พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์หลายครั้ง จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกันหรือไม่
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้ชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายซึ่งรายละเอียดแห่งข้อหาแต่ละข้อตามฟ้องเกิดต่างวันต่างเวลากันทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดเหตุแตกต่างกันการนำสืบพยานหลักฐานต่างๆย่อมไม่สะดวกต่อการพิจารณาของศาลและการที่รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยคันหนึ่งละเมิดชนรถยนต์โดยสารของโจทก์เสียหายมิได้หมายความว่ารถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้อีกคันหนึ่งจะต้องรับผิดต่อรถยนต์โดยสารของโจทก์คันอื่นด้วยดังนั้นข้อหาแต่ละอย่างตามฟ้องจึงมิได้เกี่ยวข้องกันแม้จะเป็นมูลหนี้เรียกค่าเสียหายมีลักษณะประเภทเดียวกันก็ตามโจทก์จะนำมารวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันหาได้ไม่ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, การมีอำนาจฟ้อง, และการประเมินค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่ากรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ช. มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนโจทก์ในการฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธินั้นเพื่อเรียกร้องเอาแก่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่ได้มอบอำนาจให้ช.ฟ้องคดีรวมไปถึงคดีนี้ด้วยโดยแจ้งชัดแล้วช. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ จำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกชนท้ายรถสามล้อเครื่องเป็นเหตุให้รถสามล้อเครื่องกระเด็นไปชนรถยนต์ของบริษัทง. แล้วรถยนต์ดังกล่าวไปชนกับท้ายรถยนต์โดยสารดังนี้แม้เหตุเป็นเพราะลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกก็ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะหากจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกได้ตรวจตราและดูแลรถยนต์บรรทุกประจำตามวิสัยของผู้มีอาชีพขับรถยนต์ก็ย่อมป้องกันไม่ให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกโดยกะทันหันได้จำเลยที่3จึงกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของบริษัทง. ได้รับความเสียหาย จำเลยที่3เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่1และที่2ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างแล้วหลังจากนั้นแม้จำเลยที่3จะทุจริตขับรถยนต์ไปธุระส่วนตัวแล้วไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นก็ตามก็เป็นเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ชอบแต่ในกรณีบุคคลภายนอกถือว่าเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1และที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่3ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่าย, การแบ่งความรับผิด, และค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อขับรถในเวลากลางคืนผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกของจำเลยที่1บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้างเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศที่จำเลยที่4ขับสวนทางมาจึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ด้วย จำเลยที่4ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูงเมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิมขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลงแต่จำเลยที่4ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่4เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่2รับผิด2ส่วนส่วนจำเลยที่4รับผิด1ส่วนนับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้เสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้ไม่ได้ฟ้องผู้เอาประกันภัย หากผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
ผู้เสียหายซึ่งเป็น บุคคลภายนอก สัญญาประกันภัย เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่3 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนให้รับผิดปรากฏว่าจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่3รับประกันภัยไว้โดย ได้รับ ความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์จึงต้องถือว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดเป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิดเอง ผู้รับประกันภัยจึง ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่1 ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887วรรคสองบัญญัติให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วยนั้นก็เป็นประโยชน์เพื่อจะได้พิจารณา ความรับผิดของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไปพร้อมกันถ้าผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วยจะมีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้นหาได้มีผลถึงกับทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ขอบเขตการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากแรงงานของลูกจ้าง
ส. เป็นเพียงลูกจ้างขับรถคันที่ถูกจำเลยกระทำละเมิดในกิจการรับขนสินค้าของโจทก์ ไม่มีความผูกพันตามกฎหมาย ที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ในครัวเรือนหรือ อุตสาหกรรมของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6629/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันในคดีละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีที่แนบมาท้ายฟ้อง แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตามแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดแห่งคำฟ้องเท่านั้น มิใช่สภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องอันจะต้องแสดงไว้โดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคหนึ่ง การที่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก โดยมิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าเป็นจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมแต่ประการใดไม่ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยซึ่งรับสิทธิจากเจ้าของรถผู้เอาประภันภัยฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดจำเลยที่ 2 เจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับ และจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวให้ร่วมกันรับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว และที่หนังสือมอบอำนาจระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 1กับพวก ก็ย่อมหมายถึงมอบอำนาจให้ฟ้องผู้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 คือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อตกลงว่าหากผู้เอารถไปใช้โดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันนี้ไปทำละเมิดต่อรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทางครอบครัวเพื่อสิทธิรับค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล/ค่าทำศัลยกรรม
