คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เป็นที่สุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7596/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่รับอุทธรณ์คำสั่งและการฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย โดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อกฎหมายไร้สาระ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องดำเนินคดีอนาถาเป็นที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว การนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมจึงไม่อาจทำได้
จำเลยเคยได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นถึงหากจะฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย จึงไม่มีเหตุที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาล ศาลไม่รับฟ้องแย้งเรื่องยักยอกทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งที่ 31/2545 สั่งให้จำเลยชำระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ 31/2545 การที่จำเลยไม่นำคดีไปสู่ศาลทำให้คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้นไม่มีสิทธินำคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคำฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลย ที่จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจำเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกโดยจำเลยขอนำเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จำเลยชำระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชำระส่วนที่เหลือจึงไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุดเมื่อนายจ้างไม่ฟ้องคัดค้านภายในกำหนด ศาลมีอำนาจบังคับได้
ความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด ต่อเนื่องมาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่าเมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งซึ่งเป็นการเปิดโอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งนำคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบคำสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งแต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าว แสดงว่านายจ้างหรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็นที่สุดสำหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร
เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จะโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้ กรณีมิใช่เรื่องการนำบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการบังคับใช้หรือตีความกฎหมายโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดบังคับคดีเป็นที่สุดตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 อันเป็นเวลาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้แล้ว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเป็นที่สุดห้ามฎีกา: ผลของกฎหมายใหม่ต่อการยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.มาตรา 288โดยให้เพิ่ม วรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1) และ(2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 247 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้...ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม"ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223 บัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้...จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดหลังยื่นฎีกา
ขณะผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 โดยให้เพิ่มวรรคสาม ของมาตรา 288 ว่า "คำสั่งของศาลตามวรรคสอง (1)และ (2) ให้เป็นที่สุด" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 บัญญัติว่า"ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในชั้นอุทธรณ์แล้วนั้นให้ยื่นฎีกาได้ให้นำบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในลักษณะ 1 ว่าด้วยอุทธรณ์ มาตรา 223บัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายนี้จะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด" จึงมีความหมายว่า ในการยื่นฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษานั้นจะต้องไม่เป็นที่สุด หากเป็นที่สุดไม่ว่าจะในชั้นศาลชั้นต้นหรือชั้นศาลอุทธรณ์แล้วต้องห้ามยื่นฎีกา
ผู้ร้องยื่นฎีกาภายหลังที่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดใช้บังคับแล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผิดเงื่อนไข ศาลมีอำนาจปรับตามสัญญา คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
ผู้ประกันผิดสัญญาประกัน และศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาแล้ว การที่ผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายเวลาส่งตัวจำเลยไป หรือลดค่าปรับลงโดยขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นรายเดือน แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 114 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด ผู้ประกันจึงฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา: คำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นยกฟ้องคดีฉ้อโกง ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ตามศาลชั้นต้น คำสั่งนี้เป็นที่สุด โจทก์ฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น
of 2