คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำเภอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดคดี
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมี พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534มาตรา 62 วรรคสาม และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4 (1) และ ข้อ 5 (1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ(อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8945/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องสอดของหน่วยงานราชการ: อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจร้องสอดได้
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มิได้กำหนดให้อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคลอย่างเช่นจังหวัด แม้จะมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 มาตรา 122 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสามและระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2515 ข้อ 4(1) และ ข้อ 5(1) กำหนดให้นายอำเภอหรือกรมการอำเภอมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์ก็ไม่เกี่ยวกับผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นส่วนราชการ (อำเภอ) และไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผู้ร้องสอดจึงไม่มีอำนาจร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 คดีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องสอดฎีกาขึ้นมาอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การเปลี่ยนแปลงฐานะกิ่งอำเภอเป็นอำเภอ ไม่กระทบเขตอำนาจศาลเดิม เว้นแต่มีบัญญัติเปลี่ยนแปลงไว้โดยชัดแจ้ง
พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลแขวง พ.ศ.2517 บัญญัติให้ศาลแขวงชลบุรีมีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่อำเภอบ้านบึง จึงมีเขตอำนาจรวมถึงกิ่งอำเภอหนองใหญ่ซึ่งเป็นท้องที่ส่วนหนึ่งของอำเภอบ้านบึงในขณะนั้น แม้ต่อมาจะมีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ฯลฯ พ.ศ.2524 ให้ตั้งกิ่งอำเภอหนองใหญ่เป็นอำเภอหนองใหญ่ก็ตาม แต่พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหนองใหญ่ฯลฯพ.ศ.2524 มิได้บัญญัติไว้ว่าบรรดาคดีของท้องที่กิ่งอำเภอหนองใหญ่ที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลแขวงชลบุรีก่อนตั้งอำเภอหนองใหญ่จะให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลใดอำเภอหนองใหญ่จึงยังคงอยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงชลบุรีดังเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าเขตอำนาจของศาลแขวงชลบุรีไม่คลุมถึงอำเภอหนองใหญ่ ให้ศาลจังหวัดชลบุรีประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา และศาลจังหวัดชลบุรีได้สั่งประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาและพิพากษาคดีไปแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าศาลจังหวัดชลบุรีใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 14(2) แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้ไม่ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ – การแจ้งข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อเจ้าพนักงาน – ไม่มีเจตนา – ผลของการแจ้งความชั้นอำเภอ
กระทรวงเศรษฐการรับซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อพยุงราคาได้ขอความร่วมมือมายังจังหวัด จังหวัดแจ้งมายังอำเภอเพื่อให้ตรวจสอบรับรองว่าผู้ที่จะขายข้าวเป็นชาวนาทำนาและขายข้าวที่ทำได้เอง จำเลยเป็นประธานกลุ่มชาวนา ได้รวบรวมรายชื่อสมาชิกที่จะขายข้าวและจำนวนข้าวที่จะขายกรอกแบบพิมพ์ยื่นต่อเจ้าหน้าที่เกษตรกรรมอำเภอ อันเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเมื่อจำเลยมิได้ปลอมลายมือชื่อของสมาชิกคนใดและไม่อาจรู้ว่าลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแบบพิมพ์แล้วเสนอนายอำเภอ นายอำเภอตรวจแล้วเห็นว่าถูกต้อง จึงออกหนังสือรับรองให้มีสมาชิก 3 คนไม่ยอมเฉลี่ยออกค่าใช้จ่ายในการนำข้าวไปขาย จำเลยเอาข้าวของ 3 คนนั้นไปขายไม่ได้ จึงเอาข้าวของสมาชิกอื่นที่ไม่ได้ลงชื่อไปขายเพื่อให้ครบแต่การนำข้าวไปขายต่อคณะกรรมการสำรองข้าวนี้เป็นเพียงผลแห่งการแจ้งข้อความชั้นอำเภอมิได้มีการแจ้งข้อความอย่างใดต่อเจ้าพนักงานชั้นคณะกรรมการสำรองข้าวอีก จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จเช่นเดียวกัน
