พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และ ป.พ.พ.มาตรา 867 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธความรับผิดของประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย ทำให้ไม่ถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคสองบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใดซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่นำมาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใดซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่นำมาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการแจ้งความคดีรถหาย ทำให้ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขกรมธรรม์
การที่ ฉ. เอารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปในครั้งเกิดเหตุแล้วไม่นำมาคืนภายในเวลาที่เคยยืมไปใช้ จำเลยที่ 1 ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของ ฉ. อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งความดำเนินคดีแก่ ฉ. โดยไม่ชักช้า แต่จำเลยที่ 1 กลับเพิ่งแจ้งความหลังจากที่ ฉ. เอารถยนต์ไปใช้แล้วนานถึง 6 เดือน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 3 จึงอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9520/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกันภัยซ้อน: หน้าที่แจ้งการเอาประกันภัยเพิ่ม และผลกระทบต่อความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยอาจทำสัญญาประกันภัยเป็นหลายรายในวัตถุเดียวกันได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งฝ่ายผู้รับประกันภัยจัดทำขึ้นเพราะเหตุที่ได้มีสัญญาประกันภัยต่อกัน
ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเงื่อนไขการรับประกันภัยว่า "ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการประกันภัยซึ่งได้มีไว้แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลังในทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้นี้กับบริษัทประกันภัยอื่น เว้นแต่ได้มีการแจ้งข้อความจริงดังกล่าวและผู้รับประกันภัยได้บันทึกซึ่งรายการประกันภัยนั้นไว้ในกรมธรรม์ฉบับนี้ก่อนการเกิดสูญเสียหรือการเสียหายนั้น มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะพ้นจากความรับผิดอันจะพึงมีขึ้นตามกรมธรรม์ฉบับนี้" จึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่เอาประกันภัยทรัพย์สินไว้แก่ผู้รับประกันภัยไปเอาประกันภัยเพิ่มแก่บริษัทประกันภัยอื่น จะต้องแจ้งข้อความจริงนั้นให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะต้องให้ผู้รับประกันภัยบันทึกรายการประกันภัยเพิ่มนั้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย การไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้งสองประการย่อมมีผลทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเงื่อนไขการรับประกันภัยว่า "ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบถึงการประกันภัยซึ่งได้มีไว้แล้วหรือที่จะมีขึ้นภายหลังในทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้นี้กับบริษัทประกันภัยอื่น เว้นแต่ได้มีการแจ้งข้อความจริงดังกล่าวและผู้รับประกันภัยได้บันทึกซึ่งรายการประกันภัยนั้นไว้ในกรมธรรม์ฉบับนี้ก่อนการเกิดสูญเสียหรือการเสียหายนั้น มิฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะพ้นจากความรับผิดอันจะพึงมีขึ้นตามกรมธรรม์ฉบับนี้" จึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่เอาประกันภัยทรัพย์สินไว้แก่ผู้รับประกันภัยไปเอาประกันภัยเพิ่มแก่บริษัทประกันภัยอื่น จะต้องแจ้งข้อความจริงนั้นให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะต้องให้ผู้รับประกันภัยบันทึกรายการประกันภัยเพิ่มนั้นไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย การไม่ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้งสองประการย่อมมีผลทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นจากความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
ป.วิ.พ. มาตรา 161 และ มาตรา 167 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ต้องสั่ง ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขในเรื่องนี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์สัญญาประกันภัย, การเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์, ความระมัดระวังของผู้เอาประกัน, การปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์
โจทก์นำรถยนต์คันที่หายเอาประกันไว้กับจำเลยโดยระบุให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. เป็นผู้รับประโยชน์ เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก สิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อได้แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญา ตราบใดที่ยังไม่ได้แสดงเจตนาดังกล่าว คู่สัญญาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิ ตามสัญญานั้นได้ เมื่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ฟ้องโจทก์ให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แสดงว่าได้สละเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว โจทก์และจำเลยจึงเป็นคู่สัญญามีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากสัญญาซึ่งกันและกันตามหลักทั่วไป และโจทก์มีสิทธิเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเองได้ จึงมี อำนาจฟ้อง
โจทก์เช่าสถานที่ของวัดเป็นที่จอดและอู่ซ่อมรถ บริเวณดังกล่าวมีประตูเข้าออกทางเดียว แม้ไม่มี พนักงานรักษาความปลอดภัย แต่ก็มีผู้ดูแล ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังในการสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชน พึงประพฤติตามพฤติการณ์แล้ว รถยนต์คันที่เอาประกันภัยสูญหายไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ และเมื่อทราบเหตุโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งจำเลยและแจ้งความต่อพนักงานตำรวจทันที แต่ขาดหลักฐาน การมอบอำนาจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ทำให้การแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรล่าช้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงยังต้องรับผิด
โจทก์เช่าสถานที่ของวัดเป็นที่จอดและอู่ซ่อมรถ บริเวณดังกล่าวมีประตูเข้าออกทางเดียว แม้ไม่มี พนักงานรักษาความปลอดภัย แต่ก็มีผู้ดูแล ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังในการสงวนทรัพย์สินเช่นวิญญูชน พึงประพฤติตามพฤติการณ์แล้ว รถยนต์คันที่เอาประกันภัยสูญหายไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ และเมื่อทราบเหตุโจทก์ได้โทรศัพท์แจ้งจำเลยและแจ้งความต่อพนักงานตำรวจทันที แต่ขาดหลักฐาน การมอบอำนาจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. ทำให้การแจ้งความเป็นลายลักษณ์อักษรล่าช้า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ปฏิบัติผิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยขนส่ง: การสูญหาย/เสียหายต้องเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่ไม่ได้รับชำระค่าสินค้า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 883 และตามกรมธรรม์ประกันภัยมุ่งประสงค์จะคุ้มครองวินาศภัยทุกอย่างซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่ของที่ขนส่ง ในระหว่างเวลาตั้งแต่ผู้ขนส่งได้รับของไปจนได้ส่งมอบของนั้นให้แก่ผู้รับตราส่ง คือการคุ้มครองบรรดาความเสี่ยงภัยทั้งหลายที่เป็นการสูญหายหรือเสียหายทุกประเภทที่มีต่อสินค้าที่เอาประกันภัยไว้นั่นเอง เมื่อปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยที่ 2 ได้ขนส่งไปถึงประเทศอุรุกวัยอันเป็นจุดหมายปลายทางโดยปลอดภัย โดยไม่มีการสูญหายหรือเสียหาย และผู้ซื้อก็ได้รับสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว แม้ผู้ขนส่งจะได้จ่ายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อไปโดยผู้ซื้อมิได้ชำระราคาสินค้าแก่ธนาคารผู้รับตราส่งก่อนตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ก็ตามก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่สินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายหรือเสียหายตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย อันจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นก็เป็นเพียงนายหน้าชี้ช่องให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากันเมื่อโจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์ยอมชำระเบี้ยประกันภัยแก่จำเลยที่ 2 แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 848 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นก็เป็นเพียงนายหน้าชี้ช่องให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากันเมื่อโจทก์ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์ยอมชำระเบี้ยประกันภัยแก่จำเลยที่ 2 แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกชื่อของอีกฝ่ายหนึ่งให้รู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 848 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์: ความคุ้มครองนอกเหนือค่าเสียหายเบื้องต้น
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 15ที่บัญญัติว่า "กรมธรรม์ประกันภัย...ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในบทแห่ง พ.ร.บ.นี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้" นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ฉบับนี้เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขความรับผิดของผู้รับประกันภัยที่เป็นเงื่อนไขความรับผิดเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนนอกจากค่าเสียหายเบื้องต้น ย่อมไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 15 ดังกล่าวและเมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แม้ผู้เอาประกันภัยผิดเงื่อนไข
จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ก่อให้เกิดขึ้น ข้อที่ว่าจำเลยที่ 4รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้จากผู้ใดเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วแม้โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัย ก็ไม่ทำให้เป็นฟ้องเคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์-ประกันภัยโดยไม่แจ้งเหตุให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทราบทันที ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 4 จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 หาได้ไม่
แม้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์-ประกันภัยโดยไม่แจ้งเหตุให้จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทราบทันที ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 4 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นคู่สัญญา จำเลยที่ 4 จะยกเหตุดังกล่าวมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองประกันภัยรถยนต์: ผู้ขับขี่มีใบอนุญาตถูกต้อง แม้กรมธรรม์ระบุเงื่อนไขเพิ่มเติม
ห้างซึ่งโจทก์เป็นผู้ช่วยผู้จัดการได้มอบรถยนต์ให้โจทก์ใช้โดยให้โจทก์มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบตลอดจนทำการซ่อมแซมด้วย หากรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องซ่อมแซม โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์ดังกล่าวที่จะเอาประกันภัยรถยนต์ดังกล่าวกับจำเลยได้
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งยกเว้นความรับผิดของจำเลยข้อหนึ่งมีว่าการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเมื่อผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบกจึงมิใช่บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิดไม่จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่มิได้ระบุเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจดทะเบียนไว้ต่อกรมตำรวจ ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งยกเว้นความรับผิดของจำเลยข้อหนึ่งมีว่าการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในการขับรถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้นเมื่อผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ทุกประเภทจากกรมการขนส่งทางบกจึงมิใช่บุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับยกเว้นความรับผิดไม่จำเลยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างเหตุที่มิได้ระบุเป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยว่ารถยนต์คันเกิดเหตุจดทะเบียนไว้ต่อกรมตำรวจ ผู้ขับขี่จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจจึงจะได้รับความคุ้มครองหาได้ไม่
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่าศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ยังไม่แน่นอนและเกินกว่าความเป็นจริง หาได้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอเพราะเหตุโจทก์มิได้ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าซ่อมแก่โจทก์ดังที่จำเลยอ้างในชั้นฎีกาไม่ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็ไม่เห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัย