คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจกระทำการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของผู้ร้องที่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลย แม้จำเลยมีอำนาจกระทำการแทน
ประเด็นว่าผู้ร้องใช้สิทธิในการร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยสุจริตหรือไม่นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยถึงแม้ว่าจำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องโดยประทับตราของผู้ร้องก็ตาม แต่เงินตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลยตราบเท่าที่ผู้ร้องยังเป็นนิติบุคคลอยู่ การใช้สิทธิของผู้ร้องไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8938/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของบริษัทเมื่อเกิดอุปสรรคในการลงลายมือชื่อกระทำการแทนบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้ ส.และผู้ร้องลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท แต่ ส.ขัดขวางและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อบริษัทและผู้ร้อง โดยไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในกิจการที่ต้องกระทำในนามบริษัทหลายประการ และข้อบังคับของบริษัทไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวของบริษัท โดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทมีอำนาจกระทำการแทนบริษัท เพื่อผู้ร้องจะกระทำกิจการต่าง ๆ ในนามบริษัทได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องของบริษัทมิให้เกิดความเสียหายอีกต่อไป แม้ตามคำร้องขอของผู้ร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของบริษัทว่างลงตามที่ ป.พ.พ.มาตรา 73 บัญญัติไว้แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีนี้ได้ ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในกรณีนี้ต้องอาศัยมาตรา 73 ที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาวินิจฉัย และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทที่มีข้อพิพาท ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัย
เดิมบริษัทจำเลยมี ณ.และ ก.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทคนใดคนหนึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ต่อมา ก.ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นว่า ให้ ก.เพียงผู้เดียวเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าเป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยจึงประชุมกันและมีมติว่า การดำเนินการของ ก.ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และให้ถอดถอน ก.ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยแล้วแต่งตั้งให้ ณ.เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำเลยเพียงผู้เดียว และให้ดำเนินคดี ก.เป็นคดีอาญาข้อหาแจ้งความเท็จและแจ้งให้จดข้อความอันเป็นเท็จ กับฟ้องคดีแพ่งขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการที่ ก.ได้ดำเนินการไป แต่คดีทั้งหมดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดจึงยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยมาเป็น ก.เพียงผู้เดียวตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นข้างต้น ดังนี้เมื่อกรณียังมีข้อโต้แย้งระหว่าง ณ.กับ ก.ว่าผู้ใดมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยการที่ ณ.แต่งตั้ง ว.เป็นทนายจำเลยทำคำให้การและยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในนามจำเลยก็ดี หรือที่ ก.แต่งตั้ง อ.เป็นทนายจำเลยเข้าดำเนินคดีในเรื่องต่าง ๆรวมทั้งที่ ก.และ อ.เข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความในนามจำเลยกับโจทก์ ซึ่งศาลแรงงานพิพากษาตามยอมไปแล้วก็ดี และคดียังมีปัญหาว่า การกระทำต่าง ๆดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงชอบที่ศาลแรงงานจะได้ทำการไต่สวนให้สิ้นกระแสความเสียก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองว่า ก.เพียงผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้แทนจำเลยแล้วมีคำสั่งไม่รับคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขคำให้การที่ทำขึ้นโดย ว.ซึ่ง ณ.แต่งตั้งเป็นทนายจำเลย กับที่ศาลแรงงานสั่งให้เพิกถอนใบแต่งทนายความฉบับที่ ณ.แต่ง ว.เป็นทนายจำเลย และพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ ก.และ อ.ลงนามแทนจำเลยทำกับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญาของนิติบุคคล: ผู้มีอำนาจกระทำการแทน
ป.วิ.อ.มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ในการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีคำว่า ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของนิติบุคคลตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นย่อมหมายถึง ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นตามกฎหมาย เช่น กรรมการผู้จัดการของบริษัท
พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ก.กรรมการคนหนึ่งของบริษัทจำเลยในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลย โดยมิได้สอบสวน อ. กรรมการผู้จัดการและผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลย และตามบันทึกคำให้การของ ก.มีข้อความว่าก.ไม่ขอให้การชั้นสอบสวนจะไปให้การในชั้นศาล และยังให้การว่า ก.เป็นกรรมการบริษัทจำเลย แต่ ก.ไม่มีอำนาจลงชื่อในการทำนิติกรรมของบริษัทจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบริษัทจำเลยมอบอำนาจให้ ก.กระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ดังนี้พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวน ก.ในฐานะตัวแทนบริษัทจำเลยเกี่ยวกับคดีอาญาคดีนี้ กรณีย่อมถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนบริษัทจำเลยโดยชอบแล้ว พนักงาน-อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยเป็นคดีนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ชำระบัญชีและกรรมการ
แม้โจทก์ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว โดยมี ส.และ พ.เป็นผู้ชำระบัญชีก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1249 บัญญัติให้ถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และตามมาตรา 1252บัญญัติให้กรรมการบริษัทมีอำนาจโดยตำแหน่งเดิม เมื่อเป็นผู้ชำระบัญชีก็ยังคงมีอำนาจอยู่ ดังนั้นบุคคลทั้งสองซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ด้วย จึงยังคงมีอำนาจในตำแหน่งกรรมการของบริษัทโจทก์อยู่ และมาตรา 1259 (1) บัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของบริษัทในอรรถคดีพิพาทอันเป็นแพ่งหรืออาญาทั้งปวง เมื่อผู้ชำระบัญชีและกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เป็นบุคคลคนเดียวกัน ดังนั้นที่บุคคลทั้งสองได้มอบอำนาจให้ ก.ฟ้องคดีแทนโจทก์ ผู้รับมอบอำนาจจากบุคคลทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการ, การลงลายมือชื่อในเช็ค, และการบังคับค่าปรับทางแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คพิพาท จึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและฐานะผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการร่วมกระทำอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว จำเลยย่อมเข้าใจได้
น.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์แต่ผู้เดียวจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์มิได้มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ การกระทำการแทนโจทก์จึงหาต้องประทับตราสำคัญของโจทก์ด้วยไม่ สำหรับข้อบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1078 วรรคสี่ เป็นรายละเอียดของรายการและวิธีการลงทะเบียนก่อนที่พนักงานทะเบียนจะจดทะเบียนให้ หาได้เกี่ยวกับอำนาจกระทำการของหุ้นส่วนผู้จัดการแต่อย่างใด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การบังคับค่าปรับจะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามป.อ.มาตรา 29, 30 นั้นไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหาย แม้ทรัพย์สินระบุชื่ออื่น ศาลต้องพิจารณาความเป็นเจ้าของที่แท้จริง
คำร้องของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นระบุว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ศาลชั้นต้นรับคำร้องและอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้แล้วแม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าทรัพย์ตามที่ระบุในคำฟ้องเป็นของณ. แต่ก็ได้ความว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งมีณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมคืออ. และโจทก์ร่วมนำทรัพย์มาฝากไว้จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ไม่เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ร่วมด้วยเหตุว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อ การตรวจสอบอำนาจกรรมการ และผลของการทำสัญญาโดยผู้ไม่มีอำนาจ
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าส. และม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่าม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่1เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัดย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่1แล้วจึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้วเมื่อว. และร.ได้รับมอบอำนาจจากม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกระทำการแทนบริษัทตามหนังสือรับรอง: การลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการและการประทับตรา
หนังสือรับรองของบริษัทโจทก์ระบุว่า จ. หรือ ช.ลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการคนใดคนหนึ่งรวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ดังนั้น เมื่อ จ. ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัทในหนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจย่อมใช้ได้
of 2