พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีถูกถอนสถานภาพผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลอืกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ ข้อ 14 ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันเวลานัดและศาลที่จะยื่นคำร้องให้ผู้สมัครทราบก่อนวันนัดยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลและแพ่งก่อนวันเลือกตั้งมากกว่า 10 วันทำการ แต่คดีนี้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องก่อนวันเลือกตั้งไม่มากกว่า 10 วันทำการ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34/1 กำหนดว่า ก่อนการเลือกตั้งถ้าผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเห็นว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นได้ ประกอบกับข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งฯ ข้อ 14 วรรคสุดท้าย กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรง ผู้ร้องจึงสามารถยื่นคำร้องได้ตามกฎหมายและกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของข้อ 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
สถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอนและปริญญาบัตรที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยแล้วการถอนสภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
(คำสั่งศาลฎีกา)
สถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอนและปริญญาบัตรที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยแล้วการถอนสภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินปฏิรูป: การได้มาซึ่งสิทธิจากการคัดเลือกของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินฯ และอำนาจในการเพิกถอน
ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 19 (7) บัญญัติให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าบุคคลหรือเกษตรกรที่จะเข้ามาอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ต้องได้รับการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมก่อน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาก่อนมีการปฏิรูปที่ดินและมิได้เช่าจากโจทก์ แต่เมื่อทางราชการประกาศให้เขตที่ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตั้งอยู่เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว ที่ดินพิพาททั้งสองย่อมตกเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 36 ทวิ ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจจัดให้บุคคลใดเข้าถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด เมื่อโจทก์ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองมาแต่เดิมหาได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่
ปัญหาว่าโจทก์ไม่ใช่เกษตรกรและไม่มีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ. การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจและอำนาจของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหาอาจนำมาอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิแก่โจทก์ได้ไม่ และที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน พ.ศ. 2535 โจทก์จึงสิ้นสิทธิในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองต้องไปดำเนินการทางคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อเพิกถอนสิทธิของโจทก์ต่อไป หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8856/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ว. และไม่มีการแจ้งเหตุ
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 54 บัญญัติว่า "ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่ายสามารถแสดงตนได้ ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัคร หรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้จดหมายเลขบัตรและสถานที่ออกบัตร และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหลักฐาน ตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน..." และมีระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "การตรวจสอบการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ 101 หรือข้อ 102 ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐาน และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐาน และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง แล้วให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมอบบัตรเลือกตั้งหนึ่งบัตรให้แก่ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน พร้อมทั้งกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งตรงใต้ช่องพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย" ข้อ 106 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า "เมื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้วให้ไปยังคูหาลงคะแนน แล้วทำเครื่องหมายกากบาทลงในบัตรเลือกตั้งหนึ่งเครื่องหมาย และนำบัตรเลือกตั้งที่พับเรียบร้อยแล้วหย่อนใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งต่อหน้ากรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง" ตามบทบัญญัติและระเบียบดังกล่าวกำหนดวิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไว้เป็นขั้นเป็นตอน นับแต่ตรวจสอบหลักฐานของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิ มอบบัตรเลือกตั้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและควบคุมการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้ง เห็นได้ว่า หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องบันทึกเลขประจำตัวประชาชนหรือเลขบัตรประจำตัวหรือหลักฐานอื่นใดพร้อมสถานที่ออกบัตรของผู้ไปใช้สิทธิในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและให้ผู้นั้นลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งด้วย ในทางตรงข้ามหากผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็จะไม่ปรากฏบันทึกของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรณีของผู้คัดค้าน ผู้ร้องมีพยานบุคคลเบิกความประกอบเอกสารราชการอันเป็นหลักฐานในเบื้องต้นว่า ผู้คัดค้านมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 ผู้คัดค้านนำพยานบุคคลเข้าสืบพิสูจน์ว่าได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่ในขั้นตอนการตรวจสอบหลักฐานของผู้คัดค้าน กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งไม่ได้จดเลขประจำตัวประชาชนและไม่ได้ให้ผู้คัดค้านลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ขั้นตอนการมอบบัตรเลือกตั้งนอกจากผู้คัดค้านพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งแล้ว ผู้คัดค้านยังได้ลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรด้วย และขั้นตอนการหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบบัตรเลือกตั้งผู้คัดค้านไม่ได้หย่อนบัตรด้วยตนเองแต่มอบให้บุคคลอื่นเป็นผู้ดำเนินการแทน วิธีปฏิบัติของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดังที่ผู้คัดค้านนำสืบล้วนแต่ขัดแย้งกับขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2542 ข้อ 103 และ 106 ทั้งสิ้น เมื่อผู้คัดค้านนำสืบแสดงข้อเท็จจริงไม่ได้ว่าตนได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 และคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนนทบุรีได้ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุหรือแจ้งเหตุแล้วแต่เหตุนั้นมิได้เป็นเหตุอันสมควร โดยมีชื่อผู้คัดค้านอยู่ในบัญชีดังกล่าว และผู้คัดค้านมิได้แจ้งเหตุการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ผู้คัดค้านจึงเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิรูปที่ดิน: การเพิกถอนสิทธิผู้รับประโยชน์เนื่องจากคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่ถือเป็นละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ
คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดได้ประกาศรายชื่อโจทก์เป็นผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินตามระเบียบแล้ว ต่อมาจำเลยซึ่งดำรงตำแหน่งปฏิรูปที่ดินจังหวัดเห็นว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงเสนอเรื่องให้คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัดพิจารณาทบทวนมติเดิม คณะกรรมการมีมติให้รอการพิจารณาของศาลก่อนจึงจะมีมติต่อไป จำเลยจึงต้องรอฟังมติดังกล่าวทำให้ไม่สามารถมอบหนังสือรับมอบที่ดินให้โจทก์ การกระทำของจำเลยเป็นการมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิรูปที่ดินดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าแผงค้า-การเพิกถอนสิทธิ-การปฏิบัติตามระเบียบ-อำนาจคณะกรรมการตลาด
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526ข้อที่27ระบุว่าผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้นมีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้งเช่นได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสดแต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้วและได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วยเช่นกรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิตคือปลาเลี้ยงปลาสวยงามต่างๆตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลาอุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วยย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าวนอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่3)พ.ศ.2527ข้อ2ประเภทแผงค้า(4)สัตว์มีชีวิตก็ดีตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานครระบุว่าประเภทสินค้าสัตว์มีชีวิตก็ดีมิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่2ว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลายๆประเภทไว้ณสถานที่เดียวกันผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่งช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะดังนั้นการที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงามและมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่ การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลาดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษีอากร
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อาศัยอำนาจตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน2532 ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วน ดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่ 12 ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและการบังคับใช้สิทธิในการชำระหนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนการเพิกถอน
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาศัยอำนาจตามมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2532ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วนดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่12ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่28พฤศจิกายน2532ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520มาตรา55วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล: ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนสิทธิและยืนยันอำนาจจำเลยในการอนุมัติการโอน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1ขอให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าการโอนดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน ทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้รับยกเว้นการเสียภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ต่อมาจำเลยถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้รับยกเว้นทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 มาตรา 55 ให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมนั้นไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น ฉะนั้นจำเลยจะต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่า เมื่อจำเลยนำของเข้ามานั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนทำให้ต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง แม้จะสุจริต
เมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดที่ให้แก่จำเลย เครื่องจักรที่จำเลยนำเข้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีอากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในตอนนำเข้าจึงถือว่าไม่เคยได้รับยกเว้นภาษีอากรมาแต่ต้น จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระภาษีอากรโดยไม่คำนึงว่าเมื่อตอนนำเข้านั้นได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่.