คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจตัวแทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของหนังสือมอบอำนาจหลังแปรสภาพบริษัท: อำนาจตัวแทนยังคงมีผลผูกพันบริษัทที่แปรสภาพหรือไม่
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทตามพระราชบัญญัตินี้ บริษัท เอกชนเดิมหมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัด แต่มาตรา 185 แห่งพระราชบัญญัติมหาชน จำกัดฯ ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทเอกชนเดิมที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนว่าบริษัทที่แปรสภาพแล้วย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด
บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดิมก่อนแปรสภาพได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนบริษัทได้ หนังสือดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังบริษัทโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาได้ เมื่อหนังสือดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ ส. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การเสนอ-สนองต้องตรงกัน & อำนาจตัวแทน
สัญญาประกันภัยนั้น ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก กฎหมายมิได้กำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้ เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีมิได้สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน
ส. ผู้จัดการสาขาของจำเลยมิใช่เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจทำสัญญาประกันภัยแทนจำเลย ไม่มีอำนาจรับประกันภัย แต่ ส. ต้องส่งเรื่องไปให้บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่ เพื่อให้บริษัทรับการประกันภัยและคุ้มครองรถ ฝ่ายรับประกันภัยของบริษัทก็มีหน้าที่ตรวจดูเอกสารต่าง ๆ ว่าเข้าเงื่อนไขในการรับประกันภัยหรือไม่ หากถูกต้องก็จะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยต่อไป คำขอเอาประกันภัยรถยนต์เป็นเพียงคำเสนอขอเอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทที่โจทก์เสนอต่อจำเลยเท่านั้น
การที่ ส. ผู้จัดการสาขาจำเลย รับคำขอเอาประกันภัยดังกล่าวไว้จากโจทก์ผู้เอาประกันภัยก็เพียงแต่เพื่อส่งให้แก่บริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ พิจารณาว่าจะรับประกันภัยได้หรือไม่เท่านั้น หากพิจารณาแล้วรับประกันภัยได้ บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่ ก็จะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยต่อไป การที่ ส. รับคำขอเอาประกันภัยของโจทก์ไว้เพื่อส่งให้แก่บริษัทจำเลย สำนักงานใหญ่ จึงมิใช่เป็นคำสนองรับประกันภัยของจำเลย เมื่อคำเสนอดังกล่าว บริษัทจำเลยสำนักงานใหญ่ เพิ่งได้รับเมื่อเวลาหลังจากที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทได้เกิดเหตุไปแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้มีคำสนองตอบรับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันพิพาทเมื่อใด จึงฟังไม่ได้ว่า ขณะที่รถยนต์บรรทุกคันพิพาทเกิดอุบัติเหตุ จำเลยได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9545/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเกินอำนาจ-ผลกระทบต่อบุคคลภายนอก-การรับชำระหนี้-ความรับผิดของตัวการ
แม้จำเลยที่2ตัวแทนขายรถยนต์ของจำเลยที่1จะไม่มีอำนาจรับเงินค่าซื้อรถยนต์แทนจำเลยที่1และการที่จำเลยที่2รับเงินค่าซื้อรถยนต์จากโจทก์จะเป็นการที่ตัวแทนทำการนั้นไปเกินอำนาจตัวแทนก็ตามแต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่2และทางปฎิบัติของจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการที่จำเลยที่2รับเงินค่าซื้อรถยนต์ภายในขอบอำนาจของจำเลยที่2ผู้เป็นตัวแทนจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์บุคคลภายนอกผู้สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา822ประกอบมาตรา820ดังนั้นจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ชำระราคารถยนต์ค้นพิพาทให้แก่จำเลยที่1แล้ว ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความเกินขั้นสูงตามตาราง6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในผลแห่งคดีแต่มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้นั้นแม้ปัญหานี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนเพียงพอต่อการต่อสู้คดี การเสนอเอกสารมอบอำนาจไม่ใช่สาระสำคัญ
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยได้มอบอำนาจให้ อ.เป็นตัวแทนในการขายที่ดินของจำเลยและ อ.ในฐานะตัวแทนของจำเลยได้ตกลงให้โจทก์เป็นนายหน้า เป็นการชัดเจนเพียงพอแก่การที่จำเลยจะต่อสู้คดีโจทก์ได้แล้ว การที่โจทก์ไม่ได้เสนอใบมอบอำนาจมาด้วย ก็หาทำให้จำเลยไม่เข้าใจสภาพแห่งข้อหา เพราะจำเลยสามารถให้การต่อสู้คดีได้ว่าตนมอบอำนาจให้ อ.ทำการได้เพียงใด ซึ่งอาจนำสืบรายละเอียดได้ชั้นพิจารณา ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจทั่วไปและการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่างๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการ นั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปท.จึงมีอำนาจทำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801วรรคแรก หนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท.เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลย กับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การ และการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท.แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4708/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อฝากโดยสุจริตและผลกระทบของลายมือชื่อที่ไม่สมบูรณ์ต่อสิทธิของบุคคลภายนอก
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2ที่ 3 รับซื้อฝากที่พิพาทโดยทุจริตแต่อย่างใด โจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขายฝากที่พิพาทเท่านั้น จำเลยที่ 2ที่ 3 จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า รับซื้อฝากที่พิพาทไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
การที่ตัวการลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความไว้ ภายหลังจำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้นำใบมอบอำนาจดังกล่าวไปกรอกข้อความแล้วขายฝากที่พิพาทให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เป็นกรณีเข้าลักษณะความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัวแทนคือจำเลยที่ 1 ทำการเกินอำนาจตัวแทน แต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่า การอันนั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทน ตัวการจึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของตัวการย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการขายฝากดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนสัญญา, ผลผูกพันสัญญา, การคัดค้านพยานหลักฐาน, และการล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ ตกลง มอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทน, สัญญาค้ำประกัน, การล้มละลาย: การรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันเมื่อบริษัทมอบอำนาจให้ตัวแทนทำสัญญา
บริษัท ค.ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ค. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำ ในฐานะตัวแทนของบริษัท เมื่อสัญญาโอนขายลดเช็คไม่มีข้อจำกัด ว่าเช็คที่บริษัท ค. นำมาขายลดให้แก่โจทก์จะต้องเป็นเช็คลูกค้าของบริษัทเท่านั้น และตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ก็ระบุความรับผิดของจำเลยรวมถึงหนี้ตามเช็คของบุคคลอื่นที่บริษัท ค. ได้นำมาขายลดแก่โจทก์ด้วย จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งบริษัท ค. เป็นหนี้โจทก์อยู่ 2 ล้านบาทเศษ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาภาพถ่ายเช็คและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าถือไม่ได้ว่าบริษัท ค. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ ซึ่งปัญหานี้โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ หาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้นไม่ โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้ว จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว อย่างไรก็ตามปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินเฉพาะที่ดินพร้อมด้วยอาคารอันเป็นที่ตั้งบริษัท ค. ซึ่งติดจำนองอยู่เป็นเงิน 2,500,000 บาทที่ดินและอาคารดังกล่าวราคาประมาณ 5,000,000 บาท และเป็นสินสมรส เมื่อบังคับใช้หนี้จำนองแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยในฐานะสามีย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของเพียงครึ่งหนึ่งคือไม่เกิน 1,250,000 บาทซึ่งน้อยกว่าจำนวนหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์จึงถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทนสัญญา, การรับรองเอกสาร, และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนิน กิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัว แทนของบริษัท สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้อง แห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือ ไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่ เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจแต่ โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้ หลบหนีไปจากเคหสถาน ที่เคยอยู่ แต่ ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจตัวแทน-การยินยอมทำสัญญา-ความผูกพันหนี้: การที่บริษัทมอบอำนาจกรรมการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทำให้บริษัทต้องรับผิด
บริษัทจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 กรรมการจำเลยที่ 1ผู้เดียวเปิดบัญชีเดินสะพัดประเภทเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์โดยมีเงื่อนไขในการสั่งจ่ายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เซ็นสั่งจ่ายพร้อมประทับตราของจำเลยที่ 1 โดยไม่คำนึงถึง ป. กับกรรมการอื่น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตามหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อจำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และยินยอมให้โจทก์เพิ่มดอกเบี้ยในการกู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งได้นำเงินฝากเข้าบัญชีและถอนเงินตลอดมา ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2เชิดตัวเองเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821
of 4