พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 200
การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นเพียงการวินิจฉัยมูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลยพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่าจำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยมิชอบ ก่อความเสียหายแก่ผู้เสียหาย มีความผิดตาม ม.157, 200
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับรองอุทธรณ์ของพนักงานอัยการ และการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษคดีพนัน
โจทก์อุทธรณ์โดยมีพนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 รับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมีสำเนาคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 235/2546 ที่มอบหมายให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต หรือพนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนอัยการสูงสุด เมื่อพิจารณาเห็นว่า มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยสำหรับคดีอาญาซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขตนั้น ๆ ได้ โดยเป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี และ พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 15 พนักงานอัยการผู้รักษาการแทนอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 8 ตามมาตรา 18 จึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงเป็นไปโดยชอบ
การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่จำเลยมีอายุถึง 58 ปี และโทษจำคุกที่จะต้องรับแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน เห็นสมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ เป็นการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบสุขของครอบครัว สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นเรื่องที่ร้ายแรง จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลย แต่จำเลยมีอายุถึง 58 ปี และโทษจำคุกที่จะต้องรับแต่ละกระทงมีกำหนดเวลาน้อยกว่าสามเดือน เห็นสมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกให้น้อยลงอีกเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิการฟ้องซ้ำเมื่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทนผู้เสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกและฉ้อโกงเงินไปจากโจทก์เป็นจำนวน 1,560,375.45 บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ใช้คืนเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย แต่พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกและฉ้อโกงโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายไว้แล้ว โดยมีคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,226,172.15 บาท ซึ่งเป็นคำขอในส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความ ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นด้วย เมื่อศาลในส่วนคดีอาญารับคำขอส่วนแพ่งดังกล่าวไว้พิจารณาแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดในเงินจำนวน 1,226,172.15 บาท ต่อศาลอีก จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินส่วนที่เกินจากคำฟ้องในคดีอาญาเป็นเงิน 334,203.30 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการพิเศษถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง: การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์
แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจากตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงานบุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
อำนาจของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจเลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบเขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรกแซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การแต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วนตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถ่วงดุลอำนาจในกระบวนการสอบสวนและลงโทษข้าราชการอัยการ: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
พนักงานอัยการมีตำแหน่งหน้าที่เป็นทนายแผ่นดิน มีกฎหมายบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนไว้มากหลายการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการจึงต้องมีอิสระ ปราศจากอิทธิพลทั้งภายนอกจากทางการเมือง และภายในจากการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้ประธาน ก.อ.ที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ถ่วงดุลย์อำนาจของอัยการสูงสุดไม่ให้มีอิทธิพลเหนือข้าราชการอัยการทั้งปวงมากจนเกินไป อันเป็นการปกป้องคุ้มครองข้าราชการอัยการให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระ ปราศจากอิทธิพลครอบงำใด ๆ เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นไปด้วยความเที่ยงธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง การที่จะแปลกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 15 ตรี วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 5 และมาตรา 20วรรคสองที่บัญญัติเป็นข้อยกเว้นให้อัยการสูงสุดในฐานะรองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ชั่วคราวในระหว่างที่ประธาน ก.อ.พ้นจากตำแหน่งหรือไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้โดยให้หมายความรวมถึงให้รองประธาน ก.อ.ทำหน้าที่ประธาน ก.อ.ได้ในระหว่างที่ประธาน ก.อ. ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง ย่อมเป็นการแปลขยายความเพิ่มอำนาจให้แก่อัยการสูงสุดให้มีอำนาจตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้าราชการอัยการที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงได้ทุกระดับชั้นขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 มาตรา 54 และขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มุ่งหมายให้มีการถ่วงดุลย์อำนาจซึ่งกันและกันจึงไม่อาจกระทำได้
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) มีกรรมการทั้งหมด 14 คนตราบใดที่มีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 7 คน แม้ประธาน ก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ก.อ.ก็สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ โดยให้รองประธาน ก.อ.เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน ก.อ.หรือรองประธานก.อ.ไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการอัยการในที่ประชุมเลือกกรรมการอัยการคนหนึ่งเป็นประธาน โดยอัยการสูงสุดมีหน้าที่เสนอเรื่องที่จะประชุมต่อ ก.อ. โดยไม่ตัดสิทธิกรรมการ ก.อ.คนหนึ่งคนใดที่จะเสนอ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 20 และ 21 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8กิจการทั้งหลายทั้งปวงของอัยการไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการอัยการการโอนย้ายข้าราชการอัยการไปเป็นข้าราชการธุรการหรือหน่วยงานอื่นหรือย้ายกลับมาเป็นข้าราชการอัยการ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การออกข้อกำหนดการเลื่อนเงินเดือน การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ การให้ข้าราชการอัยการซึ่งขาดคุณสมบัติบางประการออกจากราชการและอื่น ๆ บรรดาที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. ก็จักสามารถดำเนินการต่อไปได้ คงมีแต่เฉพาะเรื่องการลงโทษข้าราชการอัยการในขั้นที่ร้ายแรงเท่านั้น ที่ต้องมีบทกฎหมายบัญญัติกำกับไว้เป็นกรณีพิเศษ แต่หากมีกรณีที่พนักงานอัยการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นที่ปรากฏอย่างชัดแจ้งโดยไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง หรือให้ถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชา จำเป็นจะต้องลงโทษข้าราชการอัยการผู้นั้นโดยฉับพลันแล้ว พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 56 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 ก็บัญญัติให้อำนาจประธาน ก.อ.สั่งลงโทษได้โดยไม่ต้องสอบสวน หรือถ้าประธาน ก.อ.ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ก็สามารถมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษแทนได้
เมื่อคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการอัยการชั้น 4 ขัดต่อ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2521 มาตรา 54(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ จึงไม่มีผลของการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายที่อัยการสูงสุดจะทำความเห็นรายงานให้ ก.อ.มีอำนาจลงมติให้ลงโทษโจทก์ตามมาตรา 54 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 49 ข้อ 7 และข้อ 8 ได้ มติคณะกรรมการอัยการที่ให้ลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการและคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่สั่งลงโทษปลดโจทก์ออกจากราชการตามมติคณะกรรมการอัยการดังกล่าว จึงเป็นมติและคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีหลังชำระค่าปรับ: อัยการไม่มีหน้าที่บังคับคดีทรัพย์สิน
ในระหว่างฎีกา ปรากฏว่าผู้ประกันจำเลยได้นำตัวจำเลยส่งมอบต่อศาล และได้ยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งลดค่าปรับให้คดีถึงที่สุดและผู้ประกันจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลชั้นต้นถูกต้องครบถ้วนแล้วศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งงดการบังคับคดีและคืนหลักประกัน ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาพนักงานอัยการที่ว่า พนักงานอัยการไม่มีหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีโดยไปนำยึดหรือมอบหมายให้ผู้อื่นไปนำยึดทรัพย์สินของผู้ประกันจำเลย จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแก้ไข/เพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีอาญาที่อัยการเป็นโจทก์
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการไม่มีคำขอให้ริบของกลาง โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ร่วมที่อาศัยฟ้องของอัยการ และการริบของกลางที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยอาศัยสิทธิ ตามฟ้องของพนักงานอัยการ เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการไม่มีคำขอให้ริบของกลางโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนี้และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ริบของกลาง จึงไม่ชอบ แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยจะมิได้ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้