พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์ของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีเช่าซื้อ โดยแยกหนี้ค่าเช่าซื้อออกจากหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นหนี้ที่เกิดจากจำเลยค้างชำระหนี้ค่าเช่าซื้อต่อผู้ร้อง ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกจากจำเลยเป็นการที่ผู้ร้องใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของผู้ใช้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินจากจำเลยในกรณีจำเลยผิดสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกสัญญาโดยปริยาย หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมจึงเป็นหนี้ที่ผู้ร้องฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่จำเลยค้างชำระก่อนเลิกสัญญา ส่วนการที่ผู้ร้องยึดรถบรรทุกกลับคืนมาแล้วนำออกจำหน่ายหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวต่อไปในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเลิกสัญญา หนี้ทั้งสองกรณีดังกล่าวจึงเป็นหนี้คนละส่วนกัน ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่นๆ ของจำเลย ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้าเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี และสิทธิในการยื่นคำร้องก่อนวันขายทอดตลาด
คำร้องเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีอย่างหนึ่งซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และตามบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้นศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลชั้นต้น ส่วนศาลจังหวัดปทุมธานีเป็นเพียงศาลที่บังคับคดีแทนการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่าการขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดมิได้ห้ามมิให้ยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาด ทั้งสิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เกิดมีขึ้นตั้งแต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ยังไม่มีสิทธิดังกล่าว ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดจึงไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่าการขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดมิได้ห้ามมิให้ยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาด ทั้งสิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เกิดมีขึ้นตั้งแต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ยังไม่มีสิทธิดังกล่าว ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดจึงไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการบังคับคดีและการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องก่อนวันขายทอดตลาด
คำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีอย่างหนึ่ง ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และตามบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลชั้นต้น ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้น มิใช่ยื่นต่อศาลที่บังคับคดีแทน ทั้งมาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่า การขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการขอเฉลี่ยทรัพย์
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539 หมวด 3 ส่วนที่ 2 ข้อ 15.1 และ 15.3 เป็นระเบียบที่ว่าด้วยเรื่องหลักเกณฑ์การนำเครดิตภาษีที่เหลือยกไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนพ.ร.ฎ.ออกตามความใน ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 242) พ.ศ. 2534 ก็เป็นเรื่องการนำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือนภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 กล่าวคือ ต้องคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อให้ผู้ประกอบการชำระภาษีเท่ากับส่วนต่างนั้น หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายให้เป็นเครดิตภาษีและให้ผู้ประกอบการนั้นมีสิทธิได้รับคืนภาษีหรือนำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามส่วน แต่ปรากฏว่าในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนภาษีมูลค่าเพิ่มพฤศจิกายน 2540 เจ้าพนักงานของผู้ร้องนำยอดเครดิตภาษีที่จำเลยแสดงในแบบแสดงรายการภาษีมูลประจำเดือนภาษีพฤศจิกายน 2540 จำนวน 152,578.72 บาท มาเป็นฐานในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบ การที่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงมีผลทำให้จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลและถือว่าหนี้ตามจำนวนที่ประเมินนั้นเป็นอันยุติ แต่จะนำมาใช้ยันแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหาได้ไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเฉลี่ยทรัพย์จากเงินฝากเมื่อทรัพย์สินอื่นไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินทั้ง 31 แปลง ที่ผู้ร้องนำยึดมีราคาประเมินเพียง 1,274,375 บาท และผู้ร้องอายัดเงินฝากของจำเลยไว้อีก 561,353.06 บาท รวมแล้วไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งให้จำเลยชำระเงินจำนวน 11,371,855 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ร้องโดยสิ้นเชิง ถือได้ว่าผู้ร้องไม่สามารถเอาชำระหนี้ได้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสอง ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้ผู้ร้องเฉลี่ยทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขอเฉลี่ยทรัพย์จากการอายัดเงิน: เริ่มเมื่อมีการจัดสรรเงินจริง ไม่ใช่วันที่ส่งเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งหมด 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา โดยทำเป็นหนังสือแจ้งอายัดไป รวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินให้ตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียว แต่มิได้ระบุว่าส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้มีการส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวนดังกล่าวให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาสิบสี่วันจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไป ให้กรมบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์และการเฉลี่ยทรัพย์: ระยะเวลาการยื่นคำร้องเริ่มนับเมื่อมีการจัดสรรเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์คือคดีนี้ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยทำหนังสือแจ้งอายัดไปยังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยรวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียวโดยชำระเป็นเช็คจำนวน 1 ฉบับ แต่มิได้ระบุว่าเงินจำนวนดังกล่าวส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ดังนั้น ในวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินไปให้กรมบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการส่งเงินที่แจ้งอายัดเข้ามาในคดีใดบ้าง จำนวนเท่าใด และจะต้องไปขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวในคดีอื่นหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีหมายเลขแดงที่ ย.711/2544 และคดีของโจทก์คดีนี้แล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงทราบว่าคดีของผู้ร้องทั้งสองไม่มีการส่งเงินให้ตามที่แจ้งอายัดไว้ จึงต้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้ กรณีต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้ส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวน 474,087.25 บาท ให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว หาใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไปให้บังคับคดีไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 และ 30 กรกฎาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการเฉลี่ยทรัพย์ – ลูกหนี้ร่วมรับผิดไม่มีสิทธิคัดค้าน
ป.วิ.พ. มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นเพื่อให้ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยเท่าเทียมกัน ดังนั้น ข้ออ้างที่จะโต้แย้งคัดค้านคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้อื่นว่าจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่นนอกจากทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดไว้ในคดีนี้ที่เพียงพอจะชำระหนี้ได้ จึงเป็นข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วยกัน เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อโจทก์ ทั้งยังปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิคัดค้านการขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9846/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หลังศาลออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยสั่งอายัดเงิน 450,000 บาท ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากเทศบาลเมือง ส. และเทศบาลเมือง ส. ได้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งอายัด ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(2) เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีแล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2541 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี นับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวก่อนสิ้นระยะเวลา14 วันนับแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดีอันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 14 มกราคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ผู้ร้องอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8900/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับคดีและการชำระหนี้: การงดการขายทอดตลาดและการขอเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินของจำเลยทั้งสิบสองแปลงโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา 149 แต่ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมย่อมตกอยู่แก่คู่ความที่แพ้คดีซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีด้วยตามมาตรา 161 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระ แม้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม การบังคับคดีจึงต้องดำเนินต่อไป
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290
โจทก์มิใช่เจ้าหนี้จำนองของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 289 ได้ ส่วนหากคำร้องดังกล่าวจะถือเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290 ได้นั้น โจทก์ต้องแสดงให้ศาลเห็นว่าโจทก์ไม่สามารถเอาชำระได้จากทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลย แต่ตามคำร้องของโจทก์ไม่ได้ความเช่นนั้น จึงถือไม่ได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ตามมาตรา 290