คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8635/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกและการพิจารณาเงื่อนไขคุมประพฤติ รวมถึงเหตุร้ายแรงของการมีอาวุธปืนโดยไม่ชอบ
การคุมประพฤติโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย แม้จำเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นได้ ทั้งอาวุธปืนของกลางก็ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากมีการนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมากหลายรูปแบบนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่า จำเลยไม่เคยใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้ใด จำเลยไม่ได้นำอาวุธปืนของกลางไปทำร้ายผู้ใด จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาในศาลแขวง: เงื่อนไขการอนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (ฉบับที่ 4)ฯ โจทก์จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ต่อเมื่อกรณีเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 22 ทวิ คือ หากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "โจทก์อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย รับอุทธรณ์ สำเนาให้อีกฝ่าย ให้เจ้าพนักงานศาลส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ยังไม่ถือว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะในคำสั่งมิได้ระบุเหตุผลว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระราคาครบถ้วน ผู้ขายยังไม่ต้องมีกรรมสิทธิ์ขณะทำสัญญา
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกแก่ผู้ซื้อต่อเมื่อชำระราคาเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดไว้ครบถ้วนแล้วจึงถือว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ซึ่งกรรมสิทธิ์ยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าผู้ซื้อจะชำระราคาครบถ้วน ทรัพย์สินที่ซื้อขายโดยมีเงื่อนไขจะโอนกรรมสิทธิ์ในภายหน้ากันนั้น ผู้ขายอาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกขายล่วงหน้าได้ และเป็นหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อปฏิบัติการเป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว ผู้ขายจึงไม่จำต้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอยู่ในขณะที่ทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทโดยให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกันภายหน้า แม้ขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ สัญญาก็มีผลใช้บังคับได้ การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ยอมชำระราคาให้แก่โจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการรื้อถอนอาคาร ถือเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งของจำเลยที่เรียกค่าเสียหายเป็นค่ารื้อถอนอาคารที่จำเลยได้ก่อสร้างบนที่ดินตามฟ้องจากโจทก์เป็นฟ้องแย้งที่ขึ้นอยู่กับข้ออ้างตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยให้การ จำเลยก็ไม่ต้องรื้อถอนอาคารออกไป ค่าเสียหายตามฟ้องแย้งของจำเลยย่อมไม่เกิดขึ้น และศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ หากข้อต่อสู้ตามคำให้การฟังไม่ได้ ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนอาคารออกไป เมื่อนั้นค่าเสียหายที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจจะเกิดมีขึ้นได้ข้ออ้างตามฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องฟังผลของคดีเป็นสำคัญมิได้มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์ในขณะที่จำเลยฟ้องแย้ง เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งถือว่าเป็นฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามกฎหมายและการมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะ
ป.พ.พ. มาตรา 1461 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งเป็นเรื่องภายหลังการสมรสตามหมวด 2 เรื่อง เงื่อนไขแห่งการสมรส กล่าวคือ เมื่อสมรสกันแล้วหากฝ่ายใดปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 1461 ดังกล่าวก็จะเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4) หรือ (6) ที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจนำมาฟ้องร้องได้เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. และไม่มีคำพิพากษาของศาลให้หย่ากัน การสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จึงยังสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้หากโจทก์กับพลตำรวจตรี ว. จะมิได้อยู่ด้วยกันและมิได้ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันในระยะหลังก็มิได้มีผลต่อความสมบูรณ์ของการสมรสระหว่างโจทก์กับพลตำรวจตรี ว.โจทก์จึงยังเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของพลตำรวจตรี ว. อยู่ตลอดมา เมื่อจำเลยมาจดทะเบียนสมรสกับพลตำรวจตรี ว. ขณะที่พลตำรวจตรี ว. มีโจทก์เป็นคู่สมรสอยู่จึงเป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสในมาตรา 1452 และเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้ต่อมาพลตำรวจตรี ว. ถึงแก่ความตาย โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับตำรวจตรี ว. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งและคำพิพากษาต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยการวางค่าธรรมเนียมเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นรวม 2 ฉบับ และยื่นคนละคราวกัน โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีก่อน ส่วนอุทธรณ์คำพิพากษายื่นในภายหลัง เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้ สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีนั้นถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็จะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้จำเลยนำพยานเข้าสืบแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีซึ่งทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปด้วย จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ดังนั้นเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก่อนอุทธรณ์คำพิพากษา จำเลยก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางพร้อมอุทธรณ์คำสั่งให้ถูกต้องครบถ้วน และหากจำเลยได้วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้วครบถ้วนจำเลยก็ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมส่วนนี้ซ้ำอีกเมื่อยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำสั่งย่อมเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ทันที จำเลยจะอ้างว่าได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาไว้แล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางพร้อมอุทธรณ์ฉบับนี้หาได้ไม่ เพราะเป็นอุทธรณ์คนละฉบับและยื่นคนละคราวกัน ทั้งไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลชั้นต้นต้องรอสั่งอุทธรณ์ทั้งสองฉบับดังกล่าวพร้อมกัน และแม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ก็เป็นเวลาภายหลังที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไปแล้ว ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวกลับกลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234 ครบถ้วน มิเช่นนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งให้รับอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับล่าช้าออกไปและอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันยื่นขอรับชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข พ.ศ.ร.บ.ล้มละลาย ศาลอุทธรณ์และฎีกามีคำพิพากษายืน
เจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่ได้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95 เพราะตามคำขอรับชำระหนี้ระบุว่าเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 (3) เมื่อเจ้าหนี้มีประกันใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจทำการตรวจคำขอรับชำระหนี้ของเจ้ากนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ และมีอำนาจหมายเรียกเจ้าหนี้มาทำการสอบสวนเกี่ยวกับหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ว่าเจ้าหนี้มีประกันและมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่จริงหรือไม่ตามมาตรา 105 เจ้าหนี้จึงมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้างในคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความตามสัญญาจ้าง: สิทธิรับชำระหนี้มีเงื่อนไขการได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้
ข้อสัญญาจ้างว่าความที่ตกลงให้ผู้ว่าจ้างชำระค่าจ้างส่วนที่ 2 อีกร้อยละ 10 ของยอดหนี้ทุนทรัพย์ที่ฟ้องและจากทุกจำนวนที่ผู้รับจ้างได้ดำเนินการจนผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ เป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาในการกำหนดหลักเกณฑ์การคิดคำนวณค่าทนายความในส่วนที่ 2 ตามเจตนาของคู่สัญญา โดยกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องดำเนินการให้ผู้ว่าจ้างได้รับชำระหนี้ก่อน จึงจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 10 จากจำนวนเงินที่ผู้ว่าจ้างได้รับ แต่ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 10 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้องแต่ละคดี ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ และประกาศข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความฯ ทั้งไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
of 48