พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นข้างมาก กรณีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจกรรมการ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและการแก้ไขอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ: ศาลสามารถตั้งผู้แทนชั่วคราวได้ แม้ไม่มีบทกฎหมายรองรับโดยตรง
ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ ส. และผู้ร้องลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท แต่ ส. ขัดขวางและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อบริษัทและผู้ร้อง โดยไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในกิจการที่ต้องกระทำในนามบริษัทหลายประการ และข้อบังคับของบริษัทไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของบริษัท โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท เพื่อผู้ร้องจะกระทำกิจการต่าง ๆ ในนามบริษัทได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรค และข้อขัดข้องของบริษัทมิให้เกิดความเสียหายอีกต่อไป แม้ตามคำร้องขอของผู้ร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของบริษัทว่างลงตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 73 บัญญัติไว้แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีนี้ได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ต้องอาศัยมาตรา 73 ที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัย และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการและการผูกพันบริษัทต่อเช็ค แม้การลงนามไม่ถูกต้อง
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัท ค. กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่าจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ว.หรือ ส. และประทับตราของบริษัท หรือว.ลงชื่อร่วมกับ ท. และประทับตราบริษัท และที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่ อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 1167 เมื่อ อ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัท ค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าว และโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัท ค.กู้เงินไปลงทุน ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของ อ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัท ค. ทั้งบริษัท ค.ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาทจึงตกอยู่แก่บริษัท ค. มิใช่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการเปลี่ยนแปลง, การกระทำเกินอำนาจ, ความรับผิดของบริษัทต่อเช็ค, ความเชื่อโดยสุจริตของบุคคลภายนอก
อ.เดิมเป็นกรรมการผู้เดียวที่มีอำนาจลงนามและประทับตราบริษัทค.กระทำการแทนบริษัทได้ ต่อมาที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทลงมติเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการเป็นว่า จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งจะลงชื่อเป็นสำคัญผูกพันบริษัทได้ คือ อ.ลงลายมือชื่อร่วมกับว.หรือส.และประทับตราของบริษัทหรือว.ลงชื่อร่วมกับท.และประทับตราบริษัทและที่ประชุมยังได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ใช้ตราประทับใหม่ ดังนี้ แม้ขณะที่มีการกู้ยืมและสั่งจ่ายเช็คพิพาท อ.จะลงชื่อในเช็คพิพาทเพียงคนเดียวและยังใช้รอยตราเดิมของบริษัท ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจก็ตาม แต่การที่อ.จะต้องรับผิดต่อบริษัทและบุคคลภายนอกเพียงใดย่อมเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 เมื่ออ.เคยเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวลงนามกระทำการแทนบริษัทค. และกิจการคอนโดมิเนียมก็เป็นกิจการของบริษัทดังกล่าวและโจทก์เข้าใจมาแต่ต้นว่าโจทก์ให้บริษัทค.กู้เงินไปลงทุนย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้บุคคลภายนอกเชื่อว่าการกระทำของอ.อยู่ภายใต้ขอบอำนาจของบริษัทค.ทั้งบริษัทค. ก็ยอมรับผลจากการกระทำเช่นนั้น ดังนั้น ความรับผิดตามเช็คพิพาท จึงตกอยู่แก่บริษัทค.มิใช่อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1361/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานการประชุมบริษัทพิสูจน์ไม่ได้ถึงการประชุมจริง อำนาจกรรมการใหม่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ฟ้องร้องเป็นโมฆะ
แม้ ป.พ.พ.มาตรา 1024 จะบัญญัติว่า ในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันก็ดี ในระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัทก็ดี ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บรรดาสมุดบัญชีของบริษัทย่อมเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการก็ตาม แต่เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมานั้นมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าไม่มีการประชุมกรรมการและผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์ ตามรายงานการประชุมของบริษัท ดังนั้นการที่รายงานการประชุมของบริษัทระบุว่า ที่ประชุมลงมติให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ส.และป.ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและแต่งตั้งกรรมการใหม่ 4 คน คือ ฮ. น. จ.และ ช. จึงไม่ถูกต้อง แม้จะมีการนำรายงานการประชุมดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ก็เป็นการไม่ชอบ หาทำให้กรรมการใหม่ทั้งสี่คนดังกล่าวเป็นกรรมการโจทก์ไม่ กรรมการใหม่ดังกล่าวจึงไม่มีอำนาจบริหารงานของบริษัทโจทก์และกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ การที่ ฮ.และ จ.กรรมการใหม่ร่วมกันลงนามและประทับตราบริษัทโจทก์แต่งตั้ง ร.เป็นทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีนี้ จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ไม่มีผลทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทจำกัดเมื่อจำนวนกรรมการไม่ครบตามข้อบังคับ และการทำกิจการบริษัท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับเหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการทำสัญญาเช่า และผลผูกพันตามสัญญา แม้ไม่มีตราประทับ
แม้สัญญาเช่ามิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้จดทะเบียนกำหนดให้ ส.เป็นกรรมการลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าก็มีข้อความกล่าวไว้ชัดในตอนต้นแห่งสัญญาว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่ง กับบริษัท ค.โดย ส.กรรมการ ผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความเช่นนี้แสดงชัดว่า ส.ทำสัญญาในนามของโจทก์นั่นเองหาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ทั้งจำเลยก็ได้ยอมรับผลแห่งสัญญาตั้งแต่ต้นตลอดมาจำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จะอ้างว่าสัญญาไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการหลังการเปลี่ยนแปลงกรรมการและการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายของกรรมการ
เมื่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติถอน ว. และแต่งตั้งจำเลยที่6เป็นกรรมการมีอำนาจทำการแทนบริษัทและศาลยังมิได้พิพากษาเพิกถอนตามที่ ว. ยื่นฟ้องขอเพิกถอนมติดังกล่าวก็ต้องถือว่าจำเลยที่6เป็นกรรมการมีอำนาจทำการแทนบริษัทและมีอำนาจเอาห้องพิพาทของบริษัทที่ ว. เคยอนุญาตให้โจทก์เข้าไปอยู่แต่ได้ย้ายออกไปแล้วไปให้ ส. เช่าได้และเมื่อโจทก์ไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ตามที่จำเลยที่6ได้มีหนังสือให้โจทก์ขนย้ายออกไปการที่จำเลยที่6สั่งให้จำเลยที่1ถึงที่4ขนย้ายทรัพย์สินดังกล่าวทั้งได้ขอร้องให้จำเลยที่5ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาเป็นพยานจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีเจตนาบุกรุกทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและการร้องคัดค้านฟ้อง: ผู้ไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ไม่อาจร้องคัดค้านฟ้องแทนบริษัทได้
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมาย ผู้ร้องร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลย เป็นการกระทำเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)