พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำที่ดินแปลงเป็นเงินกู้ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุไว้ชัดเจนว่าผู้โอนได้รับเงินมัดจำจากผู้รับโอนไปถูกต้องแล้ว แม้ผู้รับโอนจะทำสัญญากู้เงินจากผู้โอนไว้ เป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนเงินมัดจำ ก็เท่ากับผู้โอนมอบเงินมัดจำนั้นให้เป็นเงินกู้แก่ผู้รับโอน เงินมัดจำดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008-5010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายทำให้เช็คไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยไม่มีความผิด
โจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หรือเท่ากับร้อยละ 24 ต่อปี เกินกว่าอัตราตามกฎหมายย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 (ก) เมื่อไม่ปรากฏว่าการสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับตามฟ้องแยกเป็นการชำระเงินต้นเท่าใด ชำระดอกเบี้ยเท่าใด จึงถือว่าเช็คตามฟ้องที่จำเลยสั่งจ่ายแก่โจทก์ได้รวมดอกเบี้ยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเอาไว้ด้วย แม้ธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ การคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย และการปลดเปลื้องหนี้ตามหลักประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาให้จำเลยกู้ยืมเงิน 2 ครั้ง รวมเป็นเงิน 180,000 บาท โดยสัญญากู้ยืมเงินแต่ละฉบับตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน แต่ในสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับระบุว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อสัญญากู้ยืมเงินทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยชัดแจ้ง ย่อมต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวว่าได้มีการตกลงกันด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง
โจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 จำนวน 155,505 บาท จึงต้องนำเงินที่จำเลยที่ 1 ชำระแต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้าง ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระต้นเงินที่ค้างชำระแต่ละคราวไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่นำสืบให้ได้ความชัดเจนว่าการชำระเงินดังกล่าวเป็นการชำระหนี้สินรายใด เมื่อหนี้สินจำนวน 150,000 บาท และจำนวน 30,000 บาท ไม่ได้กำหนระยะเวลาชำระหนี้ไว้ แต่หนี้สินรายแรกมีผู้ค้ำประกัน 2 ราย ส่วนหนี้สินรายหลังมีผู้ค้ำประกันเพียงรายเดียว หนี้สินรายหลังจึงเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีประกันน้อยที่สุด จึงต้องถือว่าหนี้รายหลังเป็นอันปลดเปลื้องไปก่อนตามประมวลกฎหมายและพาณิชย์ มาตรา 328 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5702/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การอนุมัติและส่งมอบเงินกู้ในเขตศาล ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี
ในการขอกู้เงินจากบริษัทเงินทุนโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อรายย่อยของโจทก์ ซึ่งระบุให้โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลยที่ธนาคาร โดยให้ถือว่าจำเลยได้รับเงินกู้ถูกต้องนับแต่วันที่โจทก์นำฝากหรือโอนเงินกู้เข้าบัญชีของจำเลย หลังจากเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้วได้ส่งไปให้โจทก์พิจารณาที่สำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลยและนำเงินกู้ไปฝากหรือโอนเข้าบัญชีของจำเลยตามที่ระบุไว้ การอนุมัติวงเงินกู้และโอนเงินกู้ซึ่งถือว่าเป็นการส่งมอบเงินกู้ได้กระทำในท้องที่เขตปทุมวันซึ่งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นหรือศาลแขวงปทุมวัน ถือได้ว่ามูลคดีเกิดในเขตศาลชั้นต้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1),5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินปลอม การกู้เงินจริงไม่ตรงตามจำนวนที่ระบุในสัญญา ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ 45,000 บาท และลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินที่ยังไม่ได้กรอกจำนวนเงินไว้ แล้วมีการนำสัญญากู้ยืมเงินไปกรอกจำนวนเงินกู้เป็น 200,000 บาท ในภายหลัง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยินยอม สัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าโจทก์มิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้กู้และรับเงินกู้ไปเป็นเงิน 45,000 บาท จำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวและแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกามาด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 ฎีกายกเหตุดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2734/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การใช้เงินกู้เพื่อประโยชน์ครอบครัวและบุตร ถือเป็นหนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน
จำเลยที่ 1 อยู่กับป้าและบุตรทั้งสามคนอยู่กับป้าด้วย ทั้งจำเลยที่ 2 ก็รับว่าให้ป้าดูแลบุตรของตน ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 นำเงินกู้ไปซ่อมแซมบ้านของป้าก็เพื่อประโยชน์และความผาสุกของบุตรทั้งสามคนของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากัน กรณีจึงเป็นหนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามมาตรา 1490 (1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องร้องเรียกเงินกู้ สัญญาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีอาญาเรื่องก่อน ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มี การใช้เงินตามเช็ค ซึ่งมีประเด็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ คดีถึงที่สุดโดยศาลวินิจฉัยว่า สัญญากู้มิได้ ขีดฆ่าอากรแสตมป์ เอกสารจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง จึงฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้ หนี้ตามเช็คเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด พิพากษายกฟ้อง แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้ไปจากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ดังนี้ คดีนี้ เมื่อโจทก์ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ในสัญญากู้แล้ว กรณีจึงมิใช่ประเด็นที่วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญา และในคดีก่อนศาลวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพราะเป็นหนี้ ที่ไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย แต่คดีนี้มีประเด็นวินิจฉัยว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินกู้จากโจทก์หรือไม่ จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก่อนแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1ได้กรอกรายการและลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 และสลักหลังในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของบัญชีก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามสัญญากู้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 560/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ตามประกาศกระทรวงการคลัง ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี
การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์นั้น มีประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2535 ข้อ 2 และข้อ 3กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ประกาศดังกล่าวออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ มาตรา 3(4)และมาตรา 4 ให้อำนาจไว้ดังนี้ การที่จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์คิดจากจำเลยจึงหาได้เปลี่ยนแปลงโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยแต่ประการใดไม่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้อง ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่มิให้เกินอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดจึงเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงิน การผิดสัญญาและดอกเบี้ยทบต้น
++ เรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง ตั๋วเงิน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย