พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4379/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและบ้าน แม้ไม่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือขออนุญาตจัดสรร ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกง หากมีเจตนาดำเนินการจริง
จำเลยทั้งสองร่วมกับ จ. และ ว. เป็นหุ้นส่วนร่วมกันจัดสรรที่ดินพร้อมสร้างอาคารพาณิชย์และทาวน์เฮาส์ขายให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า โครงการหมู่บ้านศรีเมืองทองฯ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ก็ไม่ใช่สาระสำคัญจะบ่งชี้ได้ว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะฉ้อโกงโจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 และประชาชน การที่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 เข้าจองซื้อที่ดินและบ้านของโครงการดังกล่าว ก็ได้รับการชักชวนจาก จ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของจำเลยทั้งสองและเป็นการชักชวนกันของโจทก์ร่วมทั้งแปด หาใช่เป็นเพราะเชื่อถือว่าโครงการดังกล่าวจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทั้งจำเลยทั้งสองก็ได้ดำเนินการก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์ไปแล้วบางส่วน และยังดำเนินการแบ่งแยกที่ดินจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม มีการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมของโครงการ และได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ให้แก่ผู้ซื้อบางส่วนแล้ว แม้ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่สามารถก่อสร้างทาวน์เฮาส์และอาคารพาณิชย์จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ร่วมที่ 2 และที่ 5 ได้ครบตามสัญญาทุกรายก็เป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงไม่ใช่การจัดหางานผิดกฎหมาย ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีคู่ความอ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงว่า จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหาคนไปทำงานในประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นความเท็จเพราะความจริงจำเลยไม่สามารถจัดหางานให้แก่คนงานในต่างประเทศได้ แสดงว่าจำเลยไม่ประสงค์จะจัดหางานให้ผู้เสียหาย จำเลยเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติ จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้เงินกู้ ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกงตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายโดยออกเช็คล่วงหน้าให้ผู้เสียหายไว้ หากจำเลยนำเงินไปชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็จะคืนเช็คแก่จำเลย ถ้าจำเลยไม่นำเงินไปชำระหนี้ผู้เสียหายจึงจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่สามารถที่จะเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ ดังนี้ เป็นการออกเช็คเพื่อเป็นประกันในการชำระหนี้เงินกู้ไม่ใช่เป็นการชำระหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกง vs. จัดหางาน: การพิจารณาความผิดฐานจัดหางานเมื่อปรากฏเจตนาฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดย ทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายว่ามีงานกรรมกรก่อสร้างที่ประเทศ สิงคโปร์ ได้ รับค่าจ้างเดือน ละ 6,500 บาท อันเป็นเท็จ ซึ่ง ความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาและไม่สามารถจะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ ได้ ตาม ฟ้อง โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐาน จัดหางานโดย ไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ดังนี้ จำเลยมีเจตนาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายเท่านั้น ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใด ยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงค่าภาษีเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร แม้มีการระบุประกาศกระทรวงการคลังที่ยกเลิกแล้ว
แม้พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 16บัญญัติให้ถือว่าการกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 และ 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ก็ตาม แต่การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ต้องได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 612-613/2511)
การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 6/2519 ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์
การที่จำเลยขอชำระอากรขาเข้าสำหรับสินค้าหรือของรายพิพาท โดยระบุว่าอากรปกติในพิกัดดังกล่าวจะต้องเสียอัตราร้อยละ 15 แต่ได้รับลดหย่อนให้เสียในอัตราร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.4/2517 แม้ประกาศดังกล่าวนี้จะถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 6/2519 ก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงประกาศกระทรวงการคลังที่ถูกยกเลิกดังกล่าวเป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นข้อความเท็จ แต่กรณีจะเป็นความไม่สมบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดหรือไม่ ไม่จำต้องวินิจฉัย เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำฟ้องของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการกู้เงิน ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกงตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยมิได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่ออกเพื่อเป็นประกันเงินกู้ ป. โจทก์เป็นผู้ทรงโดยได้รับเช็คมาจาก ป. เช็คถึงกำหนดธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คดีที่ฎีกาเฉพาะข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐาน ในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 แต่ถ้าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาหาจำเป็นต้องฟังตามไม่
คดีที่ฎีกาเฉพาะข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐาน ในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222 แต่ถ้าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาหาจำเป็นต้องฟังตามไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องฟังจากพยานหลักฐาน การซื้อขายข้าวสารและการชำระหนี้ด้วยเช็ค
จำเลยจะมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงผู้เสียหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาโจทก์จึงต้องห้าม
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อศาลวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีความหมายว่าจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในข้างสารทั้งหมดไปจากผู้เสียหาย-โดยการซื้อขายตามปกติ เพียงแต่เช็คที่ออกให้เป็นการชำระราคาข้างสารนั้น จำเลยออกให้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และออกให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ดังนี้ หนี้ค่าข้าวสารซึ่งผู้เสียหายได้ส่งมอบให้แก่จำเลย-ยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ศาลจะสั่งให้คืนข้างสารของกลางแก่ผู้เสียหาย และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวสารซึ่งไม่ได้ถูกยึดมาเป็นของกลางไปในคดีนี้หาได้ไม่
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อศาลวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีความหมายว่าจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในข้างสารทั้งหมดไปจากผู้เสียหาย-โดยการซื้อขายตามปกติ เพียงแต่เช็คที่ออกให้เป็นการชำระราคาข้างสารนั้น จำเลยออกให้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และออกให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ดังนี้ หนี้ค่าข้าวสารซึ่งผู้เสียหายได้ส่งมอบให้แก่จำเลย-ยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ศาลจะสั่งให้คืนข้างสารของกลางแก่ผู้เสียหาย และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาข้าวสารซึ่งไม่ได้ถูกยึดมาเป็นของกลางไปในคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องฟังจากพยานหลักฐาน ศาลไม่รับวินิจฉัยฎีกาเกินกรอบ
จำเลยจะมีเจตนาเพื่อฉ้อโกงผู้เสียหายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องฟังจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาโจทก์จึงต้องห้าม
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อศาลวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีความหมายว่าจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในข้าวสารทั้งหมดไปจากผู้เสียหายโดยการซื้อขายตามปกติ เพียงแต่เช็คที่ออกให้เป็นการชำระราคาข้าวสารนั้น จำเลยออกให้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และออกให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ดังนี้ หนี้ค่าข้าวสาร ซึ่งผู้เสียหายได้ส่งมอบให้แก่จำเลยยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321วรรคสาม ผู้เสียหาย ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ศาลจะสั่งให้คืนข้าวสารของกลางแก่ผู้เสียหาย และให้จำเลยคืนหรือ ใช้ราคาข้าวสารซึ่งไม่ได้ถูกยึดมาเป็นของกลางไปในคดีนี้หาได้ไม่
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกง และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อศาลวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งมีความหมายว่าจำเลยได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในข้าวสารทั้งหมดไปจากผู้เสียหายโดยการซื้อขายตามปกติ เพียงแต่เช็คที่ออกให้เป็นการชำระราคาข้าวสารนั้น จำเลยออกให้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และออกให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ ดังนี้ หนี้ค่าข้าวสาร ซึ่งผู้เสียหายได้ส่งมอบให้แก่จำเลยยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321วรรคสาม ผู้เสียหาย ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ศาลจะสั่งให้คืนข้าวสารของกลางแก่ผู้เสียหาย และให้จำเลยคืนหรือ ใช้ราคาข้าวสารซึ่งไม่ได้ถูกยึดมาเป็นของกลางไปในคดีนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินที่เจตนาฉ้อโกงเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับตามคำพิพากษา
จำเลยโกรธเคืองโจทก์ที่ฟ้องเรียกที่ดินที่ยกให้กลับคืน เพราะเหตุเนรคุณ จึงได้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์ไปยังผู้ร้องทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โดยฝ่ายผู้ร้องก็น่าจะได้รู้เท่าถึงความจริงที่โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วยเช่นนี้ โจทก์จึงชอบที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยและผู้ร้องเสียได้