พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ไม่ต้องฟ้องเจ้าของเครื่องหมายการค้า
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 65 วรรคสอง ประกอบมาตรา 61 ไม่จำต้องฟ้องเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้า: แม้มิได้ผลิตเองก็มีอำนาจฟ้องละเมิดได้
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปและคำว่า WAXY ใช้กับสินค้าน้ำยาเคลือบเบาะหนัง จำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ไปใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันโดยไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกฎหมาย เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายใด ๆ ที่โจทก์ได้รับจากการกระทำของจำเลยได้ แม้โจทก์จะเป็นผู้ผลิตสินค้าดังกล่าวหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสินค้ามีเครื่องหมายการค้าแล้วไปขายต่อ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
แม้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 44 จะให้การคุ้มครองสิทธิของโจทก์ที่ 1 ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "WAHL" ตามที่จดทะเบียนไว้ก็ตามก็เป็นเพียงคุ้มครองให้โจทก์ที่ 1 เพียงผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าปัตตะเลี่ยนตามที่จดทะเบียนไว้ และมีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ไปใช้โดยมิชอบเท่านั้น และเมื่อพิจารณาประกอบกับบทบัญญัติในมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่กำหนดให้เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น อันมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายกาค้ากับสินค้าของผู้อื่นและเพื่อระบุว่าสินค้านั้นเป็นของเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเป็นประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้าของตน ซึ่งการที่มีผู้ซื้อสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไปก็เป็นเรื่องปกติธรรมดาในการประกอบการค้าดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้จำหน่ายสินค้าปัตตะเลี่ยนวอห์ลของตนไปในครั้งแรกซึ่งเป็นการใช้สิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้า โดยโจทก์ที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้าจากราคาสินค้าปัตตะเลี่ยนวอห์ลที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ที่ 1จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าปัตตะเลี่ยนวอห์ลซึ่งประกอบการค้าตามปกตินำสินค้าดังกล่าวที่ซื้อมาออกจำหน่ายต่อไปอีก แม้กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยซื้อจากผู้ขายซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์และนำมาจำหน่ายจะมีซองกระดาษที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 ห่อหุ้มกล่อง กับข้อความว่า "ของแท้ต้องมีใบรับประกัน 1 ปี" และมีใบรับประกันที่มีเครื่องหมายการค้าเดียวกันระบุชื่อที่อยู่ของบริษัท พ. ว่าเป็นศูนย์บริการ ก็ยังคงแสดงว่า สินค้าปัตตะเลี่ยนที่อยู่ในกล่องนั้นเป็นของโจทก์ที่ 1 อยู่นั่นเอง โดยบริษัท พ. เป็นเพียงผู้ให้บริการรับซ่อมปัตตะเลี่ยนเท่านั้นมิได้มีลักษณะเป็นการใช้ข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงว่าสินค้าดังกล่าวเป็นของบริษัท พ. หรือเป็นของจำเลยผู้นำมาจำหน่ายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยที่ซื้อสินค้าปัตตาเลี่ยนวอห์ลของโจทก์ที่ 1 จากตัวแทนของโจทก์ที่ 1 ในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าอันเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าในการฟ้องเรียกค่าเสียหาย แม้ยังมิได้จดทะเบียนในไทย
จำเลยฎีกาว่าขณะฟ้องคดีโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46นั้นปัญหานี้แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยจึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ฟ้องของโจทก์และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยเมื่อจำเลยผลิตสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกจำหน่ายทำให้ผู้ซื้อสินค้าของจำเลยเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายดังนี้โจทก์ย่อมเป็นฝ่ายได้รับความเสียหายและมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา46วรรคสอง ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการลวงขายเป็นการละเมิดต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าตามที่นายทะเบียนอนุญาตมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตโดยสุจริตจำเลยได้ระงับการผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้วและตามฎีกาของจำเลยก็รับว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อ้างว่าผลิตเป็นตัวอย่างเท่านั้นดังนั้นข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งใช้คำว่า "Sunferrox" นั้นมีอักษรโรมันเหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้คำว่า "BAYFERROX" และ "Bayferrox" อยู่ถึง6ตัวคือคำว่า "ferrox" ซึ่งอ่านออกเสียงเหมือนกันว่า "เฟอร์รอกซ์"ต่างกันเพียงอักษร3ตัวแรกเท่านั้นโดยคำว่า "ferrox" ตามที่ปรากฏบนกระสอบบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กเหมือนกันทั้งเครื่องหมายการค้าคำว่า "SUNROX" ของจำเลยก็วางตัวอักษรอยู่ในลักษณะไขว้กันเป็นกากบาทอยู่ภายในวงกลมเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งใช้คำว่า "BAYER" โดยมีการจัดวางตัวอักษรในลักษณะเดียวกันกับของโจทก์ทุกประการกระสอบบรรจุสินค้าของจำเลยใช้รหัสสินค้าคำว่า "120N" ควบคู่กันไปเช่นเดียวกับรหัสสินค้าคำว่า "120N" ซึ่งปรากฎว่าอยู่ที่กระสอบบรรจุสินค้าของโจทก์จำเลยได้ระบุไว้ที่กระสอบบรรจุสินค้าของจำเลยว่าเป็น ไอออนออกไซด์(IronOxide) เช่นเดียวกันกับที่ปรากฎบนกระสอบสินค้าของโจทก์สินค้าของโจทก์และจำเลยบรรจุอยู่ในกระสอบซึ่งมีสีสันและขนาดใกล้เคียงกันทั้งระบุไว้ที่กระสอบบรรจุสินค้าว่าสินค้ามีน้ำหนัก25กิโลกรัมเหมือนกันซึ่งหากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นต่างเวลากันผู้ซื้อก็อาจจะไม่ทันสังเกตถึงข้อแตกต่างได้ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนและที่ใช้กับสินค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วและที่ใช้กับสินค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว แม้จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่1โดยอ้างว่าเป็นสีและบรรดาสินค้าอื่นๆทั้งมวลซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ก็ตามแต่เวลาจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายกลับปรากฏว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้า ไอออนออกไซด์อันเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกที่4เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ในสินค้าจำพวกดังกล่าวโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้านี้สำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าวและมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7425/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ผู้จดทะเบียนย่อมไม่มีสิทธิมากกว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
กรณีการระบุพยานเพิ่มเติมไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องส่งสำเนาเอกสารให้ก่อนวันสืบพยาน3วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90(เดิม)เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งจะยื่นคำร้องและได้รับอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมวันที่19มกราคม2530ซึ่งได้มีการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองในวันเดียวกันและได้นำสืบพยานเอกสารดังกล่าวในวันที่3กุมภาพันธ์2530ซึ่งเป็นการส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยทั้งสองก่อนวันสืบพยานโจทก์ที่เหลือต่อถึง14วันมิใช่เป็นกรณีเอาเปรียบจำเลยทั้งสองการที่ศาลรับฟังเอกสารดังกล่าวจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว การที่จำเลยที่1เดินทางไปยังเมืองฮ่องกงเพื่อติดต่อธุรกิจการค้าก็ไปพบกุญแจตราGOLDDOOR ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าสวยดีและเป็นที่ประทับใจจึงนำตราดังกล่าวมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้กับกุญแจของจำเลยที่1แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่1มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่าGOLDDOOR ขึ้นเองแต่ไปนำเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นมาจดทะเบียนโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าGOLDDOOR และอักษรจีนอ่านว่ากิมหมึ่งไป๊ กับเส้นลายประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันGD และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองโจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลยทั้งสองแม้จำเลยที่1จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแต่โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้นจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีขนาดเท่ากันมีเครื่องหมายการค้าเป็นตัวอักษรโรมันอักษรจีนตัวเลขและสีสันเช่นเดียวกันการวางตำแหน่งของตัวอักษรตัวเลขเครื่องหมายและรูปอักษรประดิษฐ์อยู่ในตำแหน่งเดียวกันทุกอย่างคงแตกต่างกันเพียงว่าที่กล่องบรรจุสินค้าของโจทก์มีข้อความว่าMADEINCHINAซึ่งพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีดำอยู่บนพื้นสีแดงด้วยส่วนกล่องบรรจุสินค้าของจำเลยทั้งสองไม่มีข้อความดังกล่าวซึ่งข้อความดังกล่าวพิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็กมากหากไม่พิจารณาโดยพินิจพิเคราะห์อย่างแท้จริงจะไม่มีทางทราบว่ากล่องใดเป็นสินค้าของโจทก์กล่องใดเป็นสินค้าของจำเลยทั้งสองโจทก์ส่งสินค้ากุญแจของโจทก์มาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2524จำเลยทั้งสองเพิ่งผลิตสินค้ากุญแจของจำเลยทั้งสองออกจำหน่ายเมื่อพ.ศ.2526จำเลยที่1ได้ไปพบเห็นสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าGOLDDOOR ที่เมืองฮ่องกง แล้วจำเลยที่1นำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจดทะเบียนในประเทศไทยแสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาจะลวงให้สาธารณชนหลงผิดเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยทั้งสองว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำหน่ายสินค้าของโจทก์ได้น้อยลงโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา29วรรคสอง เมื่อฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแม้โจทก์จะนำสืบไม่พอให้ฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายถึงจำนวนที่อ้างในคำฟ้องศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่า ผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคสอง (1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่า BADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่า BIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่า BIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า แม้ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ก็มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการขายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น โดยอายุความไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ในประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย และโจทก์ได้จดทะเบียนในประเทศไทยแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะขายสินค้าตามเครื่องหมายการค้านั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ติดมาในประเทศไทย เป็นเหตุให้การขายของโจทก์ลดลง ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ อายุความตามสิทธิของโจทก์ที่ขอให้ห้ามจำเลยมิให้จำหน่ายรวมทั้งห้ามสั่งหรือนำเข้าซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มิใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่มีเครื่องหมายคล้ายกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมาย
โจทก์จำเลยสั่งสินค้าชนิดเดียวกันจากบริษัทในต่างประเทศแห่งเดียวกันและบริษัทติดเครื่องหมาย "ฮิท" (Hit) ในสินค้านั้นมา แต่เครื่องหมายไม่เหมือนกับที่จำเลยจดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและสินค้าที่จำเลยสั่งมา จำเลยให้บริษัททำเครื่องหมายแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ดังนี้ การที่โจทก์สั่งสินค้าเครื่องหมาย "ฮิท" (Hit) ตามธรรมดา (ซึ่งไม่เหมือนกับที่จำเลยสั่ง) เข้ามาจำหน่ายไม่เป็นการละเมิดต่อกิจการจำเลย