให้ผู้ประกอบการค้าแจ้งรายจ่ายตามแบบดังกล่าว ดังนั้น การที่สรรพากรเขตส่งแบบ ภ.ค.45 ไปให้โจทก์ แต่หนังสือไม่ถึงโจทก์เพราะระบุบ้านเลขที่ผิด ย่อมเห็นได้ว่าเจ้าพนักงานยังมิได้ส่งแบบ ภ.ค.45 ให้โจทก์ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า การใช้อำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของเจ้าพนักงานประเมินครั้งที่พิพาทจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อธิบดีกรมอัยการไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคำสั่งชี้ขาดเดิม และการกระทำของรองอธิบดีขัดขวางการบังคับใช้กฎหมาย
กรณีที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติเฉพาะแต่ตามหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรง ตามที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่นั้นๆ เท่านั้น ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตราดังกล่าว
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
การที่จะมีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจนั้น เป็นอำนาจของอธิบดีกรมอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 เมื่อได้ความว่าจำเลยได้ลอบทำบันทึกส่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก และมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องไปยังอธิบดีกรมตำรวจภายหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
จำเลยเป็นพนักงานอัยการตำแหน่งรองอธิบดีกรมอัยการ แม้จะพ้นจากการเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมอัยการแล้ว แต่รู้อยู่แล้วว่า อธิบดีกรมอัยการคนก่อนได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้อง จ.กับพวก ตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจ ระหว่างที่จำเลยยังไม่ได้มอบงานให้ ก.รองอธิบดีกรมอัยการซึ่งจะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอธิยดีกรมอัยการแทนจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ดูแลปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการคนก่อนซึ่งได้สั่งเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่จำเลยกลับลอบทำบันทึกสั่งไม่ฟ้อง จ.กับพวก แล้วสอบแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องนั้นไปยังอธิบดีกรมตำรวจซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีเจตนาป้องกันหรือขัดขวางมิให้การเป็นไปตามคำสั่งของอธิบดีกรมอัยการคนก่อน เพื่อจะช่วย จ.กับพวก มิให้ต้องโทษ จนอธิบดีกรมตำรวจได้แจ้งคำสั่งของจำเลยดังกล่าวให้ผู้ร้องทุกข์และผู้ต้องหาทราบทุกคนแล้ว เช่นนี้ จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165,200
เมื่ออธิบดีกรมอัยการชี้ขาดให้ฟ้องคดีตามความเห็นแย้งของอธิบดีกรมตำรวจแล้ว คำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องคดีของกรมอธิบดีกรมอัยการเป็นอันถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 พนักงานอัยการต้องฟ้องคดีไปตามนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจอธิบดีกรมอัยการรื้อฟื้นคดีขึ้นมาชี้ขาดใหม่ได้ อธิบดีกรมอัยการจึงไม่มีอำนาจที่จะชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก
ฟ.เป็นพนักงานอัยการ กรมอัยการ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการสั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยอัยการพิเศษฝ่ายคดี (อาญา) รับผิดชอบฐานอุทธรณ์ ส่วน ย. เป็นพนักงานอัยการได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการพิเศษประจำกรม กองคดี กรมอัยการ และอธิบดีกรมอัยการได้สั่งให้ปฏิบัติราชการในหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ พนักงานอัยการกอง 7 กับมีระเบียบว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาชั้นอุทธรณ์และฎีกาในส่วนราชการใดของกรมอัยการ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมอัยการมีคำสั่ง การที่อธิบดีกรมอัยการสั่งในคำชี้ขาดในฎีกาว่า ให้ ฟ. และ ย. ร่วมกันทำฎีกาส่งมาให้รับรองเพื่อส่งศาลฎีกาต่อไป ถือได้ว่าอธิบดีกรมอัยการทำคำสั่งเฉพาะเรื่องตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 15 ให้ ฟ. และ ย. มีอำนาจดำเนินคดีนี้ในชั้นฎีกา ตามนัยดังกล่าว ฟ.จึงมีอำนาจลงชื่อเป็นผู้ฎีกา และ ฟ.กับย.มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงได้ในคำฟ้องฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คทางไปรษณีย์: การพิสูจน์ข้อห้ามส่งตามระเบียบอธิบดี
พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติว่าเช็คเป็นของมีค่าซึ่งห้ามส่งทางไปรษณีย์ จึงมิใช่ข้อกฎหมายที่ศาลรู้เอง แต่ต้องสืบพยานว่ามีระเบียบข้อบังคับที่อธิบดีวางไว้ตาม มาตรา 21(1)(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจยังใช้ได้ แม้อธิบดีเกษียณอายุแล้ว
กรมประชาสงเคราะห์ฟ้องคดีโดยอธิบดีทำหนังสือมอบอำนาจให้รองอธิบดีเป็นผู้แทนในคดี แม้อธิบดีออกจากราชการโดยเกษียณอายุไปก่อนฟ้อง การมอบอำนาจก็ยังใช้ได้