คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจศาลทหาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมทหาร-พลเรือน ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากมีผู้กระทำผิดเป็นพลเรือน
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 14 (1)จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตาม ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4147/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีความผิดร่วมระหว่างทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนยังมีอำนาจพิจารณาได้ตามเงื่อนไข
กรณีที่ทหารกับพลเรือนกระทำผิดด้วยกันเป็นคดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน ย่อมไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 14(1) จึงต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดร่วมกับพวกอีก 3 คน ซึ่งเป็นพลเรือน และขณะฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารอันจะ ทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งประทับฟ้องไว้แล้ว ถึงแม้จะปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลชั้นต้นก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5318/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แต่มีพวกที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
แม้จำเลยจะเพิ่งยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างในชั้นฎีกาว่า ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยจะต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร แต่เมื่อปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นนายทหารประทวนมียศสิบเอก เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(3) และโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวแม้จะมีพวกของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่าอยู่นอกอำนาจศาลทหาร โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยต่อศาลทหาร ปัญหานี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังหลบหนี โดยไม่ได้ระบุว่าพวกของจำเลยเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยไม่เคยโต้แย้งว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร จำเลยอ้างในฎีกาเพียงว่า ไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่นอกอำนาจศาลทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารซึ่งเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยปราศจากหลักฐาน รับฟังไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็จะถือว่าพวกของจำเลยอยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยซึ่งอยู่ในอำนาจศาลทหารกับพวกของจำเลยที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน อันเป็นคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯ มาตรา 14(1) ศาลแขวงดุสิตซึ่งเป็นศาลพลเรือนจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างยศทหารและอำนาจศาล
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งมีอาชีพรับราชการทหารกับพวกคือสิบเอก ส.ร่วมกันกระทำผิดฆ่าผู้ตาย ผู้ตายได้ใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.ถึงแก่ความตาย ก็ยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าตามฟ้องสิบเอก ส.เป็นนายทหารประทวนประจำการ เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (3) เพราะยศทหารมิได้ใช้เฉพาะทหารประจำการเท่านั้น และการที่ผู้ตายใช้อาวุธปืนยิงสิบเอก ส.อาจเป็นการป้องกันโดยชอบไม่มีความผิดก็ได้ จึงถือว่าผู้ตายกระทำผิดด้วยกันกับจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้ต่อมาโจทก์นำสืบได้ความว่าขณะถูกโจทก์กล่าวหาว่ากระทำผิด สิบเอก ส.รับราชการทหาร เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังจากเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 15 วรรคสอง ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ แม้โจทก์จะมิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับสิบเอก ส.ขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องอำนาจศาลซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่ง เป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งต่อศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จเป็นพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่ง
การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งมาฟ้องเป็นคดีอาญา หาใช่เป็นคดีเกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่ แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีอาญาเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ และจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 ดังนี้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้รับคดีไว้พิจารณาหมายความว่าให้รับคดีนี้ไว้ไต่สวนมูลฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 162(1) ยังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นประทับฟ้อง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้น จะถือว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาหาได้ไม่.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: คดีเบิกความเท็จของทหาร ไม่เกี่ยวพันกับคดีแพ่งเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายทหารเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลพลเรือน การที่โจทก์นำคำเบิกความของจำเลยทั้งสองมาฟ้องคดีนี้ หาใช่คดีนี้เกี่ยวพันกับคดีแพ่งดังกล่าวไม่แต่เป็นเพียงนำคำเบิกความดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงในคดีนี้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการและจำเลยที่ 2 เป็นนายทหารประทวนประจำการ จำเลยทั้งสองจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 16(1) และ (3) ตามลำดับ ทั้งเป็นคดีที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 14 คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร โดยดูสถานะ ณ วันกระทำผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13, 16 (3) กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่า จำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร และผลต่อการพิจารณาของศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13,16(3)กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่าจำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาที่จำเลยเป็นทหาร แม้ฟ้องต่อศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 15 วรรคสอง หมายความว่าขณะที่ศาลพลเรือนสั่งรับประทับฟ้องของโจทก์ ความยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ต่อมาเมื่อศาลพลเรือนได้สั่งรับประทับฟ้องไว้แล้วความจึงปรากฏในภายหลังว่าจำเลยเป็นทหารประจำการ ดังนี้ ศาลพลเรือนย่อมดำเนินการพิจารณาต่อไปได้เท่านั้น หาได้หมายความว่าคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หากยื่นฟ้องต่อศาลพลเรือนแล้วศาลพลเรือนจะรับไว้พิจารณาพิพากษาหรือไม่ก็ได้
การที่โจทก์นำคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมายื่นฟ้องยังศาลพลเรือนศาลพลเรือนไม่จำต้องสั่งไม่รับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง (อาจสั่งหลังจากไต่สวนมูลฟ้องแล้วก็ได้)
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 เป็นความผิดในทางอาญาอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเป็นทหารประจำการจึงเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
of 3