พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2001/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการและตัวแทนในสัญญาเดินรถ และความรับผิดร่วมของเจ้าของรถ
จำเลยที่ 3 เป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบการเดินรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารโดยใช้รถยนต์รับจ้างสามล้อและส่งเสริมประกอบอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้างสามล้อมีพฤติการณ์ในลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ 3 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผยถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ดังนั้น จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวการตาม ป.พ.พ.มาตรา 427,821 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุ ได้เข้าร่วมกิจการกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 เองก็ได้รับประโยชน์จากการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์รับจ้างสามล้อคันเกิดเหตุออกวิ่งรับจ้าง เช่นนี้แสดงว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2เข้าร่วมกับจำเลยที่ 3 ดำเนินกิจการเดินรถยนต์รับจ้างสามล้อตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 3 ด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำการเชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เช่นกัน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของเจ้าของรถแท็กซี่ที่ยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตราบริษัทในการประกอบการเดินรถ
การที่บริษัทจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์แท็กซี่ออกแล่นรับคนโดยสารในนามของจำเลยที่ 3 โดยเปิดเผยและเป็นที่เชื่อ ได้ว่าจำเลยที่ 3 จะต้องได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการอนุญาตให้ใช้ตรา บริษัท จำเลยที่ 3 ติดอยู่ที่ข้างรถดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ประกอบการเดิน รถยนต์รับจ้างนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 เอง การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการเชิด จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่ได้รับความเสียหายจากผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 เสมือนจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาซื้อขายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการเดินรถ สัญญาเช่าซื้อยังคงมีผลบังคับ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกมาจากจำเลยที่ 1 เพื่อนำไปเข้าร่วมเดินรถกับบริษัทสหรถเมล์เล็กธนบุรี จำกัด ผู้ได้รับอนุญาตให้เดินรถประจำทาง ตามระเบียบของกระทรวงคมนาคม บริษัทฯ จะต้องมีรถของตนเอง ถ้าจะนำรถของผู้อื่นมาร่วมจะต้องโอนทะเบียนรถให้เป็นของบริษัทฯ เสียก่อน โจทก์จึงขอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายรถให้โจทก์ เพื่อโจทก์จะได้นำสัญญาซื้อชายไปโอนทะเบียนรถยนต์ให้เป็นของบริษัทฯ การทำสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็เพื่อช่วยเหลือโจทก์ให้นำรถยนต์ที่โจทก์เช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 เข้าร่วมในกิจการเดินรถของบริษัทฯ ได้เท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาผูกพันกันตามสัญญาซื้อขาย แต่มีเจตนาผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้อ สัญญาซื้อขายเป็นแต่เพียงการแสดงเจตนาลวงและเป็นนิติกรรมอำพราง จึงไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เมื่อโจทก์ค้างชำระค่าเช่าซื้อหลายงวดติดต่อกัน จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ และยึดรถกลับคืนได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
เอกสารซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญในคดี แม้จำเลยจะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
เอกสารซึ่งเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญในคดี แม้จำเลยจะไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้โจทก์ ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการเดินรถทับเส้นทางสัมปทาน: ค่าเสียหายรายวันตามรายได้ที่ตกต่ำ
เดินรถยนต์รับส่งคนโดยสารทับเส้นทางสัมปทาน เป็นละเมิดต้องใช้ค่าเสียหายทุกวันตามจำนวนที่รายได้ของฝ่ายที่เสียหายตกต่ำลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน (เอกสาร) และการประเมินความรับผิดทางละเมิดจากการเดินรถทับเส้นทางสัมปทาน
จำเลยส่งเอกสารต่อศาลโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ ครั้นโจทก์คัดค้านว่าไม่ควรรับฟัง จำเลยแถลงว่าต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการ จะได้หมายเรียกต้นฉบับมา แต่แล้วจำเลยก็มิได้ขอให้ศาลหมายเรียกมา เมื่อเอกสารที่จำเลยส่งศาลเป็นสำเนาซึ่งไม่มีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจรับรองว่าถูกต้องกับต้นฉบับ จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
จำเลยเดินรถรับส่งคนโดยสารเที่ยกลับช่วงหนึ่งทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์เฉพาะทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 12 ถึง 19 น. ทั้งนี้ เนื่องจากตามวันเวลานั้นเจ้าพนักงานจราจรได้ออกประกาศให้รถเดินทางเดียวในถนนสายหนึ่งซึ่งอยู่ในเส้นทางสัมปทานของจำเลยเมื่อได้ความว่าในกรณีเช่นนี้ไม่มีข้อบังคับให้จำเลยต้องรายงานต่อกรมการขนส่งทางบกเพื่อประกาศเปลี่ยนเส้นทางให้ถูกต้องเสมอไป โดยหากไม่มีการโต้แย้งกันก็ไม่ต้องรายงาน และจำเลยก็ได้เดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์เพียง 1 กิโลเมตรเศษ ทั้งปรากฏว่าโจทก์เองเปลี่ยนไปเดินรถทับเส้นทางเดินรถของผู้อื่น โดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบเช่นกัน การเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเอาเองในกรณีนี้จึงเป็นเรื่องอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน จำเลยมิได้เจตนาจงใจเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์โดยพลการโจทก์เองก็เพิ่งร้องเรียนต่อกรมการขนส่งทางบกหลังจากจำเลยเดินรถทับเส้นทาง 3 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยเดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์ โดยฝ่าฝืนคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกหาได้ไม่ แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกได้สั่งให้จำเลยเปลี่ยนเส้นทางเดินรถใหม่ไม่ให้ทับเส้นทางของโจทก์ตามที่โจทก์ร้องเรียนแล้ว จำเลยยังเดินรถตามเส้นทางเดิมต่อไปอีก แม้เพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดกระทรวงคมนาคมอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาปลัดกระทรวงคมนาคมได้สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกแล้ว การกระทำของจำเลยขนส่งทางบก จนถึงวันสุดท้ายที่จำเลยเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์ ตามจำนวนวันเสาร์ในระยะนั้น
จำเลยเดินรถรับส่งคนโดยสารเที่ยกลับช่วงหนึ่งทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์เฉพาะทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 12 ถึง 19 น. ทั้งนี้ เนื่องจากตามวันเวลานั้นเจ้าพนักงานจราจรได้ออกประกาศให้รถเดินทางเดียวในถนนสายหนึ่งซึ่งอยู่ในเส้นทางสัมปทานของจำเลยเมื่อได้ความว่าในกรณีเช่นนี้ไม่มีข้อบังคับให้จำเลยต้องรายงานต่อกรมการขนส่งทางบกเพื่อประกาศเปลี่ยนเส้นทางให้ถูกต้องเสมอไป โดยหากไม่มีการโต้แย้งกันก็ไม่ต้องรายงาน และจำเลยก็ได้เดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์เพียง 1 กิโลเมตรเศษ ทั้งปรากฏว่าโจทก์เองเปลี่ยนไปเดินรถทับเส้นทางเดินรถของผู้อื่น โดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบเช่นกัน การเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเอาเองในกรณีนี้จึงเป็นเรื่องอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน จำเลยมิได้เจตนาจงใจเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์โดยพลการโจทก์เองก็เพิ่งร้องเรียนต่อกรมการขนส่งทางบกหลังจากจำเลยเดินรถทับเส้นทาง 3 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยเดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์ โดยฝ่าฝืนคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกหาได้ไม่ แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกได้สั่งให้จำเลยเปลี่ยนเส้นทางเดินรถใหม่ไม่ให้ทับเส้นทางของโจทก์ตามที่โจทก์ร้องเรียนแล้ว จำเลยยังเดินรถตามเส้นทางเดิมต่อไปอีก แม้เพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดกระทรวงคมนาคมอยู่ก็ตาม แต่เมื่อต่อมาปลัดกระทรวงคมนาคมได้สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกแล้ว การกระทำของจำเลยขนส่งทางบก จนถึงวันสุดท้ายที่จำเลยเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์ ตามจำนวนวันเสาร์ในระยะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัมปทานเดินรถทับซ้อน: การอนุญาตเดินรถของจังหวัดไม่ถือเป็นการแข่งขันละเมิดสิทธิสัมปทานของกรมขนส่ง
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งให้ทำการขนส่งเดินรถยนต์โดยสารประจำทางตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 ในเส้นทางสายที่ 1343 จากชัยภูมิ - ห้วยชัน ต่อมาจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง ทับเส้นทางเดินรถยนต์ประจำทางของโจทก์ตั้งแต่ตัวเมืองจังหวัดชัยภูมิถึงทางแยกหน่วยขยายพันธุ์พืชชัยภูมิเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร รองอธิบดีกรมการขนส่งยืนยันว่าเส้นทางที่อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางนั้นอาจจะทับกันเป็นบางตอนหรือทับกันตลอดสายก็ได้ เส้นทางที่โจทก์จำเลยเดินรถยนต์ประจำทางทับกันบางตอนจึงเป็นทางร่วม ต่างมีสิทธิที่จะเดินทางเดียวกันได้ เมื่อทางจังหวัดตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องราวให้สัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง โจทก์เองก็ยื่นเรื่องราวขออนุญาตพร้อมกับจำเลยและบริษัทอื่นแต่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ได้รับสัมปทานทั้งเส้นทางสายนี้ก็เป็นทางหลวงจังหวัด อยู่ในความควบคุมดูแลของจังหวัดชัยภูมิ มิใช่ทางที่กรมการขนส่งประกาศเป็นเส้นทางของกรมการขนส่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์ประจำทางในเส้นทางสายนี้ได้ แม้จะทับเส้นทางซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาตเป็นบางตอน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแข่งขันกับโจทก์การที่จำเลยนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารตามที่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตเดินรถทับซ้อนกันทางหลวงจังหวัด ไม่ถือเป็นการละเมิดสิทธิสัมปทาน
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งให้ทำการขนส่งเดินรถยนต์โดยสารประจำทางตามพระราชบัญญัติการขนส่งพ.ศ.2497 ในเส้นทางสายที่ 1343 จากชัยภูมิ - ห้วยชันต่อมาจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์โดยสารในเส้นทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดง ทับเส้นทางเดินรถยนต์ประจำทางของโจทก์ตั้งแต่ตัวเมืองจังหวัดชัยภูมิถึงทางแยกหน่วยขยายพันธุ์พืชชัยภูมิ เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร รองอธิบดีกรมการขนส่งยืนยันว่าเส้นทางที่อนุญาตให้ผู้รับสัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางนั้นอาจจะทับกันเป็นบางตอนหรือทับกันตลอดสายก็ได้. เส้นทางที่โจทก์จำเลยเดินรถยนต์ประจำทางทับกันบางตอนจึงเป็นทางร่วม ต่างมีสิทธิที่จะเดินทางเดียวกันได้. เมื่อทางจังหวัดตั้งกรรมการพิจารณาเรื่องราวให้สัมปทานเดินรถยนต์ประจำทางสายชัยภูมิ - หนองบัวแดงโจทก์เองก็ยื่นเรื่องราวขออนุญาตพร้อมกับจำเลยและบริษัทอื่น แต่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตให้จำเลยผู้เดียวเป็นผู้ได้รับสัมปทาน ทั้งเส้นทางสายนี้ก็เป็นทางหลวงจังหวัด อยู่ในความควบคุมดูแลของจังหวัดชัยภูมิ มิใช่ทางที่กรมการขนส่งประกาศเป็นเส้นทางของกรมการขนส่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากทางจังหวัดชัยภูมิให้เดินรถยนต์ประจำทางในเส้นทางสายนี้ได้ แม้จะทับเส้นทางซึ่งโจทก์ได้รับอนุญาตเป็นบางตอน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการแข่งขันกับโจทก์การที่จำเลยนำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งรับส่งคนโดยสารตามที่ได้รับอนุญาตจึงไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893-1894/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือเดินรถโดยสารทำให้บริษัทผู้ประกอบการต้องรับผิดร่วมกับผู้ขับขี่ในความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุ
รถคันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งใช้วิ่งร่วมกับจำเลยที่ 3รับส่งคนโดยสาร โดยทาสีเป็นสีเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 มีตราและอักษรย่อของจำเลยที่ 3 ติดที่ข้างรถ และต้องเสียเงินค่าขาหรือค่าออกรถให้จำเลยที่ 3 โดยมีนายสถานีซึ่งเป็นคนของจำเลยที่ 3 กำหนดเวลาให้ออกรถ ถือว่าจำเลยที่ 3 ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 ด้วย คนขับรถคันเกิดเหตุซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมจะต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3จึงต้องร่วมรับผิดในการละเมิดของคนขับรถนั้น