คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนการซื้อขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการซื้อขายฉ้อฉล: สัญญาจะซื้อจะขายก่อนการซื้อขายจริง, เจ้าหนี้มีสิทธิเพิกถอนได้แม้ลูกหนี้มีทรัพย์อื่น
บทบัญญัติว่าด้วยการเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มิได้บัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในทรัพยสิทธิเท่านั้นที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในบุคคลสิทธิย่อมร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้ด้วยและเมื่อวัตถุแห่งหนี้คือบ้านพร้อมที่ดินอันเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งมีลักษณะเฉพาะไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นมาโอนแทนได้ แม้ลูกหนี้จะมีทรัพย์สินอื่นพอที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ก็ยังทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาเพิกถอนการซื้อขายที่ดิน ไม่มีผลผูกพันผู้รับจำนองที่เป็นบุคคลภายนอก
ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ผลของคำพิพากษาย่อมไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ผู้รับจำนองที่พิพาทดังกล่าวเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปลอดจากจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส และผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ไม่สุจริต
โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทมาเมื่อ พ.ศ.2529 อันเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่เป็นสินบริคณห์ แต่เป็นสินสมรสตามบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.พ.พ.(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 มาตรา 10 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะทำนิติกรรมนั้น และเมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 1480 และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวจะต้องเพิกถอนนิติกรรมนั้นทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนโจทก์หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้นศาลก็มิอาจพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินล้มละลาย การกระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
ลูกหนี้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกันกับลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายในคดีอื่น เป็นการกระทำภายในระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายในคดีนี้ เมื่อฟังได้ว่าผู้คัดค้านกับลูกหนี้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงการติดตามยึดทรัพย์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และมิให้บรรดาเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้ได้ โดยลูกหนี้และผู้คัดค้านไม่มีเจตนาซื้อขายและชำระราคากันจริง เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเนื่องจากการฉ้อฉล คำพิพากษาชี้ว่าอายุความเริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบถึงการฉ้อฉล
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2529 เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการจดทะเบียนโอนขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 สำนักงานที่ดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางคล้า ได้ทำหนังสือไปถึงโจทก์ลงวันที่ 2 เมษายน 2529 แจ้งให้ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ขายที่ดินที่ขอให้ระงับการโอนไว้ให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว นิติกรสังกัดกองนิติการของโจทก์ทำบันทึกเรื่องราวเสนอให้อธิบดีของโจทก์ทราบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 จึงถือได้ว่า โจทก์ได้รู้ถึงการฉ้อฉลรายนี้เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2529 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2530 ยังไม่พ้น 1 ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้น10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายบ้านที่เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ระบุเอาบ้านพิพาทเป็นประกันต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินชำระหนี้จึงตกลงจะไปจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทแก่โจทก์แต่จำเลยที่ 1 กลับทำสัญญาซื้อขายจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นิติกรรมดังกล่าวจำเลยที่ 1 กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 ซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ดังนี้ โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
เจ้าหนี้ผู้ที่จะเป็นโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2098/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต และการโอนกรรมสิทธิ์โดยคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยที่ 1 ไปขอรับมรดกที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริต แล้วจำเลยทั้งสองโดยเจตนาไม่สุจริตซื้อขายที่ดินดังกล่าวกันโดยจำเลยที่ 2 ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจขาย ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ เป็นคำฟ้องที่โจทก์เรียกที่พิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามพินัยกรรมของเจ้ามรดกคืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต ส่วนที่โจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 โอนโฉนดที่พิพาทคืนให้โจทก์หากจำเลยที่ 2 ไม่โอนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยนั้น เป็นการกระทำเพื่อให้ที่ดินดังกล่าวหลุดพ้นจากการเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 มาเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อที่พิพาทตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินจากการบอกล้างโมฆียะกรรม และอำนาจฟ้องของทายาท
ม. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินที่พิพาทได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลว่า จำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลโอนเอาที่ดินโฉนดที่พิพาทไป ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1 ออกจากโฉนดที่พิพาท ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ม. ได้ถูกจำเลยที่ 1 ใช้กลฉ้อฉลจริง พิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 1ออกจากโฉนดที่พิพาท คดีถึงที่สุด ระหว่างที่จำเลยที่1 ยังไม่ได้แก้ชื่อในโฉนดที่พิพาทให้เป็นของ ม. ตามเดิมจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นวันที่ ม. ถึงแก่กรรม ดังนี้ โดยผลคำพิพากษาดังกล่าวถือว่าได้มีการบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ซึ่งตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่านให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก จึงเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทเลย ที่พิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ม. อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท และจะยกเอาเหตุที่ได้รับโอนโดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต มายันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกที่พิพาทจาก ม. เจ้าของที่พิพาทเดิมหาได้ไม่
คดีนี้ โจทก์ฟ้องเรียกที่พิพาทคืนจากผู้ไม่มีสิทธิในฐานโจทก์เป็นทายาทรับมรดกคนหนึ่งของ ม. เจ้ามรดกโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการซื้อขาย: ทรัพย์สินต้องเป็นของโจทก์จริง หากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องคดี อ้างว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เอาโรงงานและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 ขอให้พิพากษาว่าหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าวเป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย จำเลยทั้งสามให้การและแถลงว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ได้เอาโรงงานและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ไปขาย จำเลยที่ 3 แถลงว่าไม่เคยโต้แย้งว่าทรัพย์สินตามฟ้องไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยเคยรับอยู่ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วว่า ทรัพย์สินตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย ดังนี้ถือได้ว่าไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับโรงงานและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องโจทก์ว่าเป็นทรัพย์สินของฝ่ายใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยสำหรับทรัพย์สินที่กล่าวในฟ้อง และไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอื่น ซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมรับชำระหนี้บางส่วนของผู้ขาย ทำให้สิทธิเรียกร้องการเพิกถอนการซื้อขายไม้จากผู้ซื้อรายใหม่หมดไป
แม้จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแล้ว โจทก์ก็ยังยินยอมปฏิบัติตามสัญญารับชำระหนี้ส่วนหนึ่งจากจำเลย โดยรับเช็คจากจำเลยที่ 2 ไปเบิกเงินจากธนาคาร ดังนี้ จะถือว่าจำเลยทั้งสองทำการโดยไม่สุจริตสมยอมกันทำการฉ้อฉลเพื่อยักย้ายทรัพย์ให้พ้นจากการที่ต้องชำระหนี้หาได้ไม่
of 2