พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอนาคตในคดีอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม หากคำขอต่อเนื่องจากคำขอหลัก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยชำระเงิน 630,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องของโจทก์ แม้อุทธรณ์ของจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยกับค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ที่ให้คิดค่าขึ้นศาลหนึ่งร้อยบาทเป็นอีกส่วนหนึ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอที่ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาทอันเป็นคำขอประธานเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตเป็นอีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอบังคับให้ระงับการละเมิดเครื่องหมายการค้าในอนาคต ศาลไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าเบี้ยประกันภัยเกิดเมื่อมีการจ่ายแทน การฟ้องเรียกค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตจึงไม่ชอบ
ตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดว่า หากจำเลยไม่จัดการเอาประกันอัคคีภัยทรัพย์จำนองและโจทก์ได้จัดการเอาประกันภัยเอง จำเลยยินยอมนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้จ่ายแทนไปมาชำระจนครบถ้วน ดังนี้หากโจทก์ยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันอัคคีภัยแทนจำเลย จำเลยก็ยังไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยคืนแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2548 เป็นต้นไปทุก ๆ สามปี จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยรับผิดในหนี้อนาคตที่ยังมิได้เกิดมีขึ้นและขณะฟ้องยังไม่มีหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิด ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องโดยให้โจทก์ชนะคดีน้อยกว่าเดิมทั้งที่โจทก์เป็นฝ่ายอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตขายที่ดินของผู้เยาว์: พิจารณาความจำเป็น, ฐานะ, โอกาสทางการศึกษา และอนาคตของผู้เยาว์
ผู้ร้องและผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาทแม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์จำเป็น จะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อคำนึงถึงฐานะและวัยของผู้เยาว์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าว หากใช้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือดร้อนแม้ที่ดินของผู้เยาว์ จะได้มาจากการยกให้ของผู้ร้องและบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ ไม่ขัดข้องที่จะขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้ว อีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการทรัพย์สินของตนเอง ได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้ผู้เยาว์ ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควร อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์มากกว่า เพราะราคาที่ดิน มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะได้มาในอนาคต ยังคงเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรม แม้จำหน่ายทรัพย์สินเดิมไปแล้ว
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา: ห้ามรวมค่าเสียหายในอนาคต
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา โจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000 บาท ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลละเมิด – ค่าเสียหาย – ดอกเบี้ย – การคำนวณค่าเสียหายในอนาคต
กรณีโจทก์ถูกทำละเมิดจนต้องกลายเป็นคนทุพพลภาพ ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในอนาคต ค่าจ้างคนขับรถยนต์ตลอดชีวิต ค่าเสียหายมิใช่ตัวเงินกรณีเสียโฉมและเสียบุคคลิกภาพ ค่าเสียความสามารถประกอบการงานในอนาคตและค่าทุกข์ทรมาน เป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิด เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อนแม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วยจำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้าง: ความรับผิดในอนาคตและขอบเขต
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 2 ที่ว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดร่วมกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ให้แก่บริษัท ในการที่บริษัทจะได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด อันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติตามหน้าที่การงานทั้งปวงนั้น เห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคต หาใช่ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่
ส่วนสัญญาค้ำประกัน ข้อ 3 ที่ว่า การที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันอยู่ แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ ยังไม่พ้นจากความรับผิด หาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน2535 เพื่อให้จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ได้ตกลงจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ประกันหนี้ในอนาคต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันจึงผูกพันจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างโจทก์นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 ถึงเดือนกันยายน 2537 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
ส่วนสัญญาค้ำประกัน ข้อ 3 ที่ว่า การที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันอยู่ แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ ยังไม่พ้นจากความรับผิด หาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน2535 เพื่อให้จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ได้ตกลงจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ประกันหนี้ในอนาคต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันจึงผูกพันจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างโจทก์นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 ถึงเดือนกันยายน 2537 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายในอนาคตจากการทำงานของลูกจ้าง และการผูกพันสัญญาค้ำประกันก่อนเริ่มงาน
ตามสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดร่วมกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ให้แก่บริษัทในการที่บริษัทจะได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติตามหน้าที่การงานทั้งปวงนั้นเห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันที่เข้าทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคตหาใช้ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่ส่วนสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าการที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไปแม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่าถ้าจำเลยที่1ผู้เป็นลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่2ค้ำประกันอยู่แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่1ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหายจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ยังไม่พ้นจากความรับผิดหาได้มีความหมายว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชน: คำคาดการณ์อนาคตที่ไม่แน่นอน ไม่ถือเป็นหลอกลวง
จำเลยชวนโจทก์ร่วมซื้อคอนโดมิเนียม ตึกแถว และที่ดินโดยยืนยันว่าอีก 4 เดือน จะมีผู้ซื้อต่อ และจำเลยให้ผู้เสียหายทำพิธีเสริมดวงและเรียกค่าครู โดยยืนยันว่าจะทำให้ดวงดีขายตึกแถวที่ดินได้ หรือบุตรจะมีบุญบารมีสูงกว่าบิดามารดา ผู้เสียหายกับสามีจะไม่ต้องหย่ากัน ล้วนเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนทั้งสิ้น ไม่ใช่คำหลอกลวงแต่เป็นคำคาดการณ์ แม้โจทก์ร่วมและผู้เสียหายเข้าทำพิธีตามคำแนะนำและเสียค่าใช้จ่ายให้จำเลย จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน