คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เบิกเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6220/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการเบิกเงินจากบัญชีของลูกหนี้ ถือเป็นการชำระหนี้เดิมได้ และระงับหนี้ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ สัญญากู้เป็นสัญญาปลอม และฟ้องแย้งว่าโจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปกดจากเครื่องของธนาคารและได้เงินไปโดยไม่มีสิทธิ ขอเรียกเงินคืนนั้น มีผลเท่ากับเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับจากจำเลยทั้งหมด ถึงแม้ว่าศาลจะฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ใช่เอกสารปลอม แต่ประเด็นที่ว่าจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้หรือไม่ยังมีอยู่เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความสมบูรณ์ของหนี้ที่โจทก์ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้เอาเงินของจำเลยด้วยการเบิกเงินของจำเลยผ่านเครื่องเบิกเงินอัตโนมัติของธนาคาร เป็นการชำระหนี้ตามสัญญาไว้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินเท่ากับหนี้ที่ฟ้องบังคับเอาแก่จำเลย อันเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ได้ยอมรับแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 หนี้ตามสัญญากู้เป็นอันระงับ กรณีไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อในการเปิดบัญชีและออกสมุดคู่ฝากให้พนักงานโดยไม่ตรวจสอบ ทำให้พนักงานเบิกเงินจากบัญชีลูกค้าได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการเพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคาร จำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้ จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยา โดยมิได้ ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควร พึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ โดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่ จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหาย ดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์ โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มี หลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาบัญชีเดินสะพัดและการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2523 มีกำหนดเวลา12 เดือนย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ 28 สิงหาคม 2524 สัญญาบัญชีเดินสะพัดซึ่งรวมอยู่ด้วยจึงสิ้นสุดไปพร้อมกัน เว้นแต่โจทก์จำเลยจะได้ตกลงต่อสัญญากันต่อไปอีกโดยตรงหรือโดยปริยาย การที่โจทก์จำเลยจะเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปภายหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยจะต้องเบิกเงินจากบัญชีได้อีก แต่โจทก์หายอมให้จำเลยเบิกเงินได้อีกไม่จึงเห็นเจตนาของโจทก์ได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะเดินสะพัดทางบัญชีกับจำเลยอีก ส่วนการที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชี 2 ครั้งภายหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาแล้ว ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้เท่านั้น หาได้มีเจตนาจะเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไปไม่ ภายหลังจากสัญญาดังกล่าวสิ้นสุดลงโจทก์คงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้โดยวิธีธรรมดา จะคิดดอกเบี้ยโดยวิธีทบต้นต่อไปอีกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเช็คที่ได้จากการลักทรัพย์และการนำไปเบิกเงินเข้าข่ายความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
จำเลยรับเช็คไว้โดยทราบว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมาอันเป็นความผิดฐานรับของโจร แล้วจำเลยนำเช็คดังกล่าวไปเบิกเงินจากธนาคารจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188 อีกบทหนึ่งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเบิก/นำเงินเข้า และดอกเบี้ยทบต้นมีข้อจำกัดตามสัญญาและอายุความ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลา ไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง
ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกา แต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารสิทธิปลอมเพื่อเบิกเงินหลังผู้ตายถึงแก่กรรม ส่อเจตนาทุจริต
การที่จำเลยนำใบมอบฉันทะซึ่งมีลายมือชื่อของผู้ตายอันเป็นลายมือปลอมไปขอรับเงินหลังจากผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายแล้วถึง9 วัน โดยปกปิดไม่แจ้งให้ทางธนาคารทราบ ย่อมส่อให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต โดยรู้ดีว่าแบบขอเบิกเงินนั้นเป็นเอกสารสิทธิปลอม จึงแกล้งปกปิดความจริงไม่แจ้งให้ธนาคารทราบการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ: สิทธิของธนาคารจะสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินฝากเพิ่มเติม
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโจทก์ในวงเงิน 150,000 บาท โดยจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนใดค้างชำระยอมให้โจทก์ทบต้นเข้ากับจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระแล้วคิดดอกเบี้ยในเดือนต่อไปได้ตามสัญญา เมื่อพ้นกำหนดชำระเงินต้นในวันที่ 5 มีนาคม 2520 จำเลยไม่ยอมชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนองรวมเป็นเงิน 210,189.07 บาท และเมื่อคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาโดยไม่ทบต้นนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 232,189.69 บาท จึงขอให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินตามฟ้องต่อโจทก์ ดังนี้แสดงว่าจำเลยเข้าใจในข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คลงวันในภายหลังไม่ขาดอายุความ หากมีเจตนาให้ลงวันเมื่อต้องการเบิก
ผู้สั่งจ่ายออกเช็คซึ่งไม่ลงวัน แต่ด้วยเจตนาให้ผู้ทรงจดวันลงในเช็คเองเมื่อต้องการเบิกเงินจากธนาคาร แม้ผู้ทรงกรอกวันลงหลังจากที่ผู้สั่งจ่ายออกเช็คเป็นเวลา 2 ปี ก็ไม่ขาดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1002

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
of 3