คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9308/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางน้ำชลประทานเป็นทางสาธารณะ แม้มีอำนาจจำกัดการใช้ แต่ไม่ได้ทำให้ทางน้ำนั้นกลายเป็นส่วนตัว
คลองชลประทานซึ่งเป็นทางน้ำที่ราษฎรทั่วไปมีสิทธิใช้สัญจรไปมาได้เป็นทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349,1350 แม้พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 15 จะบัญญัติให้อธิบดีกรมชลประทานมีอำนาจ (1) ปิด ฯลฯ (2) ขุดลอก ฯลฯ(3) ห้ามจำกัดหรือกำหนดเงื่อนไขในการนำเรือ แพ ผ่านทางน้ำชลประทาน (1) หรือ (2) ได้แต่ก็เป็นการกำหนดไว้เพื่อให้อธิบดีกรมชลประทาน จัดการดูแลรักษาทางน้ำชลประทานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และเพื่อประโยชน์ของการชลประทานเท่านั้นหาทำให้ทางน้ำ ที่ราษฎรใช้ในการคมนาคมกลายสภาพเป็นทางน้ำที่ไม่ใช่ทาง สาธารณะไม่ ที่ดินของโจทก์ทั้งสามจึงมีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดิน ของจำเลยทั้งสองซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่สามารถล่วงล้ำไปยังทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลอื่นได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา 24 และมาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 3 มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1269 เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ แม้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. จะมีลูกหนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการอายัดทรัพย์สินจากการค้างภาษีอากร: จำกัดเฉพาะผู้ต้องรับผิดเสียภาษี หรือผู้ส่งภาษีอากรเท่านั้น
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจึงไม่ตกอยู่ในอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448 ประมวลรัษฎากรมาตรา12ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้นเมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่แม้จำเลยที่1จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตามจำเลยที่2ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ กรมสรรพากรจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาทจึงไม่ชอบที่จะให้จำเลยที่1เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่2ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4161/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำกัดการเรียกหลักประกันจากนายประกัน และความรับผิดของตัวแทนในการประกันตัว
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497 มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2515 เป็นบทบัญญัติจำกัดอำนาจของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการซึ่งมีอยู่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 112 ในอันที่จะกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรให้นายประกันชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ในคดีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการกำหนดจำนวนเงินที่นายประกันจะต้องชดใช้เมื่อมีการผิดสัญญาประกันเพียงไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนในคดีนี้สั่งปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้นายประกันใช้เงิน 600,000 บาท เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน ซึ่งเกินกว่าจำนวนเงินตามเช็คซึ่งมีเพียง 500,000 บาท เป็นแต่เพียงการกระทำที่เกินอำนาจของพนักงานสอบสวนจึงใช้บังคับนายประกันได้เพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ คือเท่าจำนวนเงินในเช็ค มิใช่ตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด เพราะสัญญาประกันดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแต่อย่างใด
ตามหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่า มอบให้จำเลยที่ 1เป็นผู้มีอำนาจจัดการประกันตัวผู้ต้องหา โดยนำโฉนดที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันและให้จำเลยที่ 1 ให้ถ้อยคำต่าง ๆ แก่เจ้าหน้าที่แทนด้วย แม้จำเลยที่ 1จะเข้าทำสัญญาประกันในนามตนเอง มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่ในการตีความแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 132 เดิม แสดงว่าจำเลยที่ 1มีเจตนาขอประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 2 ตามที่ได้รับมอบอำนาจมา หาได้กระทำการเป็นส่วนตัวแต่อย่างใดไม่ ประกอบกับการมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันผู้ต้องหารายนี้จะต้องมีหลักประกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญาประกันโดยมอบหลักประกันของจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือไว้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 จะขอประกันเป็นการส่วนตัวหาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกันย่อมถือได้ว่าสัญญาประกันรายนี้จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนหาต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามฟ้องได้ แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ กรณีจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1จะไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายให้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษทางวินัย: การพักงานเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกได้ แม้ระเบียบจะไม่ได้กำหนดโทษไว้เป็นการเฉพาะ
โดยทั่วไปสิ่งใดที่กล่าวยกขึ้นเป็นตัวอย่างไว้ สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือต้องละเว้นไม่กระทำตามแต่ข้อความก่อนมีการยกตัวอย่างได้ระบุไว้ คำว่า "ตัดค่าจ้าง ถูกพักงาน ถูกภาคทัณฑ์"เป็นข้อความในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในหัวข้อระเบียบวินัยและโทษทางวินัย จึงเป็นโทษทางวินัยอย่างหนึ่ง แต่การกระทำผิดทางวินัยในความผิดประเภทต่าง ๆ ได้มีกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น โทษดังที่กล่าวข้างต้นซึ่งมิได้ระบุถึงในโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะนี้ จำเลยจึงนำมาลงโทษได้เฉพาะเมื่อประสงค์จะลงโทษที่เบากว่าโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะแล้วเท่านั้น จำเลยมาทำงานสายเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งโทษที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะคือปลดออกจากงาน การที่จำเลยลงโทษเพียงพักงานโจทก์ ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าการปลดออกจากงานจึงชอบด้วยระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้ว และเมื่อการลงโทษพักงานชอบด้วยระเบียบ จำเลยก็มีสิทธิหักค่าจ้างโจทก์ในวันที่พักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6361/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินจัดสรร ตัวแทนจำกัดอำนาจ ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 เพื่อจัดสรรขาย และจะได้กำไรจากราคาเดิมประมาณ 3-4 เท่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับส่วนแบ่งกำไรจากจำเลยที่ 1 คงเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ซื้อ ชำระราคาที่ดินครบถ้วนในแต่ละแปลงแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ขอให้จำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจัดสรรที่ดินขายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า "เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณี หมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งการตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า"เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือ ข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีหมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจไวยาวัจกรจำกัดสัญญาไม่ผูกพันวัด, ห้องแถวถูกทำลายหมดสภาพตามกฎหมาย
ไวยาวัจกรของวัดได้รับมอบอำนาจให้จัดการผลประโยชน์ห้องแถวไม่มีอำนาจรวมถึงรื้อและสร้างอาคารใหม่จึงทำสัญญารื้อห้องแถวปลูกตึกใหม่ให้เช่าให้ผูกพันวัดไม่ได้
ห้องแถวไม้ถูกไฟไหม้เหลือแต่พื้นซิเมนต์ชั้นล่างกับเสาซึ่งไหม้เกรียมผู้เช่าซ่อมเพิ่มเติมชั้นล่างแล้วอยู่ทำการค้า ถือว่าห้องแถวหมดสภาพระงับไปตาม มาตรา 567 แล้ว
of 2