คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง และผลต่อการรวมโทษที่รอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 15 วัน และบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้อีก 15 วัน รวมจำคุก 30 วัน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษกักขัง 30 วันแทน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งการที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาดุลพินิจในการวางโทษจำเลยของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 คำว่า "และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิด" นั้น หมายความว่าจำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจริง ๆ คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนตามมาตรา 23 ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ไม่ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวเข้าสถานพินิจฯ ถือมิใช่การลงโทษจำคุก จึงห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย25ปีแต่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ3ปีและชั้นสูง4ปีการเปลี่ยนโทษจำคุกดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษจำคุกเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระพุทธรูปที่ไม่เป็นทรัพย์สาธารณะ: เปลี่ยนข้อหาจาก 335 ทวิ เป็น 335(1)(7)(9)
พระพุทธรูปองค์ที่หายไปเป็นพระที่ ต. ขุดพบที่จอมปลวกแห่งหนึ่งห่างจากวัดร่องขุ่นไปประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อปี 2475ขณะ ต.บวชเณรอยู่ที่วัดร่องขุ่นต. นำมาให้เจ้าอาวาสวัดร่องขุ่นในขณะนั้นเก็บไว้ หลังเจ้าอาวาสรูปนั้นมรณภาพแล้วต. ได้นำไปเก็บไว้ที่บ้านของตน จนปี 2519 จึงนำมาเก็บไว้ใต้ฐานเจดีย์ที่เกิดเหตุ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยที่ 2 กับพวกจะลักพระพุทธรูปดังกล่าวในวัดก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง และกรณีเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1และที่ 3 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในศาลคดีเด็กและเยาวชน: ข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 4 ปี แต่ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำ 2 ปีและขั้นสูง 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมดังกล่าว มิใช่เป็นการลงโทษจำคุก จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ประกอบกับ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลคดีเด็กฯมาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก, อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน, การลดโทษและเปลี่ยนโทษ
การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 279 วรรคแรกด้วยหาได้ไม่
ศาลจังหวัดระนองไม่ใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนตามบทวิเคราะห์ศัพท์ ในมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 จึงไม่มีอำนาจเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมในสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กจังหวัดสงขลา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน มาตรา 31(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การพิจารณาโทษจำคุกตลอดชีวิตและการเปลี่ยนโทษตามมาตรา 91
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งใช้ป้ายทะเบียนปลอมโดยมีจำเลยที่ 2 นั่งซ้อนท้าย จำเลยที่ 1 มีปืนพกขนาด 11 มม. ไม่มีทะเบียนพกอยู่ที่เอวไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสองพบผู้ตายโดยบังเอิญหรือมีสาเหตุแห่งการยิงกันเกิดขึ้นในปัจจุบันทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังรถยนต์ของผู้ตายเข้าไปใกล้ในระยะห่างพอควรจำเลยที่ 2 ก็ใช้ปืนยิงเข้าไปในรถของผู้ตายทางด้านหลังรถทันที จากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ขับรถจะแซงรถของผู้ตายขึ้นไปในขณะที่รถยนต์ของผู้ตายแฉลบไปทางขวามือเพราะถูกยิงเพื่อจะพากันหลบหนี เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับชนกับรถยนต์ของผู้ตายจำเลยทั้งสองตกจากรถ จำเลยที่ 1 ได้รับบาดเจ็บจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนของจำเลยที่ 2 และของจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายอีกหลายนัดจนผู้ตายถึงแก่ความตายพฤติการณ์ดังนี้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดหลายกรรม กรรมหนึ่งให้ลงโทษจำคุกตลอดชีวิตอีกสองกรรมให้ลงโทษจำคุก 1 ปี4 เดือน ศาลชั้นต้นจึงเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก50 ปี เพื่อเรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยมีความผิดกรรมเดียวซึ่งมีโทษจำคุกตลอดชีวิต กรณีไม่จำต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตโดยไม่เปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปีได้ มิใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเด็กและเยาวชน: การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ.2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนโทษกักขังเป็นจำคุก: พิจารณาพฤติการณ์และระยะเวลาการกักขัง
คดีมีแต่ปัญหาข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 222 แต่ถ้าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงมา ศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อน
ผู้ต้องโทษกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29ในระหว่างรับโทษกักขังอยู่ทำผิดข้อกำหนดตามมาตรา 27 ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชนเมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
of 2