คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวน-เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การปรับบทความผิดและหลักการลงโทษกรรมเดียว-หลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อม สภาพป่า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติและเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบริเวณเขาบรรทัด กับมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14,31และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535มาตรา 38,54 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายทั้งสามฉบับดังกล่าว อีกทั้งความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ก็มีโทษหนักกว่าความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่งด้วย ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทว่าความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติกับความผิดฐานตัดโค่นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นความผิดกรรมเดียวกันให้ลงโทษฐานตัดโค่นไม้ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯซึ่งเป็นบทหนักจึงไม่ถูกต้อง อีกทั้งความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้าม และมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองก็เป็นความผิดที่ผู้กระทำมีเจตนาต่างกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดยไม่แก้โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาเพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า และความผิดตามกฎหมาย
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่านพมดงรักฯ ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตรว์ป่า พ.ศ.2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลบักดอก อำเภอขุนหาญ และตำบลละลายตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุง อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3022/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาจากแนวเขตแผนที่ แม้ไม่ได้ระบุชื่อตำบลโดยตรง
แม้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าพนมดงรัก ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. 2521 มาตรา 3 จะกำหนดให้บริเวณ ที่ดินป่าพนมดงรักเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉพาะในท้องที่ตำบลโนนสูงตำบลบักดอกอำเภอขุนหาญ และตำบลละลา ตำบลบึงมะลูอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และมิได้ระบุชื่อตำบลรุงอำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษไว้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ต้องถือว่าบริเวณที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้วย การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินแผ้วถางทำลายต้นไม้พฤกษชาติอื่นและปลูกกระท่อมพักอาศัยโดยจำเลยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดตามโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: ตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ศาลตัดสินลงโทษฐานตัดไม้เป็นบทหนักสุด
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๑๑, ๔๘, ๗๓ แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๗๓ วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา ๗๓ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๐.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ลงโทษฐานหนักสุดตามกฎหมาย
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันแต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกันจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตาม มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. ป่าไม้พ.ศ. 2484 และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่ง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯและฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติ สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานตัดไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและบทหนักที่สุด
ความผิดฐานตัดฟันทำไม้ แปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 11,48,73 แม้จำเลยจะกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกัน แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ทันทีที่จำเลยเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง แต่การที่จำเลยเข้าไปตัดฟันทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดทั้งฐานตัดฟันทำไม้ตามมาตรา 73 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ และฐานตัดโค่นต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า ตามมาตรา24 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ กรณีทั้งสองเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานตัดฟันทำไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งขับไล่จากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องมีคำพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
เมื่อศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ ไม่ว่าที่พิพาทจะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งขับไล่ในคดีสัตว์ป่า: ต้องมีคำพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดตามกฎหมายก่อน
เมื่อศาลมิได้พิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 24แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2503 ศาลจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทได้ไม่ว่าที่พิพาทจะเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์หรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ vs. พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยนำไม้ซึ่งแปรรูปแล้วใส่กระบะพ่วงรถไถนาเดินตามออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 วรรคหนึ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 (5) ให้ความหมายว่าการนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ เป็นการทำไม้ ตามนิยามคำว่า "ทำไม้" ด้วยก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามด้วยนั้น มิได้บัญญัติให้การนำไม้ออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามฟ้อง เป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวดังเช่นที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันตัดหรือโค่นต้นไม้หรือพฤกษชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
of 2