คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินตรา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องระบุจำนวนหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด จึงเป็นกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศ ซึ่งศาลจะพิพากษาให้ใช้เงินต่างประเทศหรือจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196 วรรคหนึ่ง และที่วรรคสองระบุให้การเปลี่ยนเงินนี้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงินนั้น หมายถึงอัตราที่จะแลกเปลี่ยนกันได้โดยเสรีในเวลาที่จำเลยได้ใช้เงินจริง ซึ่งตามปกติจะคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ที่ขายเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินตราไทยในกรุงเทพมหานครเป็นเกณฑ์ และเพื่อความสะดวกแก่การบังคับคดีจึงให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในวันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าไม่มีอัตราการขายในวันนั้นก็ให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราขายเช่นว่านั้นก่อนวันพิพากษา แต่เมื่อโจทก์ขอใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันออกใบแจ้งหนี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.57 บาท โจทก์จึงไม่อาจรับชำระหนี้จากจำเลยเกินกว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินจำนวนดังกล่าวได้
แม้ตามสัญญาที่โจทก์กับจำเลยทำต่อกันจะกำหนดดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระราคาล่าช้าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาบวกด้วยร้อยละ 5 ต่อปีแต่โจทก์ขอดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเพียงอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาเท่านั้นโดยนำสืบไม่ชัดว่าดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทของธนาคารแห่งอเมริกาดังกล่าว ณ วันที่จำเลยผิดนัดมีอัตราเท่าไรและเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถือว่าโจทก์นำสืบเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ตามที่อ้าง กรณีจึงเป็นหนี้เงินที่ต้องเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรปลอม: พฤติการณ์ร้ายแรง ไม่รอการลงโทษ
การที่จำเลยได้มีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอม แล้วจำเลยใช้ธนบัตรปลอมดังกล่าวซื้อสินค้าจากผู้เสียหายทั้งเจ็ด เป็นการสร้างความเสียหายต่อระบบการค้าและเงินตราของประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยส่วนรวมนับเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ: การกระทำถึงขั้นลงมือแล้วหรือไม่
จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศ เครื่องบินขึ้นเวลา 8.40 นาฬิกาจำเลยไปถึงท่าอากาศยานรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารและบัตรรับกระเป๋าเดินทางแล้ว เวลา 8.15 นาฬิกา ขณะจำเลยเดินเข้าช่องทางเดินเพื่อไปยังเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ตรวจพบเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ9,100ดอลลาร์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักรที่จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางออกไปจากประเทศไทย และใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จโดยพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว ดังนี้ จำเลยมีเจตนานำเงินตราที่ต้องจำกัด หรือต้องห้ามออกไปนอกประเทศ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ: การกระทำถึงขั้นลงมือแล้วหรือไม่
จำเลยจะเดินทางไปต่างประเทศ เครื่องบินจะออกเวลา 8.40นาฬิกา จำเลยเดินทางไปถึงท่าอากาศยาน ได้ผ่านการตรวจจากเจ้าหน้าที่สายการบินและรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารกับบัตรรับกระเป๋าเดินทางแล้วเวลา 8.15 นาฬิกา ขณะที่เจ้าหน้าที่สายการบินกำลังจะนำกระเป๋าเดินทางของจำเลยลำเลียงขึ้นเครื่องบินและจำเลยกำลังจะเดินเข้าไปในช่องทางเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ตรวจค้นตัวจำเลยและกระเป๋าเดินทางของจำเลยพบเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา9,100ดอลลาร์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำออกนอกราชอาณาจักร เมื่อจำเลยรับบัตรที่นั่งผู้โดยสารแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเดินทางออกไปจากประเทศไทยและใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จพ้นขั้นตระเตรียมการแล้ว จำเลยมีเจตนานำเงินตราที่ต้องจำกัดหรือต้องห้ามออกไปนอกประเทศจึงมีความผิดฐานพยายามกระทำความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนบัตรไม่ใช่ 'ของ' ตามกฎหมายศุลกากร การนำเข้า-ส่งออกเงินตราจึงไม่ผิด
ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรรัฐบาลไทย และเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศไทย มิใช่สิ่งของอันอาจนำไปจำหน่ายเป็นสินค้าอย่างธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้ ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ "ของ" ตามความหมายในมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ฉะนั้นการกระทำของจำเลยที่นำธนบัตรของกลางออกไปและเข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27
ธนบัตรและเรือเพลายาวของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด และการกระทำของจำเลยก็มิได้เป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 จึงริบธนบัตรและเรือของกลางไม่ได้ทั้งจ่ายรางวัลให้เจ้าพนักงานก็ไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752-753/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เงินฝากและการบังคับคดี: เงินที่ฝากธนาคารเป็นของจำเลย แม้ที่มาจะเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเบิกเงินไปจากธนาคารผู้ร้องโดยไม่ได้ความชัดว่าเป็นการเบิกโดยปลอมลายมือชื่อ และดวงตราของผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยได้นำเงินนั้นไปฝากไว้กับธนาคารอื่นเงินตราที่ฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝาก เพราะไม่มีข้อตกลงให้ธนาคารส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่รับฝาก
เงิน (จากบัญชีจำเลย) ที่ธนาคารผู้รับฝากส่งไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี (ตามคำสั่งอายัดในคดีที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา) ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยนำมาฝาก ทั้งไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ แสดงว่าเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยเบิกไปจากผู้ร้อง เงินนั้นจึงเป็นเงินของจำเลย ผู้ร้องจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเงินตราเข้าประเทศเกิน 500 บาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ความผิดฐานมีทรัพย์สินผิดกฎหมาย จึงไม่ริบได้
การที่จำเลยนำเงินตราซึ่งเป็นธนบัตรไทยจำนวนหกพันบาทเข้ามาในประเทศเป็นความผิด เพราะมีจำนวนเกินกว่าห้าร้อยบาทนั้น ความผิดอยู่ที่การไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน หาใช่เงินตราดังกล่าวเป็นของผิดกฎหมายที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิดไม่ จึงริบเงินตราไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดเหรียญปลอมไม่ถึงขั้นทำปลอมเงินตรา ต้องมีเจตนาและกระบวนการที่ชัดเจน
เหรียญห้าบาทปลอมมีแร่ผสมทำให้ด้านไม่ขึ้นเงา นำออกใช้ไม่ได้ ต้องขัดก่อน จำเลยใช้น้ำยาขัดเหรียญเท่านั้นไม่พอฟังว่าจำเลยทำปลอมเหรียญกษาปณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดทางอาญา: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการรับฟังว่าจำเลยนำเข้าเงินตราและสินค้าโดยผิดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ แต่รองเท้าไม้ของกลางจับได้จากนายประเสริฐ (ไม่ใช่จำเลย)เป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่รับอนุญาตริบตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทหนัก โจทก์ฎีกาศาลฎีกาฟังว่ารองเท้าไม้นายประเสริฐถือมาอาจเป็นของนายประเสริฐเองแต่นายประเสริฐกลัวความผิดจึงปัดว่าเป็นของคนอื่น ไม่พอฟังว่าจับได้จากจำเลยพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (หมายเหตุ ศาลฎีกาพิพากษายืน มีผลถึงให้ริบรองเท้าไม้ของกลางได้ด้วยน่าจะเป็นเพราะมีการกระทำเกิดขึ้นแล้ว นายประเสริฐซึ่งเป็นเจ้าของรู้เห็นแล้วน่าจะไม่ขัดกับฎีกาที่225/2506 และเทียบเคียงได้กับฎีกาที่ 751/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, อายุความหนี้, การชำระหนี้, การพ้นวิสัย, สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
อันอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามที่กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังออกประกาศหรือกฎกระทรวงในการที่ทางราชการรับซื้อหรือออกขายนั้น เป็นเรื่องอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือกระทรวงการคลังจะถือปฏิบัติอย่างไรเท่านั้น หาใช่กฎหมายที่จะบังคับใช้แก่ประชาชนไม่ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนเงินตราจึงต้องถือตามวันเวลาที่ทำการแลกเปลี่ยนหรือควรจะได้ทำการแลกเปลี่ยนและความเสียหายที่โจทก์จะได้รับก็คือ ความเสียหายในเวลาที่มีการผิดนัดชำระหนี้ และต้องคิดคำนวณลงเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คือ เป็นเงินไทยในขณะนั้น จะถือว่าเสียหายเป็นเงินปอนด์สเตอร์ลิงตลอดไปไม่ได้
แม้จะมีกฎหมายว่า ไม่นำเงินตราต่างประเทศมาขายเป็นผิดอาญาก็ตาม แต่เป็นการบังคับให้ขายเงินตราต่างประเทศอีกส่วนหนึ่งในภายหลังต่างหาก ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะขอให้จำเลยต้องผูกพันอยู่เดิม อายุความจึง 10 ปี หาใช่ 5 ปี โดยถืออัตราโทษทางอาญาในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นหลักตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรกไม่
การที่ต่างประเทศมีกฎหมายห้ามนำเงินตราออกนั้น ไม่ใช่เป็นข้อแก้ตัวว่าเป็นการพ้นวิสัย อันจะทำให้พ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้
of 4