พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่ารวมเงินกินเปล่าไม่เกินเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ไม่เป็นอุปสรรคการอุทธรณ์
สัญญาเช่าอาคารมีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท และผู้เช่าชำระเงินกินเปล่า 500,000 บาท เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้า จึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าสำหรับการยื่นอุทธรณ์ด้วย สัญญาเช่ากำหนดเวลาเช่า 9 ปี 6 เดือน ดังนั้น เงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้า 500,000 บาท คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 4,385.96 บาท รวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 4,000 บาท เป็นค่าเช่าเดือนละ 8,385.96 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่า ที่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่า การเฉลี่ยรายปี และกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี
โจทก์ได้รับเงินกินเปล่าหรือค่าตอบแทนในการจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถว 32 คูหา โดยมีระยะเวลาการเช่าจนถึงปี 2545 ในการเรียกเก็บภาษีนั้นกระทรวงการคลังได้วางหลักการไว้ว่า การเสียภาษีในกรณีเกี่ยวกับเรื่องเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้างเงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารและโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น กระทรวงการคลังยอมให้ผู้ให้เช่าเฉลี่ยเงินดังกล่าวตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเอาเงินได้ส่วนที่เฉลี่ยนั้นยื่นรายการเงินได้เมื่อถึงกำหนดแต่ละปี การที่จะเก็บภาษีเงินได้จากโจทก์ก่อนถึงกำหนดตาม ป.รัษฎากรมาตรา 60 ทวิ นั้น ต้องเป็นกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีเท่านั้น เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจเรียกเก็บภาษีก่อนกำหนดยื่นรายการได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์มีหลักทรัพย์และไม่ยากที่จะเรียกเก็บภาษี ทั้งได้เสนอหลักทรัพย์ที่จะประกันการเสียภาษีสูงกว่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย และโจทก์ยังได้รับประโยชน์ตามประกาศกระทรวงการคลังอีกด้วย ดังนั้น จึงมิใช่กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะให้โจทก์เสียภาษีในคราวเดียวกันย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 60 ทวิ ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินชดเชยและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา ๔๒ (๙)
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท. และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอยแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภค และเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้น เงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดิน และตามข้อสัญญายินยอมให้บริษัท ท.และบริษัท บ. ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากับบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าว ดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวโจทก์จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (9) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3663/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความทางภาษี: เงินชดเชยที่ดินและเงินกินเปล่าจากการจัดสรรที่ดินถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาขายที่ดินและได้รับการยกเว้นภาษี
โจทก์ทำสัญญาร่วมพัฒนาที่ดินเพื่อแบ่งขายกับบริษัท ท.และบริษัท บ. โดยมีข้อตกลงว่าให้บริษัททั้งสองเป็นผู้ลงทุนแบ่งที่ดินของโจทก์เป็นแปลงย่อย ตัดถนนสร้างสิ่งสาธารณูปโภค ปลูกสร้างบ้านและขายที่ดินของโจทก์ โดยบริษัททั้งสองจะขายที่ดินของโจทก์ได้ในราคาตามที่เห็นสมควร แต่ต้องชำระราคาที่ดินให้โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้ ส่วนที่ดินที่ใช้ในการตัดถนนและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคซึ่งไม่อาจขายให้แก่ผู้ใดบริษัททั้งสองตกลงชดเชยราคาแห่งที่ดินที่เสียไปให้ อีกทั้งได้จ่ายเงินกินเปล่าให้โจทก์อีกจำนวนหนึ่งตอบแทนการที่โจทก์มอบสิทธิในการจัดสรรที่ดินให้ ดังนี้ การจัดสรรที่ดินจำเป็นต้องสร้างถนนและสิ่งสาธารณูปโภคและเมื่อได้กระทำแล้วทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้นและมูลค่าดังกล่าวตกอยู่แก่ที่ดินที่เหลือ เมื่อโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินเอง จึงรวมมูลค่าที่ดินที่เสียไปดังกล่าวเข้าไปในราคาที่ดินที่เหลือไม่ได้ ดังนั้นเงินค่าชดเชยราคาที่ดินที่เสียไปจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินและตามข้อสัญญาโจทก์ยินยอมให้บริษัท ท. และบริษัท บ.ขายที่ดินที่พัฒนาแล้วราคาเท่าใดก็ได้ เพียงแต่ต้องชำระที่ดินให้โจทก์ตามราคาที่ตกลงกันไว้ และเมื่อมีการเลิกสัญญากันบริษัททั้งสองมีสิทธิขอซื้อที่ดินที่ยังไม่มีผู้ซื้อตามราคาดังกล่าวดังนั้นการที่บริษัททั้งสองให้เงินกินเปล่าแก่โจทก์ก็เป็นเพราะเหตุที่โจทก์ตกลงรับเงินค่าที่ดินในราคาที่ตกลงกันไว้ เงินกินเปล่าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินของโจทก์ เงินทั้งสองรายการดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า หากผู้เช่าผิดสัญญา จะไม่ได้รับเงินคืน
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าแต่ก็ต้องถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ให้แก่จำเลยเปล่า ๆ ไม่มีเจตนาจะเอาคืน เมื่อโจทก์ต้องออกจากห้องพิพาทเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินแป๊ะเจี๊ยะคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินแป๊ะเจี๊ยะเป็นเงินกินเปล่า เมื่อผู้เช่าผิดสัญญาจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องคืน
เงินแป๊ะเจี๊ยะคือเงินกินเปล่า แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าแต่ก็ต้องถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ให้แก่จำเลยเปล่าๆ ไม่มีเจตนาจะเอาคืน เมื่อโจทก์ต้องออกจากห้องพิพาทเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินแป๊ะเจี๊ยะคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและเงินกินเปล่า: การคืนเงินตามส่วนเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย
เงินกินเปล่าที่โจทก์ได้จ่ายให้จำเลยไปแล้วนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์ชำระล่วงหน้าให้แก่จำเลยไป เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลยมีกำหนด 8 ปี แต่โจทก์เข้าอยู่ได้เพียง 3 เดือนเศษ ไฟก็ไหม้ตึกแถวพิพาทเสียหายหมด โดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินกินเปล่าให้แก่โจทก์ตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินกินเปล่า: สิทธิคืนเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงจากเหตุสุดวิสัย
เงินกินเปล่าที่โจทก์ได้จ่ายให้จำเลยไปแล้วนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์ชำระล่วงหน้าให้แก่จำเลยไปเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลยมีกำหนด 8 ปี แต่โจทก์เข้าอยู่ได้เพียง 3 เดือนเศษ ไฟก็ไหม้ตึกแถวพิพาทเสียหายหมด โดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนเงินกินเปล่าให้แก่โจทก์ตามส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่ารื้อถอนไม่ทำให้สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ ผู้ให้เช่ามีสิทธิขับไล่
กรมทางหลวงแผ่นดินใช้ค่ารื้อถอนเล้าไก่แก่จำเลย ซึ่งเช่าห้องแถวของโจทก์อยู่ จำเลยยกเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ๆ ตกลงให้จำเลยอยู่ต่อไป 1 ปี ข้อตกลงนี้ไม่ได้ทำเป็นหนังสือ. เงินนี้เท่ากับเงินกินเปล่า ไม่ทำให้สัญญาเช่ากลายเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษ โจทก์ขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกินเปล่าจากสัญญาเช่า, สิทธิเรียกร้องเมื่อเช่าต่อเนื่อง, ความรับผิดของคู่สัญญา
การที่ผู้ให้เช่ารับเงินกินเปล่าไว้จากผู้เช่านั้น หาใช่เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 ไม่ หากแต่เป็นการรับไว้เนื่องจากผู้ให้เช่ายอมให้ผู้เช่าทำสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าไม่ให้ผู้เช่าอยู่ครบกำหนดตามที่ตกลงกัน ผู้เช่าเรียกเงินกินเปล่าคืน เพราะผู้ให้เช่าผิดสัญญาจะต้องใช้อายุความทั่วไป ซึ่งมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น
สัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนมีผลบังคับเพียง 3 ปี แต่เมื่อผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่ายังเช่าห้องพิพาทอยู่ สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าของผู้เช่าจึงยังไม่เกิดขึ้น