พบผลลัพธ์ทั้งหมด 227 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีเช่า: ชอบด้วยกฎหมายหากคุ้มครองโจทก์จากการเช่าช่วงและการปลูกสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสิบเจ็ดและบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ แต่จำเลยผิดสัญญาเช่าเพราะนำทรัพย์สินของโจทก์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์จึงยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสิบเจ็ดนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยทั้งสิบเจ็ดต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1868/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวกรณีผิดสัญญาเช่า: ศาลชอบธรรมที่ห้ามเช่าช่วงเพื่อคุ้มครองสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ เนื่องจากจำเลยผิดสัญญาโดยนำทรัพย์สินไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง และยังปลูกสร้างอาคารหรือยินยอมให้ผู้อื่นปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาต การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยมิให้นำทรัพย์สินของโจทก์ออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงและให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามจำเลยนำทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องออกให้บุคคลอื่นเช่าช่วงจนกว่าคดีถึงที่สุด เป็นคำสั่งที่ออกภายในขอบเขตตามความจำเป็นเพื่อคุ้มครองโจทก์มิให้เสียหายจากการกระทำผิดสัญญาของจำเลยต่อไปจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ประกอบมาตรา 255
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าเนื่องจากผิดสัญญาต่อเติมอาคารและเช่าช่วง สิทธิในการขับไล่และการสิ้นสุดของสัญญา
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าอันเนื่องมาจากจำเลยต่อเติมอาคารที่เช่าและให้บุคคลอื่นเช่าช่วงอาคารอันเป็นการผิดสัญญา โดยกำหนดให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2543 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างจำนวน 2 งวด ภายใน 15 วัน หากไม่ชำระให้ถือว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเป็นเพราะเหตุจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยการต่อเติมอาคารที่เช่าและนำอาคารที่เช่าไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วง ไม่ใช่เป็นเพราะจำเลยค้างชำระค่าเช่า เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วสัญญาเช่าย่อมเป็นอันสิ้นผลผูกพัน จำเลยจึงต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารที่เช่าคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยภายในระยะเวลาที่โจทก์กำหนด การที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างหลังจากที่โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยแล้ว แม้จำเลยจะได้ชำระค่าเช่าที่ค้างภายในกำหนดระยะเวลาตามหนังสือของโจทก์ ก็หามีผลทำให้สัญญาเช่าที่สิ้นผลผูกพันไปแล้วกลับมีผลผูกพันขึ้นมาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่ของผู้เช่าเดิม แม้จะมีการโอนสิทธิการเช่าให้ผู้อื่น
เดิมโจทก์เช่าอาคารพิพาทจากสุขาภิบาลแล้วให้จำเลยเช่าช่วงมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2536 เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์จะโอนสิทธิการเช่าอาคารให้แก่ ส. ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2540 ก่อนฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยอาจใช้สิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าเรียกให้จำเลยส่งมอบอาคารพิพาทแก่โจทก์ได้ เพื่อโจทก์จะได้ส่งมอบอาคารพิพาทให้แก่ผู้รับโอนสิทธิการเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วงและการส่งมอบทรัพย์สินที่ซ่อมแซมดีแล้วเมื่อมีการโอนสิทธิเช่า
การที่วัด ป. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้โอนย่อมมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่านั้นในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วแก่โจทก์ที่ 1 เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัด ป. ยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยยอมรับว่า โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เช่าตึกแถวพิพาทจากวัด ป. และจำเลยได้ทำสัญญาเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 แล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และส่งเอกสารสัญญาเช่านั้นเป็นพยานหลักฐาน ดังนั้น แม้สัญญาเช่าที่โจทก์ทั้งสองอ้างจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงแก่จำเลยโดยไม่ชอบนั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3682/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า - การบอกเลิกสัญญา - เงื่อนเวลา - การก่อสร้างอาคาร - การเช่าช่วง - สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญาเช่าที่ดินกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 9,000 บาท แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ไม่ได้ใช้ที่ดินที่ให้จำเลยเช่าเดือนละ 20,000 บาท จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ได้เสียหายในการไม่ได้ใช้ที่ดินถึงเดือนละ 20,000 บาท ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กลับอุทธรณ์โต้แย้งว่าศาลชั้นต้นจะนำข้อเท็จจริงที่จำเลยนำที่ดินไปให้บุคคลอื่นเช่าช่วงในอัตราค่าเช่าเดือนละ 150,000 บาท มาเป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไม่ได้ จะต้องกำหนดค่าเสียหายตามอัตราค่าเช่าที่กำหนดในสัญญาเช่า โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่อาจนำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าในอัตราค่าเช่าเดือนละ 20,000 บาท ได้ จึงมีเหตุผลเชื่อได้ว่าขณะฟ้องคดีนี้ที่ดินที่จำเลยเช่าอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 10,000 บาท โจทก์จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างสำนักงานและโรงงาน โดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่ายอมให้สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของโจทก์ โดยมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้
หลังจากทำสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ยอมก่อสร้างอาคารลงในที่ดินที่เช่า โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทำการก่อสร้างหลายครั้ง จำเลยก็เพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่า กรณีดังกล่าวนิติกรรมส่วนที่โจทก์จะได้รับประโชน์ตอบแทนตามสัญญานั้นเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้ คือ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างจะตกเป็นของโจทก์ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว โจทก์จึงไม่อาจทวงถามให้จำเลยปฏิบัติตามนิติกรรมนั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง ได้ และการที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในที่ดินก่อนที่จะครบกำหนดเวลาเช่านั้น แม้จำเลยจะไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ก็ไม่อาจอาศัยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 387 มาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยได้ เพราะโจทก์มิได้ปฏิบัติผิดสัญญาเนื่องจากตามสัญญามิได้กำหนดระยะเวลาไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ให้เช่าไม่สามารถส่งมอบห้องพักและทำสัญญาเช่าช่วงได้
จำเลยให้การในข้อที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ยอมไปทำการจดทะเบียนการเช่าช่วงหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเสร็จตามสัญญาซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์และจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพราะโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอา ระยะเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญตามข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา ถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว
ตามสัญญาจองสิทธิการเช่าช่วงข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า "ผู้ให้เช่า (จำเลย) สัญญาว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2539 แต่หากระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องขยายออกไปเนื่องจาก เหตุจำเป็นใด ๆ ของผู้ให้เช่าแล้ว ระยะเวลาที่ขยายออกไปนั้นจะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาก่อสร้างดังกล่าว" และในวรรคสามได้ระบุไว้ว่า "แต่หากผู้ให้เช่า (จำเลย) ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงหรือส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่ผู้เช่า (โจทก์) ได้ตามสัญญานี้ อันเนื่องจากความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้?" พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2540 พร้อมทั้งทำสัญญาเช่าช่วงและส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ไม่หมายความว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเมื่อใดก็ได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามข้อกำหนดในสัญญา ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลย ไม่สามารถส่งห้องพักอาศัยแก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ได้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้างวดที่ 1 จำนวน 34,000 บาท แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 แต่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2536 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับต้นเงิน โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมิอาจพิพากษาแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์และจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพราะโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอา ระยะเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญตามข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา ถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว
ตามสัญญาจองสิทธิการเช่าช่วงข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า "ผู้ให้เช่า (จำเลย) สัญญาว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2539 แต่หากระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องขยายออกไปเนื่องจาก เหตุจำเป็นใด ๆ ของผู้ให้เช่าแล้ว ระยะเวลาที่ขยายออกไปนั้นจะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาก่อสร้างดังกล่าว" และในวรรคสามได้ระบุไว้ว่า "แต่หากผู้ให้เช่า (จำเลย) ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงหรือส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่ผู้เช่า (โจทก์) ได้ตามสัญญานี้ อันเนื่องจากความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้?" พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2540 พร้อมทั้งทำสัญญาเช่าช่วงและส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ไม่หมายความว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเมื่อใดก็ได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามข้อกำหนดในสัญญา ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลย ไม่สามารถส่งห้องพักอาศัยแก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ได้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้างวดที่ 1 จำนวน 34,000 บาท แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 แต่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2536 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับต้นเงิน โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมิอาจพิพากษาแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาเช่าห้ามเช่าช่วงและเจตนาของคู่สัญญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ล.บิดาโจทก์ ต่อมา ล.ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้าคงใช้เพื่อประกอบกิจการโรงงานและอาศัยได้เพียงอย่างเดียวและจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,760 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 6,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000บาท คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ายอมสัญญาว่าจะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไปและจะไม่ยอมให้ผู้ใดอาศัย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยเช่าที่ดินพิพาทแล้ว ได้มีการปรับปรุงที่ดินปลูกบ้านพักสองหลังและก่อสร้างอาคารโรงงานจนเต็มเนื้อที่ที่เช่า ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาให้บริษัท ท.เช่าอาคารโรงงานดังกล่าวเช่นนี้ การตีความแสดงเจตนาในข้อสัญญานั้นจะต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ซึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา 368 แห่ง ป.พ.พ.ก็ได้ให้ตีความตามสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อตีความสัญญาดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตซึ่งปกติทั่วไปของการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์ให้มีการเช่าช่วงต่อไป เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญแห่งข้อสัญญา คือให้จำเลยเช่าเฉพาะตัวและคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่าไม่ต้องการให้ผู้อื่นเช่าช่วง ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 544 ก็ให้ความคุ้มครองมิให้เช่าช่วงด้วยเว้นแต่จะตกลงกันในสัญญาเช่าดังนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือยอมให้ผู้อื่นเข้าอาศัยในที่ดินที่ตนเช่าการแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยนำเอาอาคารโรงงานซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งเช่ามาจากบิดาโจทก์ให้บริษัท ท.เช่าไปเช่นนี้ เท่ากับจำเลยให้ผู้อื่นใช้ที่ดินพิพาทหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทแทนจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทเองตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว อันมิใช่จุดประสงค์ของผู้ให้เช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่ามีเจตนาห้ามมิให้ผู้เช่าที่ดินพิพาทนำที่ดินซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรืออยู่อาศัยด้วย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าผิดสัญญาเช่า
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ายอมสัญญาว่าจะไม่เอาที่ดินที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไปและจะไม่ยอมให้ผู้ใดอาศัย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยเช่าที่ดินพิพาทแล้ว ได้มีการปรับปรุงที่ดินปลูกบ้านพักสองหลังและก่อสร้างอาคารโรงงานจนเต็มเนื้อที่ที่เช่า ต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาให้บริษัท ท.เช่าอาคารโรงงานดังกล่าวเช่นนี้ การตีความแสดงเจตนาในข้อสัญญานั้นจะต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ซึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา 368 แห่ง ป.พ.พ.ก็ได้ให้ตีความตามสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อตีความสัญญาดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตซึ่งปกติทั่วไปของการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์ให้มีการเช่าช่วงต่อไป เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญแห่งข้อสัญญา คือให้จำเลยเช่าเฉพาะตัวและคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่าไม่ต้องการให้ผู้อื่นเช่าช่วง ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 544 ก็ให้ความคุ้มครองมิให้เช่าช่วงด้วยเว้นแต่จะตกลงกันในสัญญาเช่าดังนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือยอมให้ผู้อื่นเข้าอาศัยในที่ดินที่ตนเช่าการแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยนำเอาอาคารโรงงานซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งเช่ามาจากบิดาโจทก์ให้บริษัท ท.เช่าไปเช่นนี้ เท่ากับจำเลยให้ผู้อื่นใช้ที่ดินพิพาทหรือให้ผู้อื่นอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทแทนจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาทเองตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว อันมิใช่จุดประสงค์ของผู้ให้เช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่ามีเจตนาห้ามมิให้ผู้เช่าที่ดินพิพาทนำที่ดินซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรืออยู่อาศัยด้วย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าผิดสัญญาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาเช่ากรณีให้เช่าช่วงอาคารโรงงานที่สร้างบนที่ดินเช่า แม้สัญญาห้ามเฉพาะการเช่าที่ดิน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเดิมเป็นที่ดินของ ล. บิดาโจทก์ ต่อมา ล. ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องของโจทก์ แม้จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ เห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้าคงใช้เพื่อ ประกอบกิจการโรงงานและอาศัยได้เพียงอย่างเดียวและจำเลย ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากบิดาโจทก์ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,760 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ6,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่ายอมสัญญาว่าจะไม่เอาที่ดิน ที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนให้ผู้อื่นเช่าต่อไปและจะไม่ยอมให้ผู้ใดอาศัย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยเช่าที่ดินพิพาทแล้ว ได้มีการปรับปรุงที่ดินปลูกบ้านพักสองหลังและก่อสร้างอาคารโรงงานจนเต็มเนื้อที่ที่เช่าต่อมาจำเลยได้ทำสัญญาให้บริษัท ท. เช่าอาคารโรงงานดังกล่าวเช่นนี้ การตีความแสดงเจตนาในข้อสัญญานั้นจะต้องเพ่งเล็ง ถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรซึ่งตามบทบัญญัติในมาตรา 368 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้ให้ตีความตามสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย เมื่อตีความสัญญา ดังกล่าวโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีในทางสุจริตซึ่งปกติทั่วไป ของการทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ให้เช่าไม่ประสงค์ ให้มีการเช่าช่วงต่อไป เนื่องจากจุดประสงค์สำคัญแห่งข้อสัญญา คือให้จำเลยเช่าเฉพาะตัวและคำนึงถึงคุณสมบัติของผู้เช่า ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเช่าช่วง ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544 ก็ให้ความคุ้มครองมิให้เช่าช่วงด้วยเว้นแต่จะตกลงกันในสัญญาเช่า ดังนั้นผู้เช่าก็มีหน้าที่ต้องไม่ให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือยอมให้ผู้อื่นเข้าอาศัยในที่ดินที่ตนเช่าการแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วย ไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียว การที่จำเลยนำเอาอาคารโรงงานซึ่งปลูกสร้างอยู่บนที่ดินพิพาทซึ่งเช่ามาจากบิดาโจทก์ให้บริษัท ท. เช่าไปเช่นนี้เท่ากับจำเลยให้ผู้อื่นใช้ที่ดินพิพาทหรือให้ผู้อื่น อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทแทนจำเลย โดยจำเลยมิได้ใช้ที่ดินพิพาท เองตามสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าว อันมิใช่จุดประสงค์ของผู้ให้เช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซึ่งผู้ให้เช่ามีเจตนาห้ามมิให้ผู้เช่าที่ดินพิพาทนำที่ดินซึ่งรวมถึงสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรืออยู่อาศัยด้วย การกระทำของจำเลยถือได้ว่าผิดสัญญาเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195-3197/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีเช่าช่วงตึกแถวที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยในคดีนี้ฟ้องโจทก์ที่1ว่าผิดสัญญาเช่าขอให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวเลขที่933/3และ933/4และเรียกค่าเสียหายคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาฟังว่าโจทก์ที่1ผิดสัญญาเช่าให้ขับไล่โจทก์ที่1และบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าโจทก์ที่1กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าฉบับเดียวกันดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายดังนี้ฟ้องคดีก่อนและคดีนี้คงมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ที่1มาฟ้องเป็นคดีนี้อีกว่าโจทก์ที่1ไม่ผิดสัญญาฟ้องของโจทก์ที่1คดีนี้จึงซ้ำกับคดีก่อนส่วนโจทก์ที่2และที่3ยื่นคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษในคดีก่อนโดยโจทก์ที่2ยื่นคำร้องว่าโจทก์ที่2ไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้งดการบังคับคดีและให้จำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทชั้น2,3และ4ให้แก่โจทก์ที่2ส่วนโจทก์ที่3ก็ยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวารของโจทก์ที่1ขอให้ยกเลิกการบังคับคดีศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่2และที่3ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ที่2และที่3ฎีกาขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ที่2และที่3จึงไม่ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุดและคดีก่อนประเด็นแห่งคดีมีว่าโจทก์ที่2และที่3เป็นบริวารของโจทก์ที่1หรือไม่ส่วนคดีนี้ประเด็นแห่งคดีมีว่าจะบังคับจำเลยจดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่2และที่3ได้หรือไม่จึงแตกต่างกันการที่โจทก์ที่2และที่3ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน