คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตร: การเพิกถอนเนื่องจากขาดความใหม่-ใช้แพร่หลายก่อนขอรับสิทธิบัตร และอำนาจฟ้องของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
บริษัท ค. ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "วิธีการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเลและอุปกรณ์สำหรับการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเล" โจทก์ซึ่งประกอบกิจการนำเที่ยวโดยการเดินชมทัศนียภาพบนพื้นทะเลถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับสิ่งประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรพิพาท และได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่มีการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรดังกล่าว นับเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรได้ตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง
โจทก์มีพยานซึ่งอยู่ในวงการดำน้ำมาเบิกความชัดเจนว่าในส่วนของวิธีการตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรมีการใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร พยานหลักฐานโจทก์ได้แสดงถึงรายละเอียดของระบบการทำงานของอุปกรณ์เดินใต้น้ำที่มีลักษณะเช่นเดียวกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรพิพาท โจทก์หาจำต้องนำสืบแยกแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับทั้ง 10 ขั้นตอน ตามข้อถือสิทธิข้อ 1 รวมทั้งรายละเอียดเพิ่มเติมข้อ 2 ถึงข้อ 7 และกล่าวถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่าใช้ร่วมกันทั้งหมดหรือไม่อย่างไร กรณีที่มีการนำระบบและอุปกรณ์มาใช้กับนักท่องเที่ยวเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา 6 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นคำร้องในคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้น ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2), 302 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
ตามคำร้องโจทก์ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีเดิมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องก่อนการขาย หากยื่นหลังการขายแล้ว สิทธิในการขอเพิกถอนย่อมขาดไป
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง เป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่ได้เอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดให้แก่ผู้ร้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งล่วงเลยการเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องเพิกถอนการขายทอดตลาดหลังการขายเสร็จสิ้น ผู้ร้องไม่มีสิทธิ
ตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ เนื่องจากผู้ร้องมิได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 2 และมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับหนี้ของจำเลยทั้งสอง การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าว จึงมีความมุ่งหมายเพื่อได้รับผลที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นกรณีที่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนที่ได้เอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด คดีนี้ได้ความว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดที่ดินแปลงดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยผู้ซื้อทรัพย์เป็นผู้ซื้อได้ในราคา 200,000 บาท แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนให้แก่ผู้ร้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2543 ซึ่งล่วงเลยการเอาทรัพย์นั้นออกขายทอดตลาดไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8072/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งแพทยสภา และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งลงโทษ
จำเลยที่ 1 ในฐานะสภานายกพิเศษแห่งแพทยสภา มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบกับการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องการลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะนายกแพทยสภาเป็นประธานคณะกรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง และเป็นผู้แทนแพทยสภาในกิจการต่าง ๆ ตามมาตรา 22 (1) (ก) (ข) (ค) ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะเลขาธิการแพทยสภาเป็นเลขานุการคณะกรรมการแพทยสภาตามมาตรา 22 (4) (จ) เมื่อคณะกรรมการแพทยสภาซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นประธานและจำเลยที่ 3 เป็นเลขานุการได้ใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่ตามมาตรา 39 วรรคสาม (2) และจำเลยที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบตามมาตรา 25 แล้วจึงต้องออกเป็นคำสั่งแพทยสภาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 39 วรรคสี่ ดังนั้น จำเลยทั้งสามจึงมีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายในการทำคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่โดยตรง เพียงแต่มาตรา 39 วรรคสี่ ให้ทำเป็นคำสั่งแพทยสภา จำเลยทั้งสามหาใช่บุคคลภายนอกที่ศาลไม่อาจออกคำบังคับตามคำขอของโจทก์ทั้งสี่ได้ โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งแพทยสภาดังกล่าวได้
การลงมติและการทำคำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนโจทก์ทั้งสี่เป็นการใช้ดุลพินิจตามข้อเท็จจริงจากการสอบสวนของคณะกรรมการแพทยสภา เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตหรือเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสี่ มติและคำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายอันเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ฯ มาตรา 39 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมบริษัทหลังผู้ฟ้องมรณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 และในฐานะโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 อีกด้วย เมื่อโจทก์มรณะ ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ และตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 บัญญัติให้ผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมของบริษัทในกรณีเช่นนี้ได้ กรณีจึงไม่ใช่โจทก์ฟ้องอันมีลักษณะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของโจทก์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่มรณะได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ การเพิกถอนกระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องมีเหตุสมควร
ผู้ร้องและบริษัท จ. ตกลงให้ระงับข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นจากสัญญาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการภายใต้การจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการของหอการค้าระหว่างประเทศ ต่อมามีข้อพิพาทเกิดขึ้น บริษัท จ. เสนอข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวและต่อมามีการแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการจำนวนสามคนผู้ร้องได้ร้องคัดค้านการแต่งตั้งดังกล่าวต่อศาล กรณีไม่ปรากฏเหตุว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการดังกล่าวเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญา กระบวนการชั้นอนุญาโตตุลาการจึงต้องเป็นไปตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันดังกล่าว วิธีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ร้องอ้างว่าสูงเกินสมควร ก็ล้วนอยู่ในข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการดังกล่าวทั้งสิ้น ส่วนการคัดค้านอนุญาโตตุลาการ กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้คู่กรณีสามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ หรือให้คณะอนุญาโตตุลาการกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในระหว่างการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ส่วนการขอให้ศาลมีคำสั่งให้คณะอนุญาโตตุลาการหยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุผลอันสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้หยุดการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6934/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันทำให้สับสนได้ ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 กับเครื่องหมายการค้าคำว่า SOLO ของโจทก์ ใช้อักษรโรมันตัวเดียวกัน จำนวนตัวอักษรและลำดับการวางอักษรเหมือนกันทุกประการ มีความแตกต่างกันเพียงเฉพาะอักษรตัว S กับ L เท่านั้น แต่มีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน โอกาสที่จะมีการออกเสียงเรียกขานไม่ชัดและมีการฟังเสียงเรียกขานเข้าใจคลาดเคลื่อนย่อมเป็นไปได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับเหตุผลที่ว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญประการหนึ่งของการมีกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าก็คือการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถแยกความแตกต่างในแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือความเป็นเจ้าของได้โดยง่าย รวมทั้งเมื่อพิจารณาถึงเครื่องหมายการค้า SOLO และ SOSO ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมด เปรียบเทียบกับเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยภาพรวมแล้ว เห็นว่า มีความเหมือนหรือคล้ายอย่างชัดแจ้ง
แม้รายชื่อสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 8 เป็นคนละรายการกัน แต่เป็นสินค้าจำพวกเครื่องมือช่างช่องทางการจำหน่ายก็อาจเป็นสถานที่เดียวกัน อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะเป็นลูกค้ากลุ่มเดียวกัน โอกาสที่จะทำให้เกิดความสับสนหลงผิดในหมู่สาธารณชนกับตัวเครื่องหมายการค้าย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อพิจารณาถึงเครื่องหมายการค้า SOLO ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ปรากฏว่าได้มีการจดไว้ในรายการสินค้าจำพวก 8 เช่นเดียวกัน รายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 จึงเป็นรายการสินค้าในประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ที่ใช้คำว่า SOLO และเมื่อคำว่า SOSO มีลักษณะเหมือนคล้ายกับคำว่า SOLO สาธารณชนที่พบเห็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า SOSO ของจำเลยที่ 3 อาจสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลที่ไม่ชอบ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดสิทธิ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยจากจำคุก 1 ปี เป็นจำคุก 6 เดือน โดยมิได้แก้บทมาตราด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการที่ไม่ชอบของศาลชั้นต้น และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินพิพาทที่ออกโฉนดโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้รับจำนองสุจริต
อ. ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินทีมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือแต่ไม่ได้จดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ อ. ได้สละเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนในวันที่ซื้อขายแล้ว ดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของ อ. จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 อ. ไม่ใช่เจ้าของ อ. และไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 เพราะต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 การจำนองจึงไม่มีผล โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้น ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินพิพาทไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากที่ดินส่วนที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 2 ได้
of 104