เรื่องเจตนาทุจริตไม่ใช่องค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, อำนาจอำเภอ, การระงับข้อพิพาท
(1) สัญญาใดที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์จะระงับข้อพิพาทโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือ โจทก์ยอมถอนฟ้องคดีซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล กับทั้งจะไม่เรียกร้องเกี่ยวข้องด้วยทรัพย์สินใดๆ ของจำเลยต่อไป และฝ่ายจำเลยก็ยอมให้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งเป็นการตอบแทนสัญญานั้นย่อมเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (2) คดีที่ฟ้องร้องอยู่ในศาลแล้ว ไม่จำเป็นที่คู่กรณีจะต้องทำสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) นั้น แต่เฉพาะในศาลเท่านั้น อาจจะทำกันนอกศาลก็ได้ ขอแต่ให้ถูกต้องตามแบบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 (3) สัญญาประนีประนอมยอมความตามที่กล่าวในข้อ (1)(2)นั้น แม้จะเกี่ยวด้วยทรัพย์ราคามากกว่า 200 บาท ซึ่งเกินจำนวนราคาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 108 ก็ตาม แต่อำเภอย่อมมีอำนาจทำให้ได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว มาตรา 87 ถ้าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้อำเภอทำ ส่วนตามมาตรา108 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจกรมการอำเภอหมายเรียกคู่กรณีมาเปรียบเทียบ (4) ผลของสัญญาดังกล่าวในข้อ (1) ถึง (3) ย่อมทำให้การเรียกร้องที่โจทก์ได้ยอมสละไว้สิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และสิทธิดำเนินคดีต่อไปย่อมระงับหมดสิ้นลง แม้จำเลยไม่ฟ้องแย้งให้ถอนฟ้องศาลก็พิพากษายกฟ้องได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความตามคำเปรียบเทียบของอำเภอมีผลผูกพัน
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยตามคำเปรียบเทียบของอำเภอที่ท้ากันว่า ถ้านายฮิ้วผู้ใหญ่บ้านมาชี้ขาดว่าทางพิพาทใช้เดินมาก่อนนายขำจับจองแล้ว จำเลยยอมเว้นทางเดินให้ 2 วา ถ้าหากเดินหลังนายขำจับจองแล้ว โจทก์จะไม่ขอเดินและเกี่ยวข้องต่อไปซึ่งต่อมานายฮิ้วผู้ใหญ่บ้านได้มาให้ถ้อยคำชี้ขาดที่อำเภอว่าทางนี้ใช้เดินมาก่อนนายขำจับจองจริงข้อตกลงนี้เป็นข้อตกลงเพื่อระงับข้อพิพาท จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ท้องที่' ในประกาศควบคุมการค้า: การขนย้ายภายในอำเภอไม่ถือเป็นการฝ่าฝืน
คำว่า "ท้องที่" ในม.8 (6) หมายความถึงเขตท้องที่แห่งการปกครองอันได้แบ่งไว้แล้วอย่างแจ้งชัด เช่น จังหวัด, ตำบล, อำเภอ, หมู่บ้าน
เมื่อประกาศคณะกรรมการฯ ระบุห้ามการขนย้ายเพียงเขตอำเภอ แม้จำเลยขนย้ายข้ามเขตตำบล แต่อยู่ในอำเภอเดียวกัน ก็ไม่เป็นผิดตามประกาศฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งเปลี่ยนชื่อต่ออำเภอ: ถือว่าแจ้งแล้วหากอำเภอทราบเรื่องทั้งหมด
การที่อำเภอท้องที่ที่ผู้แจ้งขึ้นทะเบียนทหารและจำเลยที่แจ้งให้ผู้นั้นทราบว่าทางราชการอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นแห่งเดียวกันและรับรู้เรื่องอยู่โดยตลอดแล้ว ก็ชอบที่จะดำเนินการแก้หนังสือสำคัญประจำตัวกับบัญชีหรือทะเบียนทหารได้เองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องให้ผู้นั้นไปย้อนแจ้งการเปลี่ยนชื่ออีก ย่อมถือได้เสมือนหนึ่งว่าผู้นั้นได้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อไปแจ้งแก่นายอำเภอท้องที่ทราบอยู่ในตัวแล้ว ผู้นั้นจึงหาควรมีผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกการเปรียบเทียบทางอำเภอเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากจำเลยรับสภาพหนี้ในเอกสาร
คำรับสภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตาม ่ป.พ.พ. ม.653.
(เทียบฎีกาที่ 865/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1567/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกเปรียบเทียบอำเภอเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากจำเลยรับสภาพหนี้ชัดเจน
คำรับสภาพหนี้ในบันทึกการเปรียบเทียบของอำเภอซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อไว้ เป็นหลักฐานแสดงการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 (เทียบฎีกาที่ 865/2493)
of 3