พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ความรับผิดของนายจ้าง, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าเสียความสามารถ และความเสียหายทางจิตใจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองในทางการที่จ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2), 1087
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 อายุ 14 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต่อไปย่อมสามารถประกอบอาชีพการงานมีรายได้เช่นคนปกติทั่วไป หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 มีอาการไม่รู้สึกตัวสมองบวม กะโหลกศีรษะยุบ เลือดออกใต้หนังศีรษะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต้องใช้เวลารักษานานอาจเป็นปี หลังผ่าตัดแล้วโจทก์ที่ 1 ยังมีอาการสมองไม่รับรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ต้องจ้างผู้ดูแลตลอดเวลาทั้งไม่ปรากฏว่าจะสามารถรักษาให้โจทก์ที่ 1 หายเป็นปกติไว้ ปัจจุบันโจทก์ที่ 1 ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้เช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่อไปได้โดยสิ้นเชิง โจทก์ที่ 1 จึงได้รับความเสียหาย โดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีอาชีพแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ต้องทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดและทุพลภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ไปตลอดชีวิต ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 เสียความสามารถในการประกอบการงานเป็นเงิน 500,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินเป็นเงิน 500,000 บาท เหมาะสมแล้ว
การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ขณะเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 อายุ 14 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งต่อไปย่อมสามารถประกอบอาชีพการงานมีรายได้เช่นคนปกติทั่วไป หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 มีอาการไม่รู้สึกตัวสมองบวม กะโหลกศีรษะยุบ เลือดออกใต้หนังศีรษะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลก ต้องใช้เวลารักษานานอาจเป็นปี หลังผ่าตัดแล้วโจทก์ที่ 1 ยังมีอาการสมองไม่รับรู้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ต้องจ้างผู้ดูแลตลอดเวลาทั้งไม่ปรากฏว่าจะสามารถรักษาให้โจทก์ที่ 1 หายเป็นปกติไว้ ปัจจุบันโจทก์ที่ 1 ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้เช่นนี้ ย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 สูญเสียความสามารถที่จะประกอบอาชีพต่อไปได้โดยสิ้นเชิง โจทก์ที่ 1 จึงได้รับความเสียหาย โดยไม่คำนึงว่าจะต้องมีอาชีพแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ต้องทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดและทุพลภาพไม่สามารถช่วยตัวเองได้ไปตลอดชีวิต ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 1 เสียความสามารถในการประกอบการงานเป็นเงิน 500,000 บาท และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินเป็นเงิน 500,000 บาท เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เจ้าของรถที่ก่อเหตุไม่มีประกัน vs. ผู้ประสบภัย
เจ้าของรถที่จะต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 26 นั้น หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23 (1) ไว้เท่านั้น จำเลยเป็นเพียงผู้ประสบภัยอันเกิดจากรถคันอื่น จึงไม่ใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามนัยแห่ง มาตรา 23 (1) จำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: จำเลยประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายไม่มีส่วนประมาท
แม้ขณะก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายขับรถด้วยความเร็ว 70-80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ตาม หากรถที่จำเลยขับไม่เสียหลักมาขวางถนนในช่องทางเดินรถของผู้ตายในระยะกระชั้นชิด เหตุเฉี่ยวชนคงจะไม่เกิดขึ้นดังปรากฏตามแผนที่เกิดเหตุแสดงให้เห็นว่าผู้ตายขับรถด้วยความระมัดระวังอย่างดีแล้วและได้พยายามหักหลบไปทางซ้าย แต่ไม่สามารถหลบได้พ้นรถเทรลเลอร์ที่จำเลยขับ พร้อมส่วนพ่วงมีความยาวทั้งหมด 11 ถึง 12 เมตร มีน้ำหนักมากทั้งสภาพเป็นทางขึ้นเนินหากจำเลยขับรถด้วยความเร็วประมาณ 30 ถึง 40กิโลเมตรต่อชั่วโมงอาจจะไม่สามารถขึ้นเนินได้ เชื่อได้ว่าจำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูง เมื่อห้ามล้อกะทันหันจึงเสียหลักขวางถนนเข้าไปในช่องทางเดินรถของผู้ตาย เหตุที่รถยนต์ทั้งสองคันเฉี่ยวชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยแต่เพียงฝ่ายเดียว ผู้ตายมิได้มีส่วนร่วมประมาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำเลยไม่มีความผิดฐานไม่ให้ความช่วยเหลือ
จำเลยขับรถบรรทุกคนโดยสารโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ตกลงจากรถจักรยานยนต์แล้วถูกรถของจำเลยแล่นทับถึงแก่ความตายทันทีตรงที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุจำเลยได้แสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และมอบใบสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจจราจรกับบัตรประจำตัวประชาชนแก่เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวตรงที่เกิดเหตุ ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจได้ควบคุมตัวจำเลยไว้ ต่อมาจำเลยขออนุญาตเจ้าพนักงานตำรวจไปโทรศัพท์แล้วหลบหนีไป เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยสะบัดมือแล้วหลบหนีไปทันที รูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นแล้วไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร และแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ประมาทเลินเล่อของผู้ขับและนายจ้าง, การยกเว้นความรับผิดของประกันภัย
ปัญหาว่าเหตุรถชนเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่ายเดียวหรือเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนประมาทเลินเล่อมากกว่าจำเลยที่ 1ซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้นั้น จำเลยที่ 3 ได้ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแม้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 3 จะไม่ได้อุทธรณ์เพราะจำเลยที่ 3 ชนะคดีในศาลชั้นต้นแต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิด จำเลยที่ 3 ก็ยกปัญหาข้อนี้ต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิด ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้อุทธรณ์จึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้ เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
เจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงติดตามจับกุมจำเลยที่ 1 ที่ขับรถฝ่าฝืนกฎจราจร จำเลยที่ 1 กลับขับรถส่ายไปมาและยกกระบะท้ายรถให้หินเกล็ดที่บรรทุกร่วงหล่นลงมากีดขวางเส้นทางจราจรเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงขับแซงรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับไปได้ครึ่งคัน จำเลยที่ 1 ก็หักรถเข้ามาชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเป็นเหตุให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงเสียหลักขวางถนน จึงถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับชนซ้ำอีกครั้งทำให้รถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงตกลงไปในคลอง ดังนี้ เหตุรถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ชนเป็นเวลาที่อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 ขับรถหลบหนีเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างประสงค์ แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญาในข้อหาต่าง ๆ ด้วย ก็เป็นการกระทำความผิดในทางอาญาโดยลำพังส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในทางแพ่งที่จำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทเลินเล่อขับรถชนรถยนต์วิทยุตำรวจทางหลวงจนได้รับความเสียหายนั้นยังเป็นการกระทำที่อยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
รถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันคันเกิดเหตุขณะเกิดเหตุได้ทำการบรรทุกหินไปตามถนน โดยไม่ปรากฏว่าใช้รถยนต์ดังกล่าวบรรทุกสิ่งของใด ๆ ที่ผิดกฎหมายหรือจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้รถยนต์คันดังกล่าวกระทำผิดกฎหมาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขับจะขับรถผิดกฎจราจรและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่อันเป็นความผิดอาญา ก็เป็นการกระทำต่างหากจากการใช้รถยนต์บรรทุกหินโดยชอบ และเหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์บรรทุกดังกล่าวโดยลำพังถือไม่ได้ว่าการใช้รถยนต์คันเกิดเหตุเป็นการใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ตามที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709-4710/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: เพลิงไหม้หลังชนเกิดจากความประมาทผู้ขับขี่, การประเมินค่าเสียหาย
รถยนต์ของโจทก์ที่2เกิดเพลิงไหม้หลังจากถูกนำมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพียงระยะเวลาไม่ถึง1ชั่วโมงหลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกันก็ตามแต่นับจากขณะเกิดเหตุจนถึงรถยนต์คันเกิดเหตุเกิดเพลิงไหม้ก็ยังไม่เกิน1ชั่วโมงซึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆสำหรับการลากจูงรถยนต์ของโจทก์ที่2มาเก็บไว้ที่สถานีตำรวจก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการลากจูงที่ผิดต่อระเบียบเจ้าพนักงานประการใดทั้งก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่มีการเปิดฝากระโปรงหน้ารถยนต์ของโจทก์ที่2แสดงให้เห็นว่าก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ไม่มีผู้ใดแตะต้องเครื่องยนต์ของรถยนต์ของโจทก์ที่2ทั้งตลอดเวลาที่ทำการลากจูงซึ่งรถต้องเคลื่อนไหวดังนั้นไม่ว่าจะมีการถอดขั้วแบตเตอรี่รถยนต์ของโจทก์ที่2ก่อนลากจูงหรือไม่ก็ตามการลากจูงรถยนต์เช่นนั้นจึงมิใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ตัวรถตามพฤติการณ์ดังกล่าวย่อมฟังได้ว่าเหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติของเจ้าพนักงานตำรวจแต่เกิดจากระบบของเครื่องยนต์และสายไฟฟ้าในรถได้รับอุบัติเหตุจากรถชนกันอย่างรุนแรงเหตุเพลิงไหม้รถยนต์ของโจทก์ที่2จึงเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของลูกจ้างจำเลยที่1ที่ขับรถยนต์โดยสารชนรถยนต์ของโจทก์ที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยเรียกค่าเสียหายทั้งหมดรวมกันมาเป็นจำนวน 247,600 บาท แม้ค่าเสียหายที่เป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ ค่าเสื่อมราคาและค่าปลงศพ มีจำนวนรวม 37,600 บาท จะเป็นหนี้ที่โจทก์ทั้งสองมีสิทธิร่วมกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกเป็นหนี้ ของโจทก์แต่ละคนได้ แต่ในส่วนค่าขาดไร้อุปการะที่โจทก์ทั้งสองเรียกรวมกันมาจำนวน 210,000 บาท เป็นหนี้ที่สามารถแบ่งแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน โดยโจทก์ทั้งสองสามารถฟ้องเรียกเฉพาะส่วนของตนโดยลำพังได้ ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาจึงต้องถือตามจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสาม เมื่อปรากฏว่าค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์แต่ละคนมีจำนวนใกล้เคียงกัน และเมื่อแบ่งแยกค่าเสียหายส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสองคนละครึ่งและนำไปรวมกับค่าเสียหายส่วนอื่นแล้ว ทุนทรัพย์พิพาทชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยทั้งสามในปัญหาว่าเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นความประมาทของจำเลยที่ 1หรือไม่และจำนวนค่าเสียหายมีเพียงใดซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์ที่ 1 ได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการที่ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาในข้อหาความผิดต่อชีวิตและความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ดังนี้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2แม้มิได้เป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวแต่ก็ต้องถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทนโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นมารดาว. ผู้ตายในคดีอาญาดังกล่าว ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ด้วยเช่นกัน เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ซึ่งโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว และเมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดดังกล่าวที่จำเลยทั้งสามอ้างอิงเป็นหลักฐานมาตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์และในชั้นฎีกา เมื่อคำแก้ฎีกาของโจทก์ทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าเอกสารท้ายฎีกาไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่า จำเลยที่ 1ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทจำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
รถยนต์คันที่ ส.ขับมีผู้ตายทั้งสองนั่งโดยสารมาด้วย ส.ขับรถชนท้ายรถบรรทุกห้องเย็นอย่างแรง แล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนัก ก.และท.ที่นั่งโดยสารมากับรถจำเลยในที่นั่งตอนหน้าได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย การที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก.และ ท.กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย เช่นนี้ ย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย แต่น่าจะเป็นผลโดยตรงมาจากการที่ ส.ขับรถชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นมากกว่า จำเลยจึงไม่มีความผิดตามป.อ. มาตรา 291 แต่มีความผิดตามมาตรา 390
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างการกระทำประมาทกับความตาย
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์นั่งสองแถวส่วนบุคคลหมายเลขทะเบียนม-3837สมุทรสาคร ส. เป็นผู้ขับ พ. กับ ด.เป็นผู้โดยสารแต่ตามเอกสารประกอบท้ายฟ้องซึ่งเป็นรายงานการชันสูตรพลิกศพระบุว่า พ. เป็นผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าว ส. กับ ด.นั่งมาในรถนั้นแม้ชื่อผู้ขับจะไม่ตรงกับที่ปรากฏในรายงานการชันสูตรพลิกศพแต่โจทก์ก็ได้ระบุลักษณะและหมายเลขทะเบียนรถไว้แล้วถือได้ว่ามีรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนใครจะเป็นผู้ขับขี่ที่แท้จริงโจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาจึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยขับรถมาด้วยความเร็วสูงโดยประมาทน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินไม่ขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัยในเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถดังนั้นไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์นำสืบหรือตามที่จำเลยนำสืบก็ยังได้ชื่อว่าจำเลยมีส่วนประมาทอยู่นั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ทั้งสามคันแสดงให้เห็นว่ารถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอย่างแรงแล้วจึงถูกรถจำเลยชนท้ายไม่รุนแรงนักทั้งปรากฏว่ามีรอยเบรกรถจำเลยยาวถึง12เมตรแสดงว่าขณะรถจำเลยชนท้ายรถ ส.น่าจะเป็นเพียงการลื่นไถลหลังจากที่จำเลยใช้ห้ามล้อยาวถึง12เมตรแล้วแรงชนจากรถจำเลยจึงไม่มากนักมีผลเพียงทำให้ ก. และ ท.ซึ่งนั่งอยู่หน้ารถจำเลยได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยดังนั้นการที่ผู้ตายทั้งสองซึ่งนั่งอยู่หน้ารถ ส. อยู่ห่างไกลจุดชนมากกว่า ก.และ ท. กลับได้รับอันตรายถึงแก่ความตายเช่นนี้แม้จำเลยจะมิได้ขับรถมาชนท้ายรถ ส. ผู้ตายทั้งสองก็ถึงแก่ความตายเนื่องจากรถ ส. ชนท้ายรถยนต์บรรทุกห้องเย็นอยู่นั่นเองย่อมแสดงว่าความตายของผู้ตายทั้งสองมิใช่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายทั้งสองถึงแก่ความตายคงมีความผิดเพียงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ ก. และ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของเจ้าของรถ, ห้างหุ้นส่วน, และผู้จัดการ
เดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1และที่2ร่วมกันหรือจำเลยที่1เชิดจำเลยที่2ออกแสดงเป็นตัวแทนจ้างจำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งมีป้ายชื่อ"โรงสีชัยเจริญ4"อันเป็นชื่อกิจการค้าโรงสีซึ่งจำเลยที่1และที่2มีผลประโยชน์ร่วมกันติดอยู่ที่หลังคาหน้ารถโดยเปิดเผยการที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มข้อความว่าโรงสีชัยเจริญ4 เป็นโรงสีข้าวในกิจการของห้างหุ้นส่วนโรงสีไฟชัยเจริญซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดพิจิตรซึ่งจำเลยที่1และที่2เป็นหุ้นส่วนโดยจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเข้าไปนั้นข้อความที่ขอแก้ไขเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมทั้งโจทก์ขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานเป็นกรณีที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา179และมาตรา180โจทก์จึงมีสิทธิแก้ไขคำฟ้องได้ ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องพิการและทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา446 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุและจำเลยที่1กับห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญร่วมกันประกอบการขนส่งเพื่อหาผลประโยชน์ร่วมกันจำเลยที่3เป็นลูกจ้างและกระทำละเมิดในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงสีไฟชัยเจริญ และจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)