พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า หากทำลงโดยรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจากการบังคับคดี
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ไม่ว่าจะมีการบังคับคดีแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องมีผลกระทบสิทธิ/หน้าที่โจทก์ นอกเหนือจากคำฟ้อง/ให้การ การขอเพิกถอนสัญญาจึงเป็นเพียงคำให้การ
ฟ้องแย้งนอกจากจะเป็นคำให้การต่อสู้คดีแล้วยังต้องเป็นการเสนอข้อหาของจำเลยต่อโจทก์อันอาจมีผลให้เกิดการกระทบกระเทือนถึงสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ นอกเหนือจากที่จะเกิดตามปกติจากคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ขอถือคำให้การนี้เป็นฟ้องแย้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหากศาลพิจารณาแล้วเห็นเป็นเช่นนั้น ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับให้ตามกฎหมาย ซึ่งก็คือสัญญากู้ยืมถูกเพิกถอนและทำลายไปนั่นเอง หาได้มีผลกระทบถึงสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์นอกเหนือจากคำฟ้องแต่อย่างใด คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงมีสภาพเป็นเพียงคำให้การ หาใช่ฟ้องแย้งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดิน: สิทธิของโจทก์ผู้ทำสัญญาจะซื้อขายก่อน และผลของการจดทะเบียนโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองต่อมาจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทไปยื่นคำร้องขอออกโฉนดที่ดินที่สำนักงานที่ดิน โดยอ้างว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก การที่โจทก์ยื่นคำคัดค้านอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2515 ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1ได้สละและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ดังนี้ ฐานะของโจทก์ย่อมมีเพียงขอให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ที่ทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2ได้เสียค่าตอบแทนชำระเงินค่าที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1และโดยจำเลยที่ 2 ไม่รู้หรือควรได้รู้ว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขายฝากรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและกระทำการโดยสุจริตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะเพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของเจ้าของรวมที่ไม่ได้รับความยินยอม สิทธิของเจ้าของรวม
คดีก่อนมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ต้องไถ่ถอนจำนองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่า โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ นอกจากนี้แล้วโจทก์ก็เพียงแต่ยื่นคำร้องสอดเพื่อขอเข้ามาเป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ฉะนั้นโจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วย
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
การยินยอมให้ผู้เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเจ้าของรวมคนอื่นไว้นั้น เป็นความตกลงที่บุคคลสามารถกระทำได้ด้วยไม่ประสงค์จะเปิดเผยชื่อของตน แม้จะเป็นด้วยเหตุผลอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม การกระทำเช่นว่านั้นก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นโมฆะ ดังนั้น หากโจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทคนหนึ่ง และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งนำที่ดินพิพาททั้งแปลงไปทำสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้ยินยอม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกเกี่ยวกับการแบ่งส่วนที่ดินต่อศาล แม้เป็นสำเนาเอกสาร แต่เจ้าพนักงานศาลก็ได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว และในเวลาต่อมาโจทก์ก็ได้ส่งต้นฉบับต่อศาลชั้นต้นด้วย กรณีจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 93 ส่วนการพิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือปลอมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการนำสืบแสดงของคู่ความ
การพิสูจน์ว่าผู้ซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง จึงหาอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา94 ไม่ โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลได้
จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาททั้งแปลงรวมทั้งส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นไม่ทราบเรื่องและมิได้ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1361 วรรคสอง อีกทั้งคดีนี้ก็เป็นกรณีโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมมาแต่แรก แต่ลงชื่อจำเลยที่ 1 ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องการได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการมาตกลงให้ถือกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังอันจะต้องตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ที่จะต้องมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อน และการที่โจทก์และเจ้าของรวมคนอื่นเพียงแต่ตกลงยินยอมให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวในโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิได้มีพฤติการณ์อื่นใดอีกนั้น ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการเชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ก็มิได้ร่วมอยู่ด้วย ฉะนั้น โจทก์จึงมิใช่ตัวการที่จะต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินส่วนของโจทก์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีอำนาจกระทำได้ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความจากข้อฉ้อฉลและผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
การฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง รวมทั้งเจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น ศาลจึงจะบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ มีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษา ศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เป็นการฉ้อฉลต้องฟ้องคู่กรณีทั้งหมด ผลกระทบต่อบุคคลนอกคดี
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยทั้งสองที่ทำต่อหน้าศาล อ้างว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1คนหนึ่งเสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าว โจทก์จะต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่ายที่ทำนิติกรรมนั้น เพราะผลของคำพิพากษาไม่อาจบังคับบุคคลนอกคดี การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความเพราะจำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลให้จำเลยที่ 1 พ้นจากการที่ต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีตามคำขอของโจทก์ต่อไปได้เพราะจะมีผลกระทบไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลนอกคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 649/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความต้องฟ้องคู่กรณีทั้งสอง การจำหน่ายคดีออกจากสารบบทำให้ศาลไม่สามารถบังคับตามคำขอได้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นโจทก์จะต้องฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นคู่กรณีที่ทำนิติกรรมการที่โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่1ออกจากสารบบความจะทำให้ศาลไม่สามารถพิจารณาพิพากษาตามคำขอของโจทก์ได้เพราะจำเลยที่1เป็นบุคคลนอกคดีเสียแล้วปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาเช่าและการกำหนดค่าเสียหายจากการระงับสิทธิเช่าเดิม
จำเลยที่5โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่1มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมายล.8ซึ่งจำเลยที่5ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่1และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่ กรมธนารักษ์แจ้งมาและโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่5ไกล่เกลี่ยแม้จำเลยที่1ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5แล้วดังนั้นจำเลยที่1และที่5จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา375 แม้จะได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นบุตรของ ว.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1ย่อมจะรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่1และจำเลยที่5อันจะถือได้ว่าจำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่5โดยไม่สุจริตก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่4จำเลยที่4ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่4รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตแต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่4ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมาซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่4ไม่สุจริตด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่4กับจำเลยที่5ได้ สัญญาระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่5เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่1และที่5ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่1และที่5แล้วการที่จำเลยที่1และที่5ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่2และที่3เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่1และที่5จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองแต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่1เท่านั้นจึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องสำหรับจำเลยที่2และที่3นั้นมิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองส่วนจำเลยที่4นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริตยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายสินสมรส จำเลยให้การไม่ชัดเจน ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 (เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้น หามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใด ซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคสอง (เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใด ซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคสอง (เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นเรื่องอายุความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480(เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่19 กุมภาพันธ์ 2533 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง(เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท