พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายทอดตลาด แม้ราคาต่ำกว่าครั้งก่อนได้ หากสมควรและไม่ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 309 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมีความหมายแต่เพียงว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในครั้งถัด ๆ มานั้น หากมีผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงสุดไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดในครั้งก่อนที่มีผู้เสนอซื้อไว้ และเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าเป็นราคาที่สมควรขายได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ชอบที่จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในครั้งหลังนี้ไปได้เลย โดยไม่จำต้องฟังว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจะคัดค้านว่าราคาต่ำไปหรือไม่อีก ทั้งนี้เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้โดยไม่ชักช้า มิได้มีความหมายว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งถัด ๆ มาเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในจำนวนไม่น้อยกว่าราคาสูงสุดที่มีผู้เสนอซื้อในครั้งก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการลดโทษผู้กระทำผิดอายุกว่าสิบเจ็ดปีแต่ไม่เกินยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจในการลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่มีอายุกว่าสิบเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินยี่สิบปี โดยพิเคราะห์ถึงความรู้สึกผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลย ดังนั้น ศาลอาจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง หรืออาจไม่ลดมาตราส่วนโทษให้เลยก็ได้บทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้บังคับให้ศาลต้องลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยทุกกรณีเสมอไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) และการคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
การใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานประเมิน การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยใช้อำนาจตามมาตรา 71(1) ประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เป็นการปฏิบัติไปตามมาตรา 71(1)จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์มีผลประกอบการขาดทุนสุทธิก็ตาม
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว
บทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 27 วรรคสามระบุให้คำนวณเงินเพิ่มโดยเริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยคิดเงินเพิ่มจากโจทก์นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 69 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2902/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ และอำนาจดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ
พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่1ที่2โดยวิธีปิดหมายจำเลยที่1ที่2มีสิทธิยื่นคำให้การภายใน23วันแต่จำเลยที่1ที่2เพิ่งนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปให้ทนายความในวันสุดท้ายที่ต้องยื่นคำให้การแสดงว่าจำเลยที่1ที่2ไม่สนใจเกี่ยวกับการถูกฟ้องและไม่สนใจที่จะต่อสู้คดีทนายจำเลยที่1ที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ที่2จะอ้างเหตุที่เพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายละเอียดว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ไม่ได้ถือได้ว่าจำเลยที่1ที่2จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลสั่งว่าจำเลยที่1ที่2ขาดนัดยื่นคำให้การภายใน15วันนับแต่วันครบกำหนดยื่นคำให้การแม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองใช้คำว่า"ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี"ก็ไม่ใช่เป็นบทบังคับศาลคงให้อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวก่อนศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่สำหรับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา21(4)ไม่ได้เป็นบทบังคับศาลที่จะต้องทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175นั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ การที่โจทก์ใช้สิทธิขอถอนฟ้องเพราะ จำเลยเป็นหนี้โจทก์มีจำนวนมากกว่าที่ระบุในฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะหากถอนฟ้องแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีเต็มที่เช่นกัน การที่ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานของคู่กรณี ตรงกันข้ามหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยอาจได้เปรียบในเชิงคดีก็เป็นได้เพราะหากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่าที่ฟ้อง จำเลยอาจไม่ต้องชำระหนี้ดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เอาเปรียบในเชิงคดีแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสั่งยึดทรัพย์และการสอบสวนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1859/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการงดสืบพยานและการรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง
อุทธรณ์จำเลยที่ว่า ศาลชั้นต้นควรสืบพยานโจทก์จำเลยก่อนเพื่อจะวินิจฉัยแปลความในสัญญาเช่าว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองหรือไม่ และโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ตัวบ้านที่พิพาทของจำเลยทั้งสองในส่วนด้านหน้าหรือทั้งหมดปลูกอยู่ในรัศมีของถนนไม่ได้เช่าจากใคร เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการมีคำสั่งงดสืบพยานและรับฟังข้อเท็จจริง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องและอำนาจดุลพินิจศาลในการจำหน่ายคดี พิจารณาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมและเจตนาของโจทก์
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ ข้อความท้ายคำร้องแถลงมีว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นไม่อนุญาตให้ประกาศหนังสือพิมพ์ ให้โจทก์แถลงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายใน 3 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้อง ต้องถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งนั้นแล้ว เมื่อโจทก์มิได้แถลงภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ศาลชั้นต้นมีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2527 ให้โจทก์แถลงภายใน 3 วัน วันที่7 ธันวาคม 2527 ทนายโจทก์ติดประชุม วันที่ 8 ธันวาคม 2527 ตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการ วันสุดท้ายแห่งระยะเวลาคือวันที่ 9 ธันวาคม 2527 แต่วันที่ 9 และวันที่ 10 ธันวาคม 2527 ตรงกับวันอาทิตย์และวันพระราชทานรัฐธรรมนูญตามลำดับอันเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธิแถลงในวันที่ 11 ธันวาคม 2527 ได้ด้วย การที่โจทก์แถลงเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2527 จึงเกินกำหนดตาม คำสั่งศาลชั้นต้นที่จะยื่นได้เพียงวันเดียว ระยะเวลาที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้โจทก์แถลงภายใน 3 วัน เป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้น สำหรับกรณีนี้ ทั้งขณะโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่มีเจตนาทิ้งฟ้องและ แถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องตามคำสั่งของศาลชั้นต้น อันเป็นการแสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไปศาลชั้นต้นก็ ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ได้มีโอกาสดำเนินคดี ต่อไปโดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมศาล: ศาลมีอำนาจดุลพินิจพิจารณาความสุจริตคู่ความในการกำหนดความรับผิดชอบ
ความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงเหตุผลและความสุจริตในการดำเนินกระบวนพิจารณาและต่อสู้คดีของคู่ความไม่จำต้องให้จำเลยชำระแทนเท่าทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีหรือจำเลยแต่ละคนต้องชำระตามส่วนในคำพิพากษาที่ศาลล่างเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่2ซึ่งรับผิดต่อโจทก์อันเนื่องมาจากมูลละเมิดและจำเลยที่3ซึ่งรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแต่ไม่เต็มตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดแทนโจทก์ชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนทนายและความเป็นการประวิงคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 65 มิได้บังคับว่าเมื่อทนายความยื่นคำขอต่อศาลให้สั่งถอนตนจากการเป็นทนายของคู่ความศาลจะต้องอนุญาตเสมอไป จึงอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งตามควรแก่กรณี จำเลยได้ขอเลื่อนคดีมาแล้ว 4 ครั้ง ด้วยเหตุที่พยานป่วยหนึ่งครั้ง พยานมา ศาลเพียงปากเดียวหนึ่งครั้ง จำเลยป่วยหนึ่งครั้งและพยานไม่มาศาลหนึ่งครั้ง สำหรับในวันนัดสืบพยานจำเลยก่อนที่ทนายจำเลยจะยื่นคำร้องขอถอนตัวนั้น ปรากฏว่าพยานจำเลยมีตัวจำเลยกับพยานอื่นหนึ่งปากมาศาล แต่โจทก์คัดค้านจึงต้องเลื่อนคดีไป โดยทนายจำเลยแถลงว่าจะนำพยานมาศาล 3 ปากขอหมายเรียกพยานหนึ่งปากหากไม่นำพยานมาศาลก็ไม่ติดใจ สืบ ครั้นถึงวันนัดปรากฏว่าจำเลย ทนายจำเลยและพยานจำเลยไม่มาศาล คงมีแต่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยมาศาลและยื่นคำร้องที่ทนายจำเลยขอถอนตนจากการเป็นทนายต่อศาลและอ้างว่าติดว่าความในคดีอื่นจึงไม่อาจมาศาลได้ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ตัวจำเลยจะต้องมาศาลและนำพยานจำเลยมาศาลด้วยตามที่ได้แถลงไว้ในนัดก่อนเพราะศาลอาจสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยขอถอนตนจากการเป็นทนายและให้สืบพยานจำเลยไปก็ ได้ พฤติการณ์ของจำเลยในการขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้งและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานครั้งสุดท้ายถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้วพิพากษาไปตามรูปคดี