พบผลลัพธ์ทั้งหมด 262 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่รับสารภาพ และยืนยันโทษฐานกระทำชำเราเด็ก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำชำเราด้วยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วและเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จะไม่ต้องรับโทษในความผิดที่กระทำโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 277 วรรคสี่ แห่ง ป.อ. นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมให้กระทำ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมแล้ว แม้ภายหลังศาลจะอนุญาตให้จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในอันที่จะไม่ต้องรับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าว
การที่จะไม่ต้องรับโทษในความผิดที่กระทำโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 277 วรรคสี่ แห่ง ป.อ. นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมให้กระทำ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมแล้ว แม้ภายหลังศาลจะอนุญาตให้จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในอันที่จะไม่ต้องรับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5042/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาเด็ก ต้องมีการจับกุมก่อน จึงจะอยู่ในบังคับมาตรา 51/53 พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้วจำเลยให้การปฏิเสธโดยจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวไว้ การเข้ามอบตัวของจำเลยดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับกุม การฟ้องคดีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 51 และมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพรากเด็กเพื่อการอนาจารและการกระทำชำเราเด็ก โดยการอุ้มเด็กจากที่สาธารณะเข้าบ้าน
ป.อ. มาตรา 317 วรรคหนึ่ง มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล แม้ผู้เสียหายที่ 1 นั่งเล่นอยู่ใต้ถุนบ้านของจำเลย แต่ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยังอยู่ในความปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิจะพาผู้เสียหายที่ 1 ไปยังที่ใดโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม การที่จำเลยมาอุ้มผู้เสียหายที่ 1 ขึ้นไปบนบ้านพาไปห้องนอนแล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ถือว่าจำเลยแยกสิทธิปกครองของผู้เสียหายที่ 2 ในการควบคุมดูแลผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยเป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้ปกครองเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อวัยวะเพศจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ
จำเลยนำอวัยวะเพศของจำเลยใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 อวัยวะเพศจำเลยได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง ส่วนจำเลยจะสำเร็จความใคร่หรือไม่ย่อมมิใช่สาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชำเราโดยศาลล่างเกินกว่าที่โจทก์ขอ และการพิจารณาโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ (ที่ถูก 15 ปีเศษ) ให้ลงโทษจำเลยโดยลดมาตราโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ให้จำคุกจำเลยไว้ 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน ซึ่งตามฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันถือได้ว่า มีการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเป็นการโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างเดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ต่อเนื่องเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย รวม 2 ครั้ง ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 โดยไม่ระบุ ป.อ. มาตรา 91 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 กรณีดังกล่าวแม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร: การกระทำโดยหลอกลวงและขัดต่ออำนาจปกครองของบิดามารดา
คำว่า "พราก" หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกไปจากอำนาจปกครองดูแล ทำให้อำนาจปกครองดูแลของบิดามารดาเด็กถูกรบกวนหรือถูกกระทบกระเทือนโดยบิดามารดาเด็กไม่รู้เห็นยินยอมด้วย อันเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาเด็ก จำเลยมิได้พาผู้เสียหายกับเด็กหญิง ก. ซึ่งกำลังเล่นกันอยู่ที่บ้านจำเลยไปที่เตาเผาถ่านในป่าละเมาะในลักษณะเดียวกันกับที่จำเลยเคยพาผู้เสียหายออกจากบ้านจำเลยไปด้วยกันในครั้งก่อนๆ ที่บิดามารดาผู้เสียหายไม่เคยทักท้วงว่ากล่าว เพราะเมื่อถึงเตาเผาถ่านแล้วจำเลยให้เด็กหญิง ก.แต่ผู้เดียวลงไปเล่นในหลุมเผาถ่านแล้วหลอกลวงโดยชักชวนผู้เสียหายว่าจะพาไปหาผลไม้ป่ารับประทาน เมื่อถึงที่เกิดเหตุบริเวณกกไม้หลังเตาเผาถ่านจำเลยกลับถอดกางเกงผู้เสียหายออกและกระทำอนาจารผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายจากเตาเผาถ่านไปกระทำอนาจารยังที่เกิดเหตุ จึงเป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของบิดามารดาและเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรอันเป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317ิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีกระทำชำเราเด็ก พยานหลักฐานแน่น ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ร่วมทั้งสองเบิกความมีรายละเอียดขณะถูกจำเลยกระทำชำเราค่อนข้างชัดเจนเกินกว่าที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นเด็กจะสามารถแต่งเรื่องขึ้นเองหรือแม้แต่การเสี้ยมสอนโดยเฉพาะที่โจทก์ร่วมที่ 2 อ้างการถูกร่วมเพศทางทวารหนักจำเลยเป็นผู้เลี้ยงดูโจทก์ร่วมทั้งสองมานานหลายปีถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ หากไม่เป็นความจริงโจทก์ร่วมทั้งสองคงไม่กล้าสร้างเรื่องมาใส่ร้ายจำเลย ทั้ง ส. ศ. และ พ. ชาวบ้านหมู่เดียวกับจำเลยซึ่งไม่มีสาเหตุกับจำเลยมาก่อนก็ยืนยันถึงพฤติกรรมจำเลยว่าเคยแอบเห็นจำเลยกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ทางทวารหนัก แม้จะระบุเวลาคลาดเคลื่อนจากที่โจทก์ร่วมที่ 2 ระบุ ประมาณ 2 เดือน ก็มิใช่ข้อพิรุธเพราะโจทก์ร่วมที่ 2 ถูกจำเลยกระทำชำเรากว่า 10 ครั้งการที่จำเลยอ้างว่าช่วงเวลาเกิดเหตุตามฟ้องเป็นเวลากลางวันทั้งสิ้นนั้น ก็หาเป็นเรื่องผิดปกติไม่เพราะจำเลยมีภริยาอยู่จึงต้องอาศัยโอกาส ทั้งสถานที่ที่โจทก์ร่วมทั้งสองถูกกระทำมักจะเป็นที่ลับตา เช่น ในป่า หรือเถียงนา ส่วนที่โจทก์ร่วมทั้งสองไม่เรียกร้องขอความเป็นธรรมมาแต่แรกก็เป็นเพราะต้องพักอาศัยอยู่กับจำเลย ประกอบกับโจทก์ร่วมทั้งสองยังเป็นเด็กและถูกข่มขู่ด้วย ดังนั้น จากพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเท่าที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักเชื่อว่าจำเลยกระทำผิดฐานกระทำชำเราและพยายามกระทำชำเราโจทก์ร่วมทั้งสองจริง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ระวางโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี การกระทำความผิดของจำเลยทุกกระทงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงจึงเกิน 10 ปี ทั้งความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วมสองคนต่างวันเวลาและสถานที่ถือว่าต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งแม้จะเป็นความผิดอย่างเดียวกันแต่ก็ไม่เกี่ยวพันกันกรณีไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนำโทษที่จำเลยได้รับจริงทุกกระทงมารวมแล้วเกิน 20 ปี ได้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ระวางโทษจำคุกอย่างสูงถึง 20 ปี การกระทำความผิดของจำเลยทุกกระทงมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงจึงเกิน 10 ปี ทั้งความผิดของจำเลยเป็นการกระทำต่อโจทก์ร่วมสองคนต่างวันเวลาและสถานที่ถือว่าต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งแม้จะเป็นความผิดอย่างเดียวกันแต่ก็ไม่เกี่ยวพันกันกรณีไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2) จึงนำโทษที่จำเลยได้รับจริงทุกกระทงมารวมแล้วเกิน 20 ปี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาจากคำถอนคำร้องทุกข์และการพิจารณาโทษสถานเบาสำหรับความผิดต่อเด็ก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 และข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 279 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 279 เมื่อต่อมามารดาผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์แทนผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อหาความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะพิพากษาให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาความผิดฐานนี้ออกจากสารบบความเท่านั้น ส่วนข้อหาความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ การถอนคำร้องทุกข์ไม่เป็นผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ระงับไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยตามข้อหาความผิดฐานนี้มาแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงต้องพิจารณาและพิพากษาว่าสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษแก่จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาให้จำหน่ายคดีในข้อหาความผิดฐานนี้จากสารบบความด้วย จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาเด็ก ต้องมีนักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ และอัยการร่วมด้วย หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย การฟ้องเป็นโมฆะ
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนจะต้องแยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการสอบสวนนั้นด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ตรี ประกอบด้วย มาตรา 133 ทวิ ตามบทบัญญัติดังกล่าวบังคับโดยเด็ดขาดว่าต้องจัดให้มีบุคคลดังกล่าวข้างต้นเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลดังกล่าวพร้อมกันได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ประกอบด้วยมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า จำเลยได้กระทำผิดและถูกสอบสวนขณะมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่พนักงานสอบสวนมิได้จัดให้มีบุคคลดังกล่าวเข้าร่วมในการสอบสวนด้วย เนื่องจากพนักงานสอบสวนได้สอบถามจำเลยในขณะทำการสอบสวนว่าจำเลยมีทนายความหรือไม่ ต้องการทนายความหรือผู้ใดที่จำเลยไว้วางใจเข้าร่วมฟังการสอบสวนหรือไม่ จำเลยตอบว่า จำเลยไม่มีทนายความ และไม่ต้องการผู้ใดร่วมฟังการสอบสวน โดยไม่ปรากฏกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่มีเหตุอันควรไม่อาจรอได้ เช่นนี้ การสอบสวนดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่ามิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามฟ้องที่มิได้มีการสอบสวนก่อน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานค้าประเวณีและธุระจัดหาอนาจารเด็ก เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยเป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งหญิง และเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี โดยใช้วิธีข่มขืนใจทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและข่มขืนใจด้วยประการอื่น เพื่อสำเร็จความใคร่ของผู้อื่น และเป็นเจ้าของกิจการสถานค้าประเวณี ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว เป็นความผิดที่อาศัยเจตนาต่างกัน มีองค์ประกอบความผิดที่ต่างกัน จึงเป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันหาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของเด็ก – การแก้ไขดุลพินิจโทษปรับ
จำเลยเป็นเด็ก ในท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติและท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ซึ่งห้ามศาลกักขังแทนค่าปรับ โดยให้ส่งไปฝึกอบรมแทนมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 จึงชอบแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2545)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2545)