พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าชดเชย จึงต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย
ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (51)
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความทางแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เพื่อให้คดีดังกล่าวเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมโดยระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นเงินตามฟ้องประเภทใด จึงมิใช่ค่าชดเชยเพราะนอกจากจะไม่ได้ระบุแล้วยังไม่ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย จึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากรตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217(พ.ศ. 2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2(51)
การที่จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อไม่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
การที่จำเลยจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้มาเนื่องจากการจ้างแรงงานตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) จึงเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อไม่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ ไม่ตกเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้
เงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตหรือเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะเรียกว่าเป็นเงินช่วยเหลือแต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของข้าราชการที่รัฐบาลได้จ่ายให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้นซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การเสนอเงินช่วยเหลือเพื่อแลกกับการลาออกและการสั่งย้ายงานเพื่อกลั่นแกล้ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 8 แล้วว่า ก่อน ณ. ผู้จัดการโรงงานจะมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่บริษัท พ. และบริษัท ม. ณ. ได้ยื่นข้อเสนอว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทำ หากโจทก์ทั้งแปดลาออกจำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้ เมื่อโจทก์ทั้งแปดไม่ยอมลาออก จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ทั้งแปดไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมาในบริษัทดังกล่าว แสดงว่าโจทก์ได้นำสืบตามฟ้องแล้วและศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์แล้วเช่นกันส่วนที่ศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเสนอเงินช่วยเหลือโจทก์ถ้าโจทก์ลาออกนั้นเป็นเพียง ยกข้อเท็จจริงขึ้นมาเพื่อให้มีเหตุผลสนับสนุนในการรับฟัง ข้อเท็จจริงได้หนักแน่นขึ้นว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งแปด ไปทำงานที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดนครราชสีมา เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์เท่านั้น ไม่เป็นการรับฟัง ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8119/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องและเงินช่วยเหลือค่าก่อสร้าง
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีแทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมในนามของโจทก์ร่วมตามความผูกพันในสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมนั้น ทำให้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนโจทก์ร่วมหากปรากฏว่าจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดเงินส่วนที่เกินนั้นไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยและมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลย คืนเงินส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ได้ โจทก์หาจำต้องมีนิติสัมพันธ์ กับจำเลยจึงจะมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ โจทก์ร่วมมิได้ยื่นฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งความให้ทราบคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 31แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องเองภายในกำหนดเวลาดังกล่าว และต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลานั้นแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรือนพิพาทและโจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนโจทก์ร่วมตามสัญญาเช่าซึ่งศาลเห็นว่ากรณีมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงอนุญาตตามคำร้องและได้ออกหมายเรียกโจทก์ร่วมให้เข้าเป็น โจทก์ร่วมในคดีนี้ ดังนั้น การที่โจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีนี้จึงเป็นการเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามคำสั่งของศาล เนื่องจากศาลเห็นจำเป็นที่จะเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ในส่วนที่โจทก์ร่วมให้โจทก์เช่านั้น โจทก์ร่วมได้ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดิน 390,000,000 บาท ได้อาคารศูนย์การค้าและโรงแรมพร้อมทั้งอุปกรณ์และได้ค่าเช่าที่ดินและอาคารอีกปีละ 24,000,000 บาท ดังนี้ ค่าตอบแทนการให้เช่าที่ดินจำนวนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้มีการชำระให้โจทก์ล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าแล้วรวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีในการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ร่วมด้วย เงินค่าตอบแทนค่าเช่าที่ดินดังกล่าว ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่าเช่าที่ดินตามสัญญาเช่าแต่อย่างใด ที่คณะกรรมการของจำเลยนำค่าตอบแทนการเช่าที่ดินมารวมคำนวณเพื่อกำหนดค่ารายปีจึงถูกต้องและชอบแล้ว สำหรับส่วนที่โจทก์นำไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงนั้นสัญญาเช่าช่วงมีทั้งมีการเก็บค่าเช่าอย่างเดียวและมีการเก็บค่าเช่ากับค่าช่วยค่าก่อสร้างด้วยรายไหนเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างก็คิดค่าเช่าถูกลง รายไหนไม่ได้มีการเรียกเก็บเงินช่วยก่อสร้างล่วงหน้าก็คิดค่าเช่าต่อเดือนแพงกว่ากันมากโดยรายที่มีการคิดค่าเช่าอย่างเดียว คิดค่าเช่าตารางเมตรละ798 บาท ส่วนสัญญาเช่าที่มีการเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างคิดค่าเช่าตารางเมตรละ 20 บาท จึงฟังได้ว่าเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เรียกเก็บจากผู้เช่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่โจทก์เรียกเก็บล่วงหน้า จึงต้องนำมาเฉลี่ยตามจำนวนปีที่เช่าเพื่อคิดคำนวณเป็นค่ารายปีที่แท้จริงด้วยและการคิดคำนวณตามวิธีดังกล่าวไม่เป็นการซ้ำซ้อนกันเพราะนำมาคิดรวมเฉลี่ยเป็นค่าเช่าที่โจทก์ให้เช่า ทั้งไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับมูลค่าของโรงเรือนพิพาทเพราะไม่ได้นำมูลค่าของโรงเรือนพิพาทมารวมคำนวณด้วย ลานอเนกประสงค์ของโจทก์ คือพื้นที่ว่างภายในตัวอาคารรวมกับเนื้อที่นอกตัวอาคารต่อจากทางเดินภายนอกจนถึง บริเวณถนนส่วนบุคคลและด้านล่างใต้ดินของพื้นที่ ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวที่เป็นชั้นที่ 1 และที่ 2 ใช้เป็นลานจอดรถ ดังนี้ลานอเนกประสงค์ดังกล่าวแม้บางส่วนจะเป็นพื้นที่นอกตัวอาคารแต่ก็เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ร่วมกันหรือเพื่อประโยชน์ของพื้นที่อื่นของตัวอาคาร รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่ใช้ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนอื่นของอาคารโรงเรือน และต่อเนื่องกับพื้นที่ที่ใช้เป็นที่จอดรถจึงต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นพื้นที่โรงเรือนด้วย ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2474มาตรา 6 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2540 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าอาหาร/ค่ากะดึก ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้เงินสนับสนุนร้านค้าเดือนละ 15,000บาท เพื่อนำอาหารราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่ลูกจ้างของโจทก์เฉพาะลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา และลูกจ้างประเภทพนักงานกะเช้าที่ทำงานตั้งแต่เวลา 6.30 นาฬิกา ถึง 18.30 นาฬิกาเท่านั้น ส่วนพนักงานกะดึกที่ทำงานตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา ถึง 6.30 นาฬิกาและลูกจ้างอื่น ๆ ที่ทำงานล่วงเวลาหลังเวลา 18.30 นาฬิกา โจทก์ให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าอาหารในอัตราชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากลูกจ้างที่ทำงานในรอบกลางคืนไม่มีร้านอาหารจัดอาหารราคาถูกจำหน่ายให้ เหตุที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานกะดึกชั่วโมงละ 5 บาท เนื่องจากโจทก์ไม่ได้จัดอาหารราคาถูกให้ลูกจ้างดังเช่นลูกจ้างประเภทพนักงานทั่วไปที่ทำงานกลางวันและพนักงานกะเช้า นอกจากนี้โจทก์ยังจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่พนักงานทั่วไปที่ทำงานเวลากลางวันหากต้องมาทำงานล่วงเวลาในช่วงเวลาหลัง 18.30นาฬิกา นอกเหนือจากค่าล่วงเวลาอีกด้วย เห็นได้ว่า การที่โจทก์จ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวก็โดยมีเจตนาเพื่อให้เป็นเงินสวัสดิการแก่ลูกจ้างโดยแท้ แม้เงินดังกล่าวโจทก์จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นประจำและมีจำนวนแน่นอนตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติ ฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียกเงินดังกล่าวว่าเป็นเงินช่วยเหลือค่าอาหาร หรือเงินค่ากะดึก เงินดังกล่าวก็ไม่เป็นค่าจ้างตามความหมายของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
แม้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคม จำเลยที่ 2 พิจารณาและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเป็นการใช้ดุลพินิจและพิจารณาตามอำนาจที่กฎหมายกำหนดเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินไปชำระตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏในภายหลังว่าคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามกฎหมายกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ยอมคืนให้จนโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องฟ้องบังคับ จำเลยทั้งสองจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงสัญญาเช่า: เงินช่วยเหลือฯ เป็นค่าเช่าล่วงหน้า, สิทธิคืนเงินเมื่อผู้ให้เช่าผิดสัญญา
ขณะที่โจทก์จำเลยทำความตกลงเกี่ยวกับเงินค่าประกันสัญญาและเงินช่วยค่าปลูกสร้างนั้น อาคารสถานที่เช่าได้ปลูกเสร็จแล้วจึงไม่ใช่เงินช่วยค่าปลูกสร้างที่แท้จริง แต่เป็นเงินที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าให้เป็นค่าตอบแทนแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้ให้เช่าในการที่จะให้โจทก์เช่าโดยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 2 ปีอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าเช่นเดียวกับเงินกินเปล่า การตีความแสดงเจตนานั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร และตามมาตรา 368 ให้ตีความตามสัญญาไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงประเพณีด้วย โดยปกติของการทำสัญญาเช่าที่ผู้เช่าต้องให้เงินกินเปล่าล่วงหน้าจำนวนหนึ่งแก่ผู้ให้เช่าก็เพื่อผู้เช่าจะได้เช่าทรัพย์ตามกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทนกำหนดระยะเวลาเช่าจึงเป็นข้อสาระสำคัญแห่งสัญญาว่าหากผู้เช่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าก็มีหน้าที่ต้องให้ผู้เช่าเช่าจนครบเวลาที่ตกลงกัน ฉะนั้นข้อความในสัญญาเช่าที่ว่า "เงินที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าตามสัญญานี้ไปแล้วทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ว่าผู้เช่าจะอยู่จนครบกำหนดตามสัญญาเช่าหรือไม่ก็ตามผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกคืนจากผู้ใช้เช่าไม่ว่ากรณีใด ๆทั้งสิ้น" จึงใช้บังคับเฉพาะกรณีที่โจทก์ผู้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาเท่านั้น หาได้ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยผู้ให้เช่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดค่าจ้างลูกจ้างรัฐบาล: ค่าจ้างและเงินช่วยเหลือบุตรได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดี
เทศบาลเป็นทบวงการเมืองตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 วรรคสอง จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาลตำบลจึงเป็นลูกจ้างของรัฐบาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) ค่าจ้างของลูกจ้างของรัฐบาลไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างของจำเลย สำหรับเงินยังชีพและเงินช่วยเหลือบุตรเป็นเงินที่กำหนดให้เบิกจ่ายแก่ลูกจ้างเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการครองชีพในลักษณะเดียวกับค่าจ้าง ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างจึงไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน
(โปรดเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2784/2522)
(โปรดเทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 2784/2522)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและเงินเดือนที่ 13 ไม่ถือเป็นค่าจ้าง จึงไม่นำมาคำนวณเงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และค่าล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะได้รับเงินช่วยค่าอาหารเดือนละ 600 บาท เงินช่วยค่าพาหนะเดือนละ 350 บาท หากแต่งเครื่องแบบของบริษัทจำเลยจะได้รับเงินช่วยค่าซักรีดเดือนละ 150 บาทดังนี้ เห็นได้ว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองต้องเสียค่าอาหาร ค่าพาหนะ มากกว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่หน่วยงานอื่นหรือต้องเสียค่าซักเครื่องแบบซึ่งเป็นเครื่องแบบของจำเลย จำเลยจึงจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายนั้นๆ หาใช่เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานไม่เงินดังกล่าว จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่ 13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่ 13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรง จึงไม่เป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือต่างๆ และเงินเดือนเดือนที่ 13 ไม่เป็นค่าจ้างในการคำนวณบำเหน็จ ค่าชดเชย และค่าล่วงเวลา
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองจะได้รับเงินช่วยค่าอาหารเดือนละ 600 บาท เงินช่วยค่าพาหนะเดือนละ 350 บาท หากแต่งเครื่องแบบของบริษัท จำเลยจะได้รับเงินช่วยค่าซักรีดเดือนละ150 บาทดังนี้ เห็นได้ว่า ลูกจ้างซึ่งทำงานที่ท่าอากาศยานดอนเมืองต้องเสียค่าอาหารค่าพาหนะ มากกว่าลูกจ้างซึ่งทำงานที่หน่วยงานอื่นหรือต้องเสียค่าซักเครื่องแบบซึ่งเป็นเครื่องแบบของจำเลยจำเลยจึงจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าวเพื่อชดเชย ค่าใช้จ่ายนั้นๆ หาใช่เป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานไม่เงินดังกล่าว จึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง
จำเลยจ่ายเงินเดือนเดือนที่ 13 ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีให้ลูกจ้างตามข้อบังคับฯ โดยไม่มีการทำงานในเดือนที่13 เงินเดือน เดือนที่ 13 จึงเป็นการจ่ายให้เพื่อแสดงน้ำใจและเพื่อให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่เป็นการตอบแทน การทำงานโดยตรงจึงไม่เป็นค่าจ้าง