พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายสาหัส: การพิจารณาอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกรามผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกรามหัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ.มาตรา 297 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: การพิเคราะห์อาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษาเพื่อประกอบการพิจารณาความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกราม ผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์ พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกราม หัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ 25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดเจ็บสาหัส: การรักษาด้วยยา vs. ผ่าตัด และเขตเคหสถาน
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ดั้งจมูกและรักษาโดยกินยามาตั้งแต่วันเกิดเหตุจนปัจจุบันเป็นเวลานานถึง 10 เดือนเศษ การที่ผู้เสียหายมิได้รักษาโดยวิธีผ่าตัด คงเอายามากินที่บ้านจนปัจจุบัน แสดงว่าผู้เสียหายสามารถไปทำงานหรือทำธุรกิจอื่นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าบาดแผลของผู้เสียหายดังกล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน อันจะเข้าลักษณะเป็นอันตรายสาหัส
สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบ ไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพัก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา1 (4)
สถานที่เกิดเหตุแม้จะเป็นสนามหญ้าตลอดติดต่อเป็นผืนเดียวไม่มีรั้วล้อมรอบ ไม่มีเครื่องหมายแสดงให้ทราบว่าเป็นแนวเขตของบ้านพักก็ตามแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งเป็นสนามหญ้านั้นอยู่หน้าบ้านพัก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นเคหสถานของผู้เสียหาย ตาม ป.อ. มาตรา1 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของฟ้องอาญา ม.300: การพิจารณาอาการบาดเจ็บและความสัมพันธ์กับระยะเวลาป่วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300 โดยบรรยายฟ้องในส่วนผลของการกระทำว่า ผู้เสียหายที่ 2ที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันรายละเอียด ปรากฏตามผลชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้อง แม้ตามรายงานของแพทย์จะลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 3 ก็ตาม ก็หมายความว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน ซึ่งการเจ็บป่วยนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่า ผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 ที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดต่อข้อเท็จจริง ฟ้องโจทก์ถูกต้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของคำฟ้องอาญาที่บรรยายอาการบาดเจ็บสาหัส: การตีความระยะเวลาป่วยเจ็บตามรายงานแพทย์
การที่แพทย์ลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์ สำหรับผู้เสียหายที่ 3นั้น หมายความว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน การป่วยเจ็บนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 2และที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดกันหรือขัดต่อข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญาเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บสาหัสและการรับสารภาพของจำเลย
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องระบุว่า บาดแผลของผู้เสียหายถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนจะหายภายใน 1 เดือนซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าผู้เสียหายอาจรักษาตัวเพียง 5 วัน หรือ 10 วัน ก็หายเป็นปกติได้ ก็เป็นเพียงความเห็นของแพทย์ที่ทำไว้ขณะตรวจรักษาบาดแผลของผู้เสียหายเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าความเห็นดังกล่าวขัดกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องมิได้ระบุให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 อย่างไร และข้อที่อ้างว่าจะรักษาหายได้ภายใน 1 เดือน ก็เป็นไปได้ว่าอาจรักษาหายได้ภายใน 5 หรือ 10 วันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนั้นและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ได้.
แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องมิได้ระบุให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 อย่างไร และข้อที่อ้างว่าจะรักษาหายได้ภายใน 1 เดือน ก็เป็นไปได้ว่าอาจรักษาหายได้ภายใน 5 หรือ 10 วันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนั้นและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญา: การบรรยายอาการบาดเจ็บและผลการตรวจทางการแพทย์ไม่ขัดแย้งกัน ศาลรับฟังตามฟ้องได้
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน แต่ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องระบุว่า บาดแผลของผู้เสียหายถ้าไม่มีโรงแทรกซ้อนจะหายภายใน 1 เดือนซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าผู้เสียหายอาจรักษาตัวเพียง 5 วัน หรือ 10 วัน ก็หายเป็นปกติได้ ก็เป็นเพียงความเห็นของแพทย์ที่ทำไว้ขณะตรวจรักษาบาดแผลของผู้เสียหายเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าความเห็นดังกล่าวขัดกับคำบรรยายฟ้องของโจทก์ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องมิได้ระบุให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 อย่างไร และข้อที่อ้างว่าจะรักษาหายได้ภายใน 1 เดือน ก็เป็นไปได้ว่าอาจรักษาหายได้ภายใน 5 หรือ 10 วันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนั้นและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ได้.
แม้ผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องมิได้ระบุให้เห็นว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา297 อย่างไร และข้อที่อ้างว่าจะรักษาหายได้ภายใน 1 เดือน ก็เป็นไปได้ว่าอาจรักษาหายได้ภายใน 5 หรือ 10 วันก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องศาลย่อมฟังข้อเท็จจริงได้เช่นนั้นและลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผ่าตัดตกแต่งจมูกประมาทเลินเล่อ ศาลพิจารณาความเสียหายตามอาการบาดเจ็บและผลกระทบต่อการทำงาน
จำเลยที่ 2 เป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เจ้าของคลีนิค ทำศัลยกรรมตกแต่งจมูกของโจทก์ด้วยความประมาท เลินเล่อเป็นเหตุให้จมูกอักเสบและมีเลือดคั่งที่หน้าผากต้องรักษา ประมาณ 2 เดือนเศษ ดังนี้ จำเลยทั้งสองต้องใช้ค่าเสียหายในการ ที่โจทก์เจ็บปวดทรมานค่าขาดประโยชน์ในการทำมาหาได้ และ ค่ารักษาพยาบาลจากแพทย์อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กอายุ 8 ปี แม้ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่จากอาการบาดเจ็บและพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่ามีการล่วงล้ำทางเพศเกิดขึ้น
จำเลยถอดกางเกงผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 8 ปี ออก เอาของลับของจำเลยใส่ของลับของผู้เสียหายจนเข้าไปแล้ว แม้ไม่ปรากฏชัดว่าของลับของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในของลับผู้เสียหายได้มากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่แพทย์ตรวจมีความเห็นว่า แคมเล็กช้ำบวมถลอกเป็นแผลมีเลือดออกต้องมีวัตถุไม่มีคมถูผ่าน และพอตกกลางคืนผู้เสียหายเจ็บที่ของลับมากจนถึงร้องไห้ ดังนี้ แสดงว่าของลับจำเลยได้ผ่านของลับของผู้เสียหายเข้าไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอนาจารและเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำชำเราผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายสาหัสจากการทำร้ายร่างกาย: เกณฑ์การพิจารณาอาการบาดเจ็บเกิน 20 วัน
ถูกตีด้วยไม้ระแนง กระโหลกศีรษะร้าว ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 1 ปีครึ่ง กระดูกจึงจะเชื่อมติดกันได้และแข็งแรงพอ จะมีอาการปวดศีรษะในระยะ 1 เดือนแรก ไม่สามารถนั่งขายของได้ตามปกติ ดังนี้ ถือได้ว่าต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่า 20 วัน และประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)