คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินสด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้นต้องเป็นเงินสดตามกฎหมาย การตกลงชำระด้วยวัสดุอุปกรณ์ไม่ผูกพันจำเลย ผู้ร้องต้องพิสูจน์การชำระหนี้
การส่งใช้เงินค่าหุ้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1119,1120 และ 1221 กำหนดให้ต้องส่งใช้เป็นเงินเท่านั้น โดยกรรมการของบริษัทจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าหุ้นตามวิธีการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยได้มีจดหมายส่งลงทะเบียนบอกกล่าวเรียกเก็บเงินค่าหุ้นไปยังผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆแต่อย่างใด ที่ผู้ร้องอ้างว่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจึงได้มีการตกลงกันภายในระหว่างสองบริษัทว่า "หนี้ค่าหุ้นที่ทวงถามไปนั้น บริษัทจำเลยขอให้บริษัทผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่เหลือเป็นวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างแทนการชำระเป็นเงิน" ข้อตกลงดังกล่าวหากมีจริงก็ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมตั้งบริษัทข้อตกลงที่ผู้ร้องอ้างจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย นอกจากนี้ในส่วนงบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของจำเลยกฎหมายก็ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้นั้นทุกประการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว หาใช่ว่าผู้คัดค้านมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าผู้ร้องค้างชำระค่าหุ้นดังที่ผู้ร้องฎีกาไม่ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงรับฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระให้แก่จำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินสดและการนำสืบข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงเดิม
การที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คเบิกเงินจากธนาคารเอง เมื่อได้รับเงินแล้วจึงมอบเงินแก่ภริยาโจทก์ เป็นการชำระหนี้เงินกู้ยืมด้วยเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง มิใช่การชำระหนี้ด้วยเช็คตามมาตรา 321 เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมหรือโจทก์มาแสดงจำเลยจะนำสืบถึงการใช้เงินดังกล่าวมิได้
ส่วนที่จำเลยฎีกาถึงการชำระหนี้อีกจำนวนหนึ่งว่า โจทก์กับจำเลยตกลงให้ ส. ทำหลักฐานการชำระเงินและโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ ในชั้นสืบพยานจำเลยกลับปรากฏจากการนำสืบว่าจำเลยไปพบกับ ส. และมีการชำระเงินสดและทำหลักฐานการรับเงินเอาไว้ ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปร่วมรับชำระหนี้และลงลายมือชื่อไว้ในใบรับเงินด้วยดังเช่นข้อความในฎีกาของจำเลย ดังนั้น ฎีกาจำเลยเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นมาใหม่ในชั้นฎีกา โดยเป็นข้อที่ยังมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดชำระภาษีอากรค้าง หากละเว้นการชำระหนี้ภาษีด้วยเงินสดเหลือจากการชำระบัญชี
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาท แต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง 124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดินดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าว บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75บาท การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้น จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาท ไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ พนักงานยักยอกเงินสดของผู้เสียหายโดยลงรายการเท็จ
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของผู้เสียหายเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการเงินและเป็นธุรกิจใหญ่ย่อมจะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ และใช้ผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้ความสามารถ มิเช่นนั้นคงจะเกิดความผิดพลาดเป็นความเสียหายร้ายแรงสุดจะประมาณได้ ข้อเท็จจริงมีเหตุผลให้เชื่อถือในเทคโนโลยีเกี่ยวด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหาย ฟังได้ว่าข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายบันทึกไว้และเรียกออกมาได้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
การที่ไม่มีรายการถอนเงินในสมุดคู่ฝาก แต่กลับมีรายการถอนที่ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ แสดงให้เห็นในทางตรงกันข้ามกับข้อกล่าวอ้างของจำเลยว่ารายการ 2 แห่งแตกต่างกันเนื่องจากการทุจริต เนื่องจากมีการลักลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จ โดยไม่มีการถอนเงินจริง การลักลอบทำรายการถอนเงินอันเป็นเท็จดังกล่าวนี้ย่อมไม่มีผู้ใดทำเล่นเป็นการสนุก เชื่อได้ว่าผู้กระทำเช่นนี้ กระทำเพื่อเอาเงินของผู้เสียหายโดยทำรายการถอนพรางไว้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงิน 1,100,000 บาท ของผู้เสียหายหายไปจริง
จำเลยเป็นพนักงานเก่าซึ่งทราบระเบียบการทำงานเป็นอย่างดี จำเลยย่อมทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำช่องรับจ่ายเงินที่ตนเองนั่ง คือหัวใจในการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องที่พึงใช้เฉพาะตัวในวันนั้น ๆ ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นร่วมใช้ ไม่มีเหตุผลให้ควรเชื่อว่าจำเลยเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ขณะจำเลยพักรับประทานอาหาร จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างว่าระหว่างพักรับประทานอาหาร จำเลยไม่ได้ปิดกุญแจลิ้นชักเก็บเงินซึ่งมีเงินเรือนล้านเก็บอยู่ แต่หากจำเลยเปิดกุญแจลิ้นชักเก็บเงินทิ้งไว้ เมื่อผู้ทุจริตจะกระทำการก็จะลักเอาเงินในลิ้นชักเก็บเงินของจำเลยไป โดยไม่ต้องทำรายการลวงใด ๆ ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือหากจำเลยเปิดกุญแจลิ้นชักเก็บเงิน ผู้อื่นเอาเงินในลิ้นชักเก็บเงินของจำเลยไปไม่ได้ ก็ไม่เห็นประโยชน์ที่ผู้ใดจะมาแอบทำรายการดังกล่าวในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่ตน การที่จะกระทำให้เกิดผล จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ประการ คือลงรายการถอนเงินอันเป็นเท็จและเอาเงินที่อ้างเท็จว่ามีลูกค้ามาถอนนั้นไป คนที่มีความสามารถที่จะกระทำได้เช่นนี้ก็คือจำเลย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์และเป็นผู้รับผิดชอบในตัวเงิน ทั้งยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนความเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด คือการที่จำเลยทำรายการยืมเงินไว้ล่วงหน้า 2 รายการ เป็นความฉลาดของจำเลยในการเตรียมการด้วยเมื่อถึงเวลายืมเงินจริง เงินสดในมือคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวอาจมีไม่พอ ข้อเท็จจริงตามพยานโจทก์มีเหตุผลให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้เอาเงินของผู้เสียหายไป
จำเลยเป็นพนักงานของผู้เสียหาย มีหน้าที่รับจ่ายเงินสดแทนผู้เสียหายจึงมีอำนาจยึดถือเงินสดของผู้เสียหายไว้เพียงชั่วระยะเวลาทำการ ผู้เสียหายหาได้ส่งมอบเงินสดให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยไม่ เมื่อจำเลยเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการทุจริต จำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ถือเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินสดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิไม่รับเช็คได้
การชำระหนี้ด้วยเช็คเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ด้วยเงินตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับการชำระหนี้เงินด้วยเช็คได้ไม่เป็นการผิดข้อตกลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรส: เงินสดและที่ดิน โดยสิทธิในสินสมรสเป็นของโจทก์กึ่งหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ.ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1และที่ 2 ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย ส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 206 และ 224
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานรัฐวิสาหกิจฐานยักยอกเงิน ยอมรับสารภาพเป็นหลักฐานสำคัญ
