คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขอเข้าบังคับคดีของผู้เสียหาย: คดีความผิดอื่นที่ไม่ใช่ความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43
ป.วิ.อ.มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่ คดีลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 50 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้เสียหายรุกล้ำคลองชลประทานในการบังคับคดี: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร คดีที่ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ. การชลประทานหลวงฯ จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการควบคุมการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์: คำสั่งต่อเนื่องและไม่อาจฎีกา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์โดยให้ศาลชั้นต้นตีราคาทรัพย์สินที่จำนอง ถ้าไม่พอชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนับจนถึงวันทราบคำสั่งและต่อไปอีก 1 ปี ก็ให้จำเลยหาประกันมาให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีในชั้นพิจารณาหลักประกัน โดยถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการวางหลักประกันภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดนั้นเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ศาลยกเลิกการล้มละลายทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจบังคับคดี
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายการกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้นซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้นเมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลายผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไปแม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้วก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก และอำนาจในการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 27 เมษายน 2537 นั้น พิเคราะห์แล้วเห็นว่า คำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 29 มีนาคม 2537 ที่ว่า คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก แม้จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากคำพิพากษาในคดีนี้ คำพิพากษาจึงไม่ผูกพันท. นั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลว่าคำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ส่วนคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 27 เมษายน2537 ที่ว่า คู่ความทุกฝ่ายมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้ร้องที่ 2 ไม่มีอำนาจแจ้งอายัดมิให้เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษา ผู้ร้องทั้งสองไม่มีอำนาจคัดค้านมิให้จดทะเบียนใส่ชื่อนางทองเปลวถือกรรมสิทธิ์ร่วมด้วย และให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทด้านทิศเหนือเนื้อที่ 26 ไร่ ใส่ชื่อผู้ร้องทั้งสองและ ท.ร่วมกันโดยมิต้องระบุส่วนแบ่งของแต่ละคนนั้น เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคู่ความที่มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคู่ความอีกฝ่ายร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน กรณีมิใช่ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดข้อหนึ่งแห่งคดีแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น อันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจขอออกหมายบังคับคดีเอง ต้องฟ้องผู้ผิดสัญญาเป็นคดีใหม่
การที่ ส. ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 และการกระทำของ ส. ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้นไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางาน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62กำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในเงินทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินจากบุคคลภายนอกต้องมีคำสั่งศาล เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้อำนาจสั่งอายัดเองไม่ได้
การอายัดให้บุคคลภายนอกชำระเงินแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 311 เสียก่อน คดีนี้เจ้าหนี้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินให้โดยมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัด ดังนั้นเมื่อบริษัทช. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ยอมชำระเงินตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ต้องขอให้ศาลออกหมายอายัดให้จึงจะชอบ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ดำเนินการให้ศาลออกหมายอายัดดังกล่าว และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ช. ไปแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงจะรายงานศาลให้ออกหมายบังคับคดีแก่บริษัท ช. หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีรองจ่าศาล และผลสมบูรณ์ของการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นตั้งให้จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีรองจ่าศาลจะมีอำนาจบังคับคดีแทนหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) บัญญัติว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี หมายความว่า เจ้าพนักงานศาลหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างการพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง รองจ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นตำแหน่งรองจากจ่าศาล จึงมีอำนาจบังคับคดีได้ และแม้หมายบังคับคดีจะระบุให้จ่าศาลเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีก็หาใช่ว่าจะต้องเป็นอำนาจโดยเฉพาะเจาะจงของจ่าศาลแต่ผู้เดียวไม่ จ่าศาลย่อมมอบอำนาจให้รองจ่าศาลซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาดำเนินการแทนได้ ดังนั้น เมื่อจ่าศาลได้มอบให้รองจ่าศาลเป็นผู้ดำเนินการแทน รองจ่าศาลจึงมีอำนาจบังคับคดีได้ การขายทอดตลาดที่ดินตามคำสั่งของศาล เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่โจทก์ผู้ซื้อแล้ว ต้องถือว่าการขายทอดตลาดเป็นอันสมบูรณ์แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนการโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามส่วนการจะให้จำเลยซื้อที่ดินคืนหรือไม่ยอมเป็นสิทธิของโจทก์จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยไถ่คืนที่ดินและเพิกถอนการขายทอดตลาดที่เสร็จบริบูรณ์ไปแล้วนั้นไม่ได้
of 2