คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงสถานะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755-8784/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจกระทบสิทธิค่าชดเชย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานไม่ครอบคลุม
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐได้เข้าถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชน จำกัด เกินกว่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2541 สถานภาพของจำเลยที่ 1 จึงเปลี่ยนมาเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ทั้ง พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (2) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 4 (2) บัญญัติมิให้นำ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจ จึงไม่อาจนำ มาตรา 13 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับนับแต่จำเลยที่ 1 เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยไม่ต้องรับสิทธิของโจทก์ ที่จะได้รับค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สิทธิของโจทก์จะได้รับค่าชดเชยเพียงใดต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยจัดสิทธิประโยชน์ไว้สูงกว่าระเบียบดังกล่าว โจทก์ถูกเลิกจ้างหลังจากจำเลยที่ 1 เปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติ และระเบียบ ดังกล่าว ข้อ 45 เมื่อโจทก์รับค่าชดเชยตาม ข้อ 45 ไปครบถ้วนแล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยที่ เพิ่มขึ้นตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเปลี่ยนแปลงสถานะจากบริษัทเอกชน ไม่เข้าข่ายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เดิมจำเลยเป็นสถาบันการเงินและเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2541 กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงกิจการของจำเลยโดยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ฐานะของจำเลยจึงเปลี่ยนเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 4และพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4(2)โจทก์ย่อมเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างจำเลยในฐานะบริษัทมหาชนจำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยในฐานะรัฐวิสาหกิจตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นเดียวกัน สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยกรณีถูกเลิกจ้างหรือไม่เพียงใดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ไม่บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งกำหนดว่าให้รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไม่ใช้บังคับ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่จำเลยมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แม้ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับและเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ไปแล้วตามมาตรา 3(1) ก็ตาม แต่มาตรา 4(2) ได้บัญญัติมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กรณีจึงไม่อาจนำมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ได้
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45(3) กำหนดว่าพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่รัฐวิสาหกิจสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานไม่น้อยกว่าเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันแม้ข้อ 48 วรรคสอง ในหมวด 7 บทเฉพาะกาล ของระเบียบดังกล่าวจะกำหนดว่ารัฐวิสาหกิจใดจัดสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานสูงกว่าสิทธิประโยชน์ตามระเบียบนี้แล้วให้รัฐวิสาหกิจนั้นถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เดิมต่อไปได้ และคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าแทรกแซงได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการ และผลประโยชน์ตอบแทนของพนักงานโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของสถาบันการเงินนั้นซึ่งเป็นระเบียบและมติที่มีเจตนาให้ลูกจ้างที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยผลของการเปลี่ยนฐานะของจำเลยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้รับอยู่ก่อนก็ตามแต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในขณะที่มีฐานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างเดิมก็กำหนดว่าพนักงานซึ่งทำงานกับจำเลยติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปโดยรวมวันหยุด วันลา และวันที่จำเลยสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของจำเลย จำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน ซึ่งค่าชดเชยที่โจทก์สิทธิได้รับตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวก็เท่ากับค่าชดเชยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 45(3) โจทก์จึงไม่เสียสิทธิประโยชน์ที่จะพึงได้รับค่าชดเชยแต่อย่างใด ดังนั้นโจทก์ซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี ขึ้นไปย่อมมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 45(3) เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หาใช่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะเมทแอมเฟตามีนจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ และการใช้กฎหมายอาญามาตรา 3
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในความครอบครองและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ส่วนจะต้องรับโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ตาม ป.อ.มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 เมื่อคดีนี้มิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ริบได้ตาม ป.อ.มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6987/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ ไม่ยกเลิกความผิดฐานครอบครอง ต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
จำเลยได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนปริมาณ 0.589 กรัม เกินปริมาณรัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครอง และเมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2539) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มีผลเป็นเพียงให้เมทแอมเฟตามีนถูกเพิกถอนจากการเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 มาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เท่านั้น โดยไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติยกเลิกความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแต่อย่างใด ฉะนั้นจำเลยจึงยังมีความผิดและต้องรับโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองอยู่ ส่วนจะต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ย่อมเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย คือตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 67 ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถเสพยา: เปลี่ยนสถานะยาจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ ทำให้จำเลยไม่มีความผิดตามกฎหมายเดิม
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่นพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6063/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางธุรกิจ ทำให้คำร้องขอเพิกถอนมติเดิมไม่มีประโยชน์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านที่เลือกตั้งกรรมการของบริษัทผู้คัดค้าน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้คัดค้านซึ่งลงมติให้ ส.พ.และช. เป็นกรรมการเมื่อปรากฏตามฎีกาของผู้คัดค้านและคำแก้ฎีกาของผู้ร้องว่าได้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของผู้คัดค้านที่ประชุมลงมติให้แปรสภาพบริษัทผู้คัดค้านเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านทุกคนหมดสภาพไปตามการลงมติเป็นบริษัทมหาชน จำกัดพร้อมทั้งที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของผู้คัดค้านต่อไป เพราะคำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2899/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลตัดสินว่าที่ดินเป็นป่าสงวนฯ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดิน ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องได้อีก
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกคืนจากจำเลยทั้งสองได้ จึงพิพากษายกฟ้องซึ่งเป็นการให้ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ต่อมาทางราชการได้รับรองว่าที่พิพาทอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้โจทก์ยึดถือครอบครองที่พิพาทได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความบังคับให้จำเลยที่ 1 ซื้อและชำระราคาที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในราคาที่เป็นธรรมหากไม่ยอมซื้อก็ให้จำเลยทั้งสองรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้อีก เพราะคดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อในสัญญาประกันภัย: การตีความผู้เอาประกันภัยที่แท้จริงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะจากผู้เช่าซื้อเป็นเจ้าของ
โจทก์ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ครบถ้วนแล้ว ได้เอารถยนต์ไปประกันภัยกับบริษัทจำเลย โดยผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้แนะนำและได้รับค่าคอมมิชชั่นจากบริษัทจำเลย และเป็นผู้รับฝากเงินเบี้ยประกันภัยจากโจทก์เพื่อชำระให้แก่บริษัทจำเลยการที่มีชื่อผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันในกรมธรรม์ แต่ในวงเล็บมีชื่อโจทก์และที่อยู่ของผู้เอาประกันก็ลงที่อยู่ของโจทก์ ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าซื้อมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยนั้น หลังจากโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนก็เพื่อเป็นการสะดวกแก่การที่จำเลยจะมาเก็บเงินและเพื่อผู้ใช้เช่าซื้อจะได้ค่าคอมมิชชั่นด้วยเท่านั้น โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงเป็นผู้เอาประกันภัย มีอำนาจฟ้องบริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเกี่ยวกับความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสถานะเจ้าหนี้ธรรมดาแล้วมิอาจเปลี่ยนแปลงเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษภายหลังได้เมื่อคำสั่งศาลยุติ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากขายทอดตลาดทรัพย์ของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอย่างเจ้าหนี้ธรรมดา จนศาลมีคำสั่งอนุญาต โดยผู้ร้องไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์นั้น ต้องถือว่าคำสั่งศาลยุติถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องจะมาร้องใหม่ว่าเป็นเจาหนี้บุริมสิทธิพิเศษขอให้ได้รับชำระหนี้อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองปรปักษ์: การเปลี่ยนแปลงสถานะจากผู้เช่าเป็นผู้ครอบครองปรปักษ์และการขาดอายุความฟ้อง
โจทก์เถียงว่าจำเลยทำนาโจทก์โดยการเช่า แม้สัญญาเช่าจะสิ้นแล้วแต่จำเลยยังคงทำต่อมา เช่นนี้ต้องถือว่าจำเลยได้เช่าต่อมาโดยไม่มีกำหนดและจำเลยครอบครองไว้แทนโจทก์ไม่ใช่เพื่อตนเอง จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิ แต่คดีได้ความว่าชั้นต้นจำเลยเช่าแต่ตอนหลังโจทก์จะไปเก็บค่าเช่า จำเลยไม่ยอมให้ทั้งบอกว่าเป็นที่ของจำเลยมิได้เช่าจากโจทก์แล้ว ดังนี้ก็เป็นการแสดงว่าจำเลยถือตนว่าเป็นเจ้าของนานั้น และไม่ยอมตนว่าเป็นผู้ครอบครองแทนโจทก์ฐานผู้เช่าต่อไปแล้ว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381) โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องภายในกำหนดคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 2