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกการเงินของธนาคาร มีหน้าที่เก็บรักษาเงินเมื่อถูกตรวจสอบพบว่าเงินหายก็ยอมรับว่าเป็นผู้ยักยอกเงินที่เก็บรักษาไว้ไปในทันทีและโดยสมัครใจ ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะฟังได้แล้วว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การนำสืบการใช้เงิน และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และได้ชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทเป็นเช็คแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้เงินกู้จึงยังคงมีอยู่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนำสืบว่า จำเลยที่ 1 นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและรับเช็คคืนจากโจทก์แล้ว จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสองเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง และไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากการรักษาเงินสดของธนาคาร การประมาทเลินเล่อ และข้อยกเว้นความรับผิด
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานเงินและจำเลยที่ 3 เป็นเสมียนของธนาคารโจทก์สาขาท่ามะกาจำเลยทั้งสามได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจนับและรักษาเงินสดประจำวันร่วมกัน วันเกิดเหตุภายหลังจากเอาเงินสำรองจ่ายออกมาแล้ว จำเลยทั้งสามมิได้ใส่กุญแจตู้นิรภัยพร้อมกันทั้งสามดอกทั้งมิได้ปิดประตูห้องมั่นคง มิได้ใส่กุญแจห้องมั่นคง มิได้เก็บรักษาลูกกุญแจไว้กับตนเองตลอดเวลา อันเป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของโจทก์ซึ่งได้วางไว้ในขณะเกิดเหตุ การที่จำเลยทั้งสามฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 12 นาฬิกา ไม่มีการฝากถอนเงิน จึงเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้คนร้ายใช้อาวุธปืนขู่บังคับให้จำเลยที่ 2 ใช้ลูกกุญแจตู้นิรภัยซึ่งจำเลยที่ 1 ทิ้งไว้ไขตู้นิรภัยและเอาเงินสดในตู้นิรภัยไปได้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดดังกล่าว ตามระเบียบของโจทก์ให้พนักงานเงินยืมเงินจากผู้จัดการมาไว้สำรองจ่ายไม่เกินกว่าครึ่งหนึ่งของวงเงินสดที่สำนักงานเก็บรักษาไว้ได้เป็นประจำวัน แต่ในกรณีจำเป็นผู้จัดการจะให้ยืมเกินกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ โดยบันทึกเหตุผลไว้ในสมุดยืมเงินแม้จำเลยที่ 2 เก็บเงินสำรองจ่ายไว้ในลิ้นชักโต๊ะจำนวนเกินระเบียบของโจทก์ แต่เพราะมีผู้ฝากเงินหลายรายและจำเลยที่ 1 ผู้จัดการไม่อยู่ จำเลยที่ 2 ไม่อาจนำเงินมอบผู้จัดการได้ ทั้งทางปฏิบัติเมื่อมีลูกค้ามาติดต่อฝากเงินหลายรายเพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าจำเลยที่ 1 จึงอนุญาตให้จำเลยที่ 2 เก็บเงินสำรองจ่ายไว้ในลิ้นชักโต๊ะเกินกว่าจำนวนครึ่งหนึ่งของเงินในตู้นิรภัยได้ ตามระเบียบของโจทก์ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการที่จะบันทึกเหตุผลไว้ในสมุดยืมเงินในกรณีที่อนุญาตให้พนักงานเงินยืมเงินสำรองจ่ายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของเงินสดในตู้นิรภัย ไม่ใช่หน้าที่ของพนักงานเงิน การที่คนร้ายสามารถเอาเงินสดในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยเป็นผลโดยตรงจากการที่คนร้ายใช้อาวุธปืนขู่บังคับจำเลยที่ 2 ให้ต้องยอมคนร้ายเอาเงินในลิ้นชักโต๊ะไปได้ จำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดระเบียบและไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะเงินที่อยู่ในลิ้นชักโต๊ะ จึงไม่ต้องรับผิดในเงินจำนวนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เงินสดแสดงเพื่อหลอกลวงในการฉ้อโกง ไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
การที่จำเลยหลอกลวงขอซื้อสร้อยคอทองคำจากผู้เสียหายโดยนำเงินของกลางออกมาแสดงให้ผู้เสียหายดูแล้วนำไปซุกซ่อนไว้ที่อื่นและบอกผู้เสียหายว่าได้ชำระค่าสร้อยคอทองคำให้แล้วนั้น การแสดงเงินของกลางให้ผู้เสียหายดู ไม่เกี่ยวกับการกล่าวเท็จว่าได้ชำระเงินให้แล้ว ฉะนั้นเงินของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
of 3