คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลงแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจำนอง: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยพยานบุคคล
สัญญาจำนองระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งระบุให้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน รวมทั้งบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนอง มีข้อความว่า จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ชัดเจนแล้ว การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่า ตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายจำคุกใหม่เพื่อหวังผลประโยชน์จากพระราชทานอภัยโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลล่างว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ก็ต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ตรงตามคำพิพากษาดังกล่าว ส่วนจำเลยจะได้รับการลดโทษจากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2542 หรือไม่เพียงใด จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่จะทำการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำเลยจึงชอบที่จะไปร้องให้ถูกทาง จะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกใหม่ระบุเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เพื่อมีผลให้จำเลยได้รับอภัยโทษหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความอธิบายเอกสารสัญญาเช่าซื้อ การรวมค่าเบี้ยประกันภัยในค่างวด ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน 620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสาธารณประโยชน์และทางจำเป็น: ข้อจำกัดในการนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสารมหาชน
ทางสาธารณประโยชน์ที่ระบุไว้ในแผนที่หนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ปัจจุบันหมดสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้วนอกจากทางพิพาทแล้วที่ดินโจทก์ไม่มีทางอื่นใดออกสู่ทางสาธารณะอีก ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ซึ่งโจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะการที่จำเลยมาล้อมรั้วลวดหนามปิดกั้นทางดังกล่าว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้รื้อถอนรั้วลวดหนามเพื่อเปิดทางพิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่า ตามแผนที่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินโจทก์ระบุว่า ที่ดินโจทก์ตั้งอยู่ติดกับทางสาธารณประโยชน์ อันเป็นเอกสารมหาชนการที่โจทก์นำสืบว่าปัจจุบันทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวสิ้นสภาพ และไม่มีอีกต่อไปเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 94หรือไม่นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำเลยเพิ่งยกขึ้นมากล่าวอ้างในคำแก้ฎีกา จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และการไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชา-ธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อสิทธิเรียกร้องค่าฤชาธรรมเนียมที่จำเลยวางศาลไว้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า จำเลยยอมชำระเงินจำนวน 3,000,000 บาท แก่โจทก์และโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดนอกจากนี้อีก และโจทก์จำเลยยอมให้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาเป็นพับ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลฎีกาและเป็นผลให้จำเลยไม่ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมตึกแถวแก่โจทก์และไม่ต้องใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นและค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองอีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จำเลยนำมาวางศาลเพื่อใช้แทนโจทก์เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7009/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขาย: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยพยานบุคคล
ตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่มีข้อความว่า จำเลยต้องจัดการให้ผู้เช่าขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่ 1กันยายน 2533 การที่โจทก์อ้างและนำสืบว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา เพราะไม่จัดการให้ผู้เช่าออกไปจากที่ดินพิพาท จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง การนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารเช่นนี้ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ไม่อาจรับฟังตามที่โจทก์นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่ชัดเจน การนำสืบพยานเพื่อขยายความสัญญาไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
สัญญาซื้อขายมีความว่าผู้ขายได้ขายที่นา2ไร่เศษให้แก่ผู้ซื้อและยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อผู้ซื้อชำระไว้30,000บาทก่อนและยังค้างผู้ซื้ออีก10,000บาทเป็นสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้แน่นอนและไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินที่เหลือไว้จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชัดแจ้งการที่โจทก์ผู้ซื้อนำสืบพยานบุคคลว่ายังต้องทำการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินกันก่อนแล้วจึงชำระราคาส่วนที่เหลือในวันโอนกรรมสิทธิ์จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขายเพื่อให้สัญญาชัดเจนขึ้นและปฏิบัติตามสัญญาได้โจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายซึ่งต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างสัญญาซื้อขายว่าไม่สมบูรณ์ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
จำเลยทั้งสองนำสืบว่าไม่ได้ทำสัญญาขายที่พิพาท แต่ที่จำเลยทั้งสองลงลายพิมพ์นิ้วมือในสัญญาดังกล่าวเพราะไปกู้เงินโจทก์แล้วโจทก์ให้ลงลายพิมพ์นิ้วมือในกระดาษ ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นกระดาษอะไร การนำสืบของจำเลยทั้งสองดังกล่าว เพื่อแสดงว่าถูกโจทก์หลอกลวงให้ลงชื่อในเอกสารและเอกสารนั้นใช้บังคับไม่ได้ มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาซื้อขายที่พิพาทว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยทั้งสองจึงนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
of 4