พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายและการอายัดทรัพย์เพื่อบังคับคดี การสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยในค่าสินค้างวดที่ค้างชำระที่มีอยู่ต่อผู้คัดค้านแทนจำเลย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2540 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2540 อันเป็นวันที่จำเลยมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ย่อมมีผลให้อายุความสะดุดหยุดลงนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาวันที่ 20 ตุลาคม 2541 ให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งอายัดชั่วคราวที่สั่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ย่อมมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) และโจทก์ก็ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินค่าสินค้าแก่ผู้คัดค้านแล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2542 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2540 สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)
สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีแก่ผู้คัดค้านคือค่าสินค้างวดที่ 3 จำนวนร้อยละ 10 ของราคา เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเท่าไรหากไม่ถึงจำนวนที่อายัด ผู้คัดค้านก็รับผิดไม่เกินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น แม้เดิมโจทก์ขออายัดชั่วคราวเป็นเงิน 760,000 บาท ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดเป็นเงิน 954,810 บาท โดยนำยอดหนี้ของจำเลยทั้งหมดรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์และการเฉลี่ยทรัพย์: ระยะเวลาการยื่นคำร้องเริ่มนับเมื่อมีการจัดสรรเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์คือคดีนี้ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยทำหนังสือแจ้งอายัดไปยังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยรวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียวโดยชำระเป็นเช็คจำนวน 1 ฉบับ แต่มิได้ระบุว่าเงินจำนวนดังกล่าวส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ดังนั้น ในวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินไปให้กรมบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการส่งเงินที่แจ้งอายัดเข้ามาในคดีใดบ้าง จำนวนเท่าใด และจะต้องไปขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวในคดีอื่นหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีหมายเลขแดงที่ ย.711/2544 และคดีของโจทก์คดีนี้แล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงทราบว่าคดีของผู้ร้องทั้งสองไม่มีการส่งเงินให้ตามที่แจ้งอายัดไว้ จึงต้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้ กรณีต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้ส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวน 474,087.25 บาท ให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว หาใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไปให้บังคับคดีไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 และ 30 กรกฎาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้ถูกผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์ก่อนฟื้นฟู
กฎหมายล้มละลายมีบทบัญญัติที่กำหนดสภาวะหยุดนิ่งหรือการพักชำระหนี้ (automatic stay) นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณา โดยมีวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรมและลดความกดดันทางการเงินจากการถูกเจ้าหนี้บังคับยึดทรัพย์สินหรือหลักประกัน และมีบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการขอรับชำระหนี้เพื่อให้ผู้ทำแผนทราบถึงจำนวนหนี้สินของลูกหนี้ที่จะต้องนำทรัพย์สินมาจัดสรรชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผน และเมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับแผนแล้วย่อมมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หนี้สินของลูกหนี้ที่มีอยู่แล้วได้รับการสะสางภายใต้กระบวนการของแผนฟื้นฟูกิจการให้เสร็จสิ้นไป ผู้คัดค้านซึ่งไปเจ้าหนี้รายหนึ่งในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ จึงต้องผูกพันในแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลสั่งเห็นชอบแล้ว และสิทธิในการจะบังคับชำระหนี้เองในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้นี้ย่อมสิ้นไป สำหรับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งอายัดไว้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ไว้พิจารณานั้น เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองในการห้ามยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไปแล้ว แม้มาตรา 90/12 (7) จะใช้คำว่า "ยึด" ก็ตาม แต่ย่อมหมายความรวมถึงการอายัดด้วย เพราะเมื่อมีการส่งทรัพย์สินหรือเงินตามที่อายัดให้ ก็จะนำไปสู่การบังคับคดีได้เองนั่นเอง แม้คดีนี้จะเป็นการอายัดก่อนศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบ แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วยโดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์สำหรับบุคคลภายนอก: การนำบทบัญญัติมาใช้โดยอนุโลม
โจทก์ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยมีคำขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินให้ศาลสั่งห้ามผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดการใช้เงินเป็นการชั่วคราว ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งอายัด จึงเป็นกรณีที่บุคคลภายนอกคือผู้ร้องถูกหมายอายัดและขอเพิกถอนคำสั่ง ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ถูกหมายอายัดและเป็นผู้ขอให้ยกเลิกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 จึงต้องอาศัยบทบัญญัติมาตรา 259 นำมาตรา 312 ซึ่งเป็นบทบัญญัติสำหรับบุคคลภายนอกเป็นผู้ร้องขอมาใช้บังคับโดยอนุโลม อันทำให้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอายัดถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการอายัดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิเพิกถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างซึ่งจำเลยจะได้รับจากการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2542 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ท. จำกัด โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) และวันเดียวกันบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. จำกัด (มหาชน) โอนสินทรัพย์และหนี้สินรวมทั้งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง โดยการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 24 เมษายน 2540 และผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างดังกล่าวนับแต่วันที่ 29 เมษายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องนั้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2542 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่ผู้ร้องได้ไปซึ่งสิทธิเรียกร้องนั้น และจำเลยไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวแล้ว การอายัดดังกล่าวจึงเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ ประกอบมาตรา 311 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นอายัดเงินตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ผู้ร้องมิใช่บุคคลภายนอกที่เป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องจึงไม่จำต้องคัดค้านคำสั่งอายัดก่อนการกีฬาแห่งประเทศไทยส่งเงินไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 312 วรรคสอง บทบัญญัติดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่ผู้ร้อง
การอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 ประกอบมาตรา 296 วรรคหนึ่ง
การอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้ ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 280 ประกอบมาตรา 296 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว การอายัดทรัพย์ และการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์หลังมีคำสั่งอายัด
คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้น ครั้งแรก ที่ให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 กับคำสั่งครั้งที่สองที่ให้อายัดเงินที่ จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ขอบังคับให้ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งศาลมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรมชั่วคราว และคำสั่งให้อายัดเงินสุทธิที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิ จะได้รับจากการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว คงมีผลบังคับเฉพาะแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้มีผลบังคับถึง จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 4 จึงไม่มีสิทธิที่จะ อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรกดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำขอให้ยกเลิกคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง หรือ ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุด ที่ดินที่ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอายัดชั่วคราวจึงเป็นหลักประกันเบื้องต้นในการที่โจทก์ จะบังคับคดีได้ เมื่อต่อมาปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์ ได้เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำพิพากษา ของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิบังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวจนทำให้คำสั่งอายัดที่ดินชั่วคราวไร้ผล และทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะได้รับเงิน จากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ จึงถือเสมือนว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้มาแทนที่ที่ดินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัด ไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ประกอบกับเงินเป็นทรัพย์ที่สามารถยักย้าย ถ่ายเทหรือปิดบังซ่อนเร้นโดยง่าย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมี คำสั่งให้อายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งแรก โจทก์ขอให้อายัด ที่ดินของจำเลยที่ 1 ส่วนการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาครั้งที่สอง โจทก์ขอให้อายัดเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะได้รับจากการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกอายัดให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง เป็นคนละประเด็นกัน จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและผลของการแจ้งการประเมินภาษี การอายัดทรัพย์สิน และการฟ้องล้มละลาย
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากรมาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีจึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความจึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม จึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้การที่โจทก์มีคำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2534 ก็เป็นเพียงขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้นไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 18มิถุนายน 2541 เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2530ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้วโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่ใช่การอายัด การอายัดทรัพย์เป็นขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินแปลงพิพาท แต่เนื่องจากยังหาตำแหน่งของที่ดินไม่พบจึงมิได้ทำการยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่ทำการอายัดที่ดินแปลงพิพาท ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องไว้ แต่การร้องขัดทรัพย์จึงร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการอายัดทรัพย์ด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่า การอายัดทรัพย์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามป.วิ.พ.มาตรา 55 หาได้ไม่เพราะ ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 เรื่อง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้ตามลำดับเป็นขั้นตอนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งอายัดทรัพย์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชน กรณีการยักยอกทรัพย์ของธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไป ซึ่งเป็นการต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ ในมาตรา 46 นว (1) แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร. กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้ว ร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของ ร. อันเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับอายัดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบ อันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร. ดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร. เกี่ยวกับหนี้สินตามคำร้อง กรณีจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่า ร. เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพยสินของ ร. ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจธนาคารแห่งประเทศไทยในการอายัดทรัพย์สินผู้กระทำผิดทางอาญาเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไปซึ่งเป็นการต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ในมาตรา 46 นว (1) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร. กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้ว ร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศและธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่ ร. เป็นเจ้าของกับหุ้นของบริษัท ฟ. ของ ร. ดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 เห็นได้ว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของ ร. เป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับยึดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบอันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร. ดังกล่าว คำสั่งอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนตามบทบัญญัติข้างต้นเมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร. เกี่ยวกับหนี้สินตามคำร้อง กรณีจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่า ร. เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพย์สินของ ร. ได้