พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินลักทรัพย์-รบกวนวิทยุคมนาคม: อำนาจฟ้องและพยานหลักฐานเพียงพอ
ความผิดในข้อหาลักทรัพย์และข้อหาร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม เป็นคดีอาญาแผ่นดินอันมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวที่ห้ามพนักงานสอบสวนทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสอง เมื่อมีความผิดอาญาแผ่นดินเกิดหรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมเป็นหน้าที่โดยตรงของเจ้าพนักงานตำรวจที่ต้องสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพื่อเอาความผิดแก่ผู้กระทำผิดอาญาทั้งปวงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18ประกอบมาตรา 121 วรรคหนึ่ง ไม่ว่าจะมีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือมีผู้กล่าวโทษกระทำผิดหรือไม่ การสอบสวนของพนักงานสอบสวนรวมทั้งการที่พนักงานอัยการสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมแก่จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
ความผิดทั้งสองฐานตามฟ้องเกิดจากโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยกับพวกนำโทรศัพท์มือถือที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้หมายเลขประจำเครื่องมาปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นหมายเลขประจำเครื่องของผู้เสียหายซึ่งได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย แม้จำเลยกับพวกจะกระทำการดังกล่าวที่บริษัทของจำเลยแต่ผลของการกระทำก็เกิดขึ้นแก่โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายถูกรบกวน จึงเป็นความผิดต่อเนื่องที่กระทำต่อเนื่องกันระหว่างท้องที่ที่บริษัทจำเลยตั้งอยู่กับท้องที่ที่ผู้เสียหายนำโทรศัพท์มือถือไปใช้แล้วเกิดขัดข้องซึ่งอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลพญาไท พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลพญาไทจึงมีอำนาจสอบสวน การสอบสวนได้กระทำโดยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โทรศัพท์มือถือที่ ช. ซื้อมาจากบริษัทจำเลยผ่านทาง ม. นั้น เป็นโทรศัพท์ที่คนของบริษัทจำเลยทำการลักลอบปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่เป็นช่องสัญญาณโทรศัพท์หมายเลขของผู้เสียหาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรบกวนและขัดขวางการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้เสียหายอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมพ.ศ. 2498 มาตรา 26 และเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาเพิ่มเติมว่าร่วมกันจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม จำเลยก็ให้การรับสารภาพ จากพยานหลักฐานของโจทก์และพฤติการณ์แห่งคดี แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณความถี่หรือถอดรหัสสัญญาณโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย ก็ฟังได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นเป็นใจหรือสมรู้ร่วมคิดกับพวกอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกันประกอบธุรกิจอันไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินไม่ต้องคำนึงถึงการร้องทุกข์ของโจทก์ อำนาจสอบสวนเกิดได้แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ
ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรที่ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวอันยอมความได้ ดังนั้น แม้ผู้เสียหายจะไม่ได้แจ้งความร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนคดีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย ฉะนั้นหนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายจะชอบด้วยกฎหมายอย่างไรหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ อาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แต่การพิพากษาลงโทษฐานจัดหางานไม่ถูกต้อง
ความผิดต่อพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์ เจ้าพนักงานตำรวจก็มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้อยู่แล้ว ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแผ่นดิน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผิด
ข้อหาหรือฐานความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรในคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดหรือไม่ แม้จะปรากฏในหนังสือมอบอำนาจว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้ป. แจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลที่ชื่อว่า ส. แต่เนื่องจากการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายอาจจะกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผู้กระทำความผิดหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจก็ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ลำพังแต่หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายระบุชื่อผู้กระทำความผิดไม่ถูกต้องไม่ทำให้การดำเนินคดีไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินแม้โจทก์มรณะ ศาลยังดำเนินคดีได้ การแก้น้อยในชั้นฎีกา
ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายอาญาภาค 2 ลักษณะ 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่ความผิดอันยอมความได้ แม้โจทก์มรณะก็ไม่เป็นเหตุขัดข้องแก่การดำเนินคดีต่อไป ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องร้องแทนแผ่นดิน ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180 (ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181 (2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 181 (2) จำคุก4ปีลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180 (ซึ่งมาตรานี้ศาลชั้นต้นเคยยกฟ้องไปแล้วชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) 181 ให้ลงโทษตามมาตรา 181 (2) อันเป็นบทหนัก จำคุก 8 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 181 (2) จำคุก4ปีลดโทษให้หนึ่งในสี่คงจำคุก 3 ปี ดังนี้ เป็นการแก้น้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ยักยอกเงิน: การฟ้องคดีอาญาแผ่นดินแม้ต่อมาเป็นความผิดอันยอมกันได้
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไป ก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายลักษณะอาญา ความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง (ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อนตาม ม. 356, 96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว .
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญา แทนกฎหมายลักษณะอาญา ความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง (ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อนตาม ม. 356, 96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โดยการมอบหมายและการยักยอกเงิน: ความผิดอาญาแผ่นดินแม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไปก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเสื่อมเสียอิสระภาพเป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานอัยการฟ้องได้โดยไม่จำต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ความผิดฐานเสื่อมเสียอิสระภาพตาม ก.ม.อาญา ม.268 วรรค 3 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยตรง มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวโดยปกติพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย เพียงแต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงเรื่องข่มขืนกระทำชำเราด้วยเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ตามรูปเรื่องซึ่งความจริงเรื่องข่มขืนกระทำชำเรานั้นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะถอนได้แต่เฉพาะเรื่องที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นไม่เกี่ยวกับความผิดอันเป็นอาญาแผ่นดินโดยตรงประการใดเลยและไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องคดีของโจทก์ในเรื่องความผิดฐานเสื่อมเสียอิสสรภาพดังกล่าวมาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดอาญาแผ่นดินฐานเสื่อมเสียอิสรภาพ: สิทธิฟ้องของอัยการไม่ต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหาย
ความผิดฐานเสื่อมเสียอิสระภาพตาม กฎหมายอาญามาตรา268วรรคสามเป็นความผิดอาญาแผ่นดินโดยตรง มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวโดยปกติพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิจะฟ้องร้องจำเลยในความผิดฐานนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการร้องทุกข์ของผู้เสียหายเพียงแต่โจทก์บรรยายฟ้องถึงเรื่องข่มขืนกระทำชำเราด้วยเพื่อให้ได้ความสมบูรณ์ตามรูปเรื่องซึ่งความจริงเรื่องข่มขืนกระทำชำเรานั้นผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปแล้วย่อมเป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้เสียหายมีสิทธิที่จะถอนได้แต่เฉพาะเรื่องที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นไม่เกี่ยวกับความผิดอันเป็นอาญาแผ่นดินโดยตรงประการใดเลยและไม่เป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องคดีของโจทก์ในเรื่องความผิดฐานเสื่อมเสียอิสระภาพดังกล่าวมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานช่วยเหลือผู้กระทำผิด เลี่ยงโทษอาญาแผ่นดินเป็นคดีส่วนตัว
มาตรา 28 แห่ง พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457บัญญัติให้ผู้ใหญ่บ้านท้องที่มีอำนาจและหน้าที่การงานในเขตท้องที่ของตนและ พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2486 มาตรา 6 เพิ่มหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเข้าไว้อีกตามข้อ 18 ว่า'ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของกำนันหรือทางราชการฯ'ประกอบกับคำปลัดอำเภอพยานโจทก์ว่าผู้ใหญ่บ้านทุกคนมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดในท้องที่ของตนและต้องรายงานให้อำเภอทราบ
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องที่ตาม กฎหมายเมื่อพาผู้ต้องหาในคดีลักและฆ่ากระบือไปส่งอำเภอระหว่างทางจำเลยจัดการให้ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาเลิกคดีกันโดยผู้ต้องหายอมใช้ราคาค่าเสียหายจำเลยปล่อยผู้ต้องหาโดยจัดทำสัญญาประนีประนอมให้เลิกคดีกันปิดข้อเท็จจริงเรื่องลักทรัพย์และฆ่ากระบือเป็นเรื่องทำให้เสียทรัพย์โดยไม่เจตนา คือปิดข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดินไม่มีทางเลิกกันได้ให้เป็นความผิดส่วนตัวที่เลิกกันได้ตามกฎหมายเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่ากระทำการอันไม่ควรกระทำและมีเจตนาช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องรับโทษการกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นเจ้าพนักงานท้องที่ตาม กฎหมายเมื่อพาผู้ต้องหาในคดีลักและฆ่ากระบือไปส่งอำเภอระหว่างทางจำเลยจัดการให้ผู้เสียหายกับผู้ต้องหาเลิกคดีกันโดยผู้ต้องหายอมใช้ราคาค่าเสียหายจำเลยปล่อยผู้ต้องหาโดยจัดทำสัญญาประนีประนอมให้เลิกคดีกันปิดข้อเท็จจริงเรื่องลักทรัพย์และฆ่ากระบือเป็นเรื่องทำให้เสียทรัพย์โดยไม่เจตนา คือปิดข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดินไม่มีทางเลิกกันได้ให้เป็นความผิดส่วนตัวที่เลิกกันได้ตามกฎหมายเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่ากระทำการอันไม่ควรกระทำและมีเจตนาช่วยเหลือผู้กระทำผิดไม่ให้ต้องรับโทษการกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 142