คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอนใบอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนเอกชน เหตุไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สถานที่และการเช่าที่ดิน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความในพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ข้อ 6 กำหนดว่า ที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียน หรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้ คือ ถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2528 ข้อ 5 (1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกัน มีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 3,200ตารางเมตร หรือ 2 ไร่ และมีบทเฉพาะกาล ข้อ 16 ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้ เกี่ยวกับสถานที่และอาคาร ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 5 (1) ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เห็นได้ว่าแม้ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวก็ตามแต่ต่อมาปรากฏว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของมิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไป ทั้งไม่ยินยอมให้โจทก์เช่าที่ดินดังกล่าวด้วยดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียน ทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดิน ย่อมขัดต่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าวข้อ 6 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 55 บัญญัติว่า ในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 18 ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาเอกชนได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมา ฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความใน พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 แต่อย่างใด กรณีต้องด้วยมาตรา 85 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา 18 ได้ เมื่อปรากฏว่า ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.นี้ หรือกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้เกิดผลเสียหายกล่าวคือ เมื่อเจ้าของที่ดินที่อาคารเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดินต่อไป การเปิดการเรียนการสอนในอาคารดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้ต่อไป ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เด็กนักเรียนและครูผู้สอน คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนชอบด้วยกฎหมายเมื่อสถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไข และเจ้าของที่ดินไม่อนุญาตใช้พื้นที่
ขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาโรงเรียนของโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พ.ศ. 2528 แต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกไป มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปจึงมีสภาพขัดต่อกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มาตรา 55ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขสภาพเช่นว่านั้น เมื่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจำเลยซึ่งเป็นผู้อนุญาต ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์แก้ไขให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม และทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่นักเรียนและครูผู้สอน กรณีต้องด้วยมาตรา 85(3) ที่ให้อำนาจจำเลยสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียน: สถานที่ตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย และเจ้าของที่ดินไม่ยินยอม
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2529)ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ข้อ6กำหนดว่าที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนหรือเป็นที่เช่าที่มีลักษณะดังนี้คือถ้าเป็นที่ดินของเอกชนต้องมีสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลาเช่าเหลืออยู่นับแต่วันยื่นคำขอไม่น้อยกว่าสิบปีและได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาพ.ศ.2528ข้อ5(1)ระบุว่าที่ดินของโรงเรียนต้องเป็นผืนเดียวติดต่อกันมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า2ไร่และมีบทเฉพาะกาลข้อ16ระบุว่าโรงเรียนที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาอยู่แล้วก่อนวันใช้ระเบียบนี้เกี่ยวกับสถานที่และอาคารซึ่งกำหนดไว้ในข้อ5(1)ถ้าโรงเรียนใดได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่แล้วให้ใช้ต่อไปได้แต่ถ้าจะขอจัดตั้งใหม่หรือขอเปลี่ยนแปลงจะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ดังนั้นขณะที่โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้เปิดสอนระดับประถมศึกษาแม้โรงเรียนของโจทก์จะมีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องก็ตามแต่ต่อมาที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายเจ้าของและเจ้าของที่ดินที่อาคารของโรