พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ล่าช้าเกิน 8 วัน นับแต่ทราบข้อเท็จจริง
คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องยอมรับว่า ได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 เกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาการยื่นคำร้องคัดค้านการส่งหมาย
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายกล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องของธนาคารผู้รับจำนองที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญติในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อตามคำร้องผู้ร้องยอมรับว่าได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องยกข้อคัดค้านเรื่องผิดระเบียบดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 อันเป็นเวลาเกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ทราบเหตุ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดจากมูลแห่งข้ออ้างนั้นใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา ดังนั้นคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าการที่ทนายโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องขอเลื่อนคดีมายื่นต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วย ถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราเหตุโจทก์ไม่มาศาล จึงอยู่ในบังคับแห่งระยะเวลา 8 วัน ที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเป็นของศาลฎีกา การวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
การสั่งคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาซึ่งอ้างว่าเป็นการผิดระเบียบในชั้นฎีกาเป็นอำนาจของศาลฎีกา ที่ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยไม่ส่งมาให้ศาลฎีกาสั่ง จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งในเรื่องดังกล่าวเป็นที่สุด ที่ศาลแรงงานกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ จึงให้ยกคำสั่งของศาลแรงงานกลางดังกล่าวเสีย และคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเห็นสมควรพิจารณาคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาผิดระเบียบของโจทก์ โดยเห็นว่า คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านให้คู่ความฟังจะเพิ่มเติมแก้ไขมิได้ เว้นแต่กรณีมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย คดีนี้ศาลฎีกาพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์โดยวินิจฉัยว่า อุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมดเป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงไม่รับวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงวินิจฉัยครบถ้วนตามประเด็นในอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมิได้มีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง โจทก์จึงไม่อาจขอให้เพิ่มเติมแก้ไขได้
(คำสั่งคำร้อง)
(คำสั่งคำร้อง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ รวมถึงการฟ้องคดีใหม่
คำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีอันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้องขอให้อนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องฉบับแรก และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังในวันที่ 4 ธันวาคม 2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามมาตรา 229
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้อง โจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์โจทก์จึงคงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้อง โจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์โจทก์จึงคงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ การอุทธรณ์ต้องอาศัยเหตุผลที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามคำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่ในวันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี อันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้อง ขอให้ไต่สวนคำร้องของโจทก์แล้วอนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรกดังนั้น คำร้องของโจทก์ฉบับหลังจึงมีข้ออ้างและคำขอแตกต่างกับคำร้องของโจทก์ฉบับแรก เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องตามคำร้องฉบับแรกของโจทก์และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังของโจทก์ในวันที่ 4 ธันวาคม2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 แล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ เพราะศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้พิจารณาคดีนี้ไปฝ่ายเดียวอันเนื่องมาจากคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาและอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ขาดนัดพิจารณา ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยาน โจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้องที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลที่ยกคำร้องฉบับแรกของโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโจทก์คงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหลังมีคำพิพากษา: สิทธิของคู่ความ & กรอบเวลา
การขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 หาจำต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนศาลมีคำพิพากษาเสมอไปไม่ หากคู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว ก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนฟ้อง และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในการขอให้พิจารณาใหม่นั้น หากได้ความตามคำร้องซึ่งอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนถูกฟ้อง ก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัวและศาลชั้นต้นต้องเริ่มต้นดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษา ศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงิน ค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องมานั้นไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควร หยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง
จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสภาพบุคคลที่อยู่ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเนื่องจากจำเลยถึงแก่กรรมก่อนฟ้อง และผลของการไม่วางค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์
การขอให้พิจารณาใหม่หากได้ความตามคำร้องก็มีผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว และศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาขึ้นใหม่ ดังนี้เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง การที่ผู้ร้องอุทธรณ์ก็เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ผู้ร้องจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 ด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงมิชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ถือไม่ได้ว่าฎีกาของผู้ร้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีฝ่ายเดียวและมีคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ผู้ร้องได้อ้างส่งสำเนาคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 เข้ามาในสำนวนด้วยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกโจทก์ฟ้องคดี ฉะนั้น ฟ้องของโจทก์และกระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงมิชอบมาแต่ต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อสำนวนขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้องตลอดมา
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีฝ่ายเดียวและมีคำพิพากษา จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นรับคำร้อง ผู้ร้องได้อ้างส่งสำเนาคำสั่งศาลที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 เข้ามาในสำนวนด้วยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะถูกโจทก์ฟ้องคดี ฉะนั้น ฟ้องของโจทก์และกระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงมิชอบมาแต่ต้น เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะโจทก์ยื่นฟ้องปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อสำนวนขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 นับแต่ศาลชั้นต้นรับฟ้องตลอดมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาเนื่องจากส่งหมายไม่ชอบ และจำเลยไม่ทราบการฟ้องคดี
การที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการผิดระเบียบ มิได้อุทธรณ์ว่าเป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำร้องและอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ แต่ได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีประเด็นโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์ ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยทั้งสองยี่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี แต่เมื่อขณะถูกฟ้องจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้ไปค้าขายอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี จึงไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ซึ่งโดยสภาพย่อมเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยทั้งสองจะมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาได้ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้
การที่พนักงานเดินหมายนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปปิด ณ บ้านจำเลยทั้งสอง เป็นเวลาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์เพียง 11 วัน การปิดหมายนัดดังกล่าวจึงไม่มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบ แม้จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลจะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากบ้านพิพาทที่จังหวัดจันทบุรี แต่เมื่อขณะถูกฟ้องจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยทั้งสองได้ไปค้าขายอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี จึงไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ซึ่งโดยสภาพย่อมเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยทั้งสองจะมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาได้ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้
การที่พนักงานเดินหมายนำหมายนัดสืบพยานโจทก์ไปปิด ณ บ้านจำเลยทั้งสอง เป็นเวลาก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์เพียง 11 วัน การปิดหมายนัดดังกล่าวจึงไม่มีผลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบ แม้จำเลยทั้งสองไม่ไปศาลในวันนัดก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่ศาลจะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27