เด็กชาย ฤ เป็นบุตรผู้ตายซึ่งเกิดจากโจทก์ที่ 1 ในขณะที่ผู้ตายและโจทก์ที่ 1 ยังไม่ได้สมรสกัน ต่อมาผู้ตายและโจทก์ที่ 1ได้สมรสกันแล้ว จึงต้องถือว่าเด็กชาย ฤ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547 กรณีเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะทำให้เขาถึงตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งได้แก่ค่าปลงศพ และค่าใช้จ่ายจำเป็นอื่น ๆ กับค่าใช้จ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444 ในกรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยนั้นแม้หน่วยราชการต้นสังกัดที่ผู้ตายทำงานอยู่ได้ทดรองจ่ายค่าปลงศพและค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้มีสิทธิรับไปแล้ว ก็หาทำให้ผู้กระทำละเมิดต่อผู้ตายพ้นความรับผิดไปไม่ โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดแผลฉีกขาดที่แก้มขวา เมื่อรักษาแผลหายแล้วจะมีรอยแผลเป็นที่แก้มขวาทำให้เสียโฉม จะทำให้หายได้ก็โดยทำศัลยกรรมตกแต่ง โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้จะยังไม่ได้ให้แพทย์ทำศัลยกรรมตกแต่งก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าขาดแรงงานจากผู้รับประกันภัยและผู้กระทำละเมิด
ประเด็นข้อพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยเมื่อเห็นสมควรศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาเหล่านั้นไปได้โดยไม่ต้องย้อนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยใหม่ ข. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับรถยนต์บรรทุกที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1และที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อไปชนรถยนต์ที่ ส.ขับทำให้ส.ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวไม่สามารถไปประกอบหน้าที่การงานให้โจทก์ได้ตามปกติ การกระทำละเมิดของ ช. ดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากแรงงานของ ส. ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินเดือนให้แก่ ส. ในระหว่างนั้น โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 ประกอบด้วยมาตรา 425 และ มาตรา 887 แม้จำเลยที่ 3 จะจ่ายค่าขาดประโยชน์แรงงานให้ ส. ไปแล้วและระหว่างที่ ส.พักรักษาตัวเนื่องจากถูกรถชนส. มีสิทธิลาป่วยได้ก็ตาม แต่ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ส.ที่จะฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากแรงงานจากจำเลยอีก โจทก์เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากรถยนต์บรรทุกที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนไว้ จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 โดยตรง เกิดเหตุละเมิดเมื่อเวลา 20 นาฬิกาเศษของวันศุกร์ ที่ 22กรกฎาคม 2526 ซึ่งเป็นช่วงนอกเวลาราชการ ที่จังหวัดนครสวรรค์ส. ได้รับบาดเจ็บมากคงไม่สามารถไปรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาทราบได้ในวันนั้นจึงเชื่อว่าโจทก์ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพมหานครคงไม่รู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวจำเลยที่ 2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันนั้น อย่างเร็วที่สุดโจทก์จะรู้ในวันเปิดทำการคือวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2526 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 23 กรกฎาคม 2527 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 โจทก์มิใช่ผู้ต้องเสียหายโดยตรง แต่เป็นเพียงนายจ้างที่ต้องขาดแรงงานไปเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดนับแต่เวลาที่ทำละเมิดและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่เมื่อใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้องคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ขับขี่ กรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ต่อเนื่อง
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างและผู้ขับรถของจำเลยที่ 3ไม่ได้เป็นผู้ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 3 ด้วยตนเองแต่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับขี่รถเพื่อนำไปเก็บ แม้จำเลยที่ 2 จะขับขี่ออกนอกเส้นทางหลังจากชนท้ายรถ ท. ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 ขับรถแทนตนและอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 และถือว่าขณะเกิดเหตุเป็นการกระทำของลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้นด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ขับรถเฉี่ยวชนท้ายรถของ ท. โดยประมาทเลินเล่อแล้วหลบหนีไป ท. ได้ขับรถติดตามจำเลยที่ 2 ไปในทันทีทันใดเพื่อเจรจาทำความตกลงในเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยที่ 2 ได้ก่อให้เกิดขึ้น แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถหนีไปติดสัญญาณไฟแดงไม่ยอมลงจากรถมาเจรจาด้วย และขับรถจะหลบหนีต่อไป ท. จึงกระโดดขึ้นไปเกาะรถที่จำเลยที่ 2 ขับทางด้านขวาของคนขับ จำเลยที่ 2 จึงขับรถโดยกระชากอย่างแรงเป็นเหตุให้ ท. ตกลงมาสู่พื้นถนนแล้วถูกรถที่จำเลยที่ 2 ขับทับถึงแก่ความตายนั้น เป็น เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากเหตุรถเฉี่ยวชนในตอนแรก ไม่อาจที่จะแยกการกระทำของจำเลยที่ 2 ออกจากกันได้ กรณีถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเกี่ยวเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ให้จำเลยที่ 2 ขับรถไปเก็บและอยู่ในทางการจ้าง ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ค่าป่วยเจ็บ ค่าเสื่อมเสียบุคลิกภาพ และทรัพย์สินสูญหาย
โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บสะบ้าหัวเข่าขวาแตก ได้รับอันตรายสาหัสนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลถึง 15 วัน และเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วยังต้องไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีกหลายเดือนจึงเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้นแต่ก็ยังไม่ปกติ ศาลกำหนดค่าป่วยเจ็บที่ต้องทนทุกข์ทรมานให้ 10,000 บาท หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้เข่าขวาได้ดีเหมือนเดิมนั่งพับเพียบไม่ได้ นั่งยอง ๆ ไม่ได้ ขาไม่มีกำลัง ไม่สามารถวิ่งและออกกำลังกายได้ เห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสื่อมเสียบุคคลิกภาพไปศาลกำหนดค่าเสียหายให้ 10,000 บาท นาฬิกาข้อมือของโจทก์ที่ 4 ขาดหายไปเนื่องจากเหตุรถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์ที่ 4 จำเลยต้องรับผิดชดใช้ราคาตามสภาพของนาฬิกานั้นให้โจทก์ที่ 4