คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจโจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่าย-อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนกระทำผิด ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย บิดาไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็ว และต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นการขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนตำแหน่งหัวหน้างานเนื่องจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน: อำนาจโจทก์และข้อจำกัดทางกฎหมาย
ผู้กล่าวหาทั้งสี่เป็นลูกจ้างตำแหน่งระดับหัวหน้ามีอำนาจในการลงโทษผู้ใต้บังคับบัญชาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ผู้กล่าวหาทั้งสี่จึงเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 95 วรรคสอง แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์ไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีอำนาจเพิกถอนตำแหน่งระดับหัวหน้าของลูกจ้างในกรณีเช่นนี้ และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้อำนาจโจทก์จึงเพิกถอนตำแหน่งของผู้กล่าวหาทั้งสี่โดยอาศัยเหตุที่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับว่าเช่าอาคารจากโจทก์แล้ว แต่โต้แย้งอำนาจโจทก์ในการให้เช่าและฟ้องร้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่และข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์
จำเลยรับว่าได้เช่าอาคารพิพาทจากโจทก์แล้ว จำเลยจะกลับมาเถียงสิทธิของโจทก์ผู้ให้เช่าว่าไม่มีอำนาจให้เช่าและไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยก็ต้องออกไปจากอาคารพิพาท
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากอาคารที่เช่า จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยทำสัญญาเช่าโดยถูกโจทก์หลอกลวงเท่านั้น จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม นิติกรรมจึงเป็นโมฆะ ที่จำเลยฎีกาประเด็นดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากอาคารพิพาทซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องให้เช่าได้เดือนละ 150 บาท และเรียกค่าตอบแทน 214,000 บาท กำหนดเวลาเช่า 10 ปี เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยมาด้วยกัน ดังนี้ ค่าเสียหายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลย เมื่อคิดเฉลี่ยค่าเช่าแล้วไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท ที่จำเลยอุทธรณ์เรื่องค่าเสียหายว่ามีเพียงใด เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่ามิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องหลังศาลประทับรับฟ้องและนัดสืบพยาน: อำนาจและข้อจำกัด
ฟ้องไม่ระบุที่เกิดเหตุ ศาลประทับฟ้องและถามคำให้การจำเลยนัดสืบพยานโจทก์แล้ว เลยเวลาที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161 โจทก์มีอำนาจขอแก้ฟ้องตามมาตรา 163 แต่โจทก์มิได้ขอแก้อ้างว่าพลั้งเผลอศาลยกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอสินบนนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร และการริบของกลางที่ไม่ใช่ของต้องห้าม
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลได้โดยให้จ่ายราคาของกลางหรือค่าปรับแตกต่างกับพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีความผิดเป็นผู้เสียเงินค่าสินบนนำจับ มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการขอแทนได้ พนักงานอัยการหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิในเงินสินบนนั้น และพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ได้บัญญัติทับพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในเรื่องเงินสินบนนำจับนั้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอเงินสินบนนำจับแทนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1043/2492 และ 1933/2492)
จำเลยกระทำความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสิ่งของที่ประกาศควบคุม เมื่อของกลางมิใช่สิ่งของที่ห้ามการค้ากำไรเกินควร จึงริบสิ่งของนั้นตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 198/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: อำนาจโจทก์และผลกระทบต่อจำเลย – สถานที่เกิดเหตุเป็นรายละเอียดที่แก้ไขได้
คดีที่โจทก์ระบุสถานที่เกิดเหตุมาในฟ้องผิดตำบล. ต่อมาก่อนที่จะเสร็จการสืบพยานจำเลย โจทก์จึงยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องให้ตรงกับความเป็นจริง. ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำความผิดเป็นรายละเอียดซึ่งจะต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158. ฉะนั้น จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามสัญญา และอำนาจโจทก์
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้องหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่ เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499)
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่ ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้ (อ้างฎีกาที่ 701/2498)
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492)
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้ จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ เป็นการผิดนัด ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จำเลยที่เข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าโดยไม่สุจริต และอำนาจโจทก์ในการขอให้ผู้ให้เช่าเข้าร่วมเป็นโจทก์
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวาง โจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีถูกยกฟ้องเพราะอำนาจโจทก์/ศาลทหาร ไม่ใช่เนื้อหาความผิด โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนศาลยกฟ้องเพราะหมายโจทก์ลงชื่อเป็นโจทก์โดยลำพังโดยไม่มีอำนาจ ทั้งข้อหาก็อยู่ในอำนาจศาลทหาร โดยไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดี การยกฟ้องจึงหาใช่เพราะศาลได้พิจารณาถึงเนื้อหาในความผิดที่ได้ฟ้องไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ อ้างฎีกาที่ 1301/2503
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องซ้ำ ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาตามรูปคดี ดังนี้ จำเลยย่อมฎีกาว่าคดีเป็นฟ้องซ้ำ ไม่ควรพิจารณาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828-1829/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจโจทก์ฟ้องอาญา, การวิวาทต่อเนื่อง, การลดโทษฐานยั่วโทสะ, และการยกฟ้อง
ทำร้ายกันในขณะทำการวิวาทยังไม่ขาดตอน ต้องถือว่าเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน กรณีย์วิวาทกัน ผู้ที่วิวาทกันไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงเป็นโจทก์ฟ้องไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม.244,60, ให้จำคุก 10 ปี ลดตามมาตรา 59 เสีย 1 ใน 3 คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยทำผิดโดยถูกยั่วโทษะ จึงแก้ให้ลดโทษตามม.55 กึ่งหนึ่ง เช่นนี้เป็นการแก้มาก คู่ความย่อมฎีกา เช่นนี้เป็นการแก้มาก คู่ความย่อมฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีที่ศาลพิจารณารวมกัน มีอุทธรณ์ขึ้นมาฉะเพาะคดีเดี่ยว คู่ความในคดีที่ไม่ได้อุทธรณ์จะมาฎีกาในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะคดีนั้นถึ่งที่สุดแล้ว
คดีที่มีการพิจารณารวมกัน ศาลลงโทษบทหนักตามฟ้องคดีหนึ่งมีอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาฉะเพาะคดีทีศาลลงโทษบทหนักนี้ คดีที่ไม่มีอุทธรณ์ฎีกาก็เป็นอันยุติ เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดในคดีที่ฎีกาขึ้นมา ศาลก็พิพากษายกฟ้อง ปล่อยจำเลยไป
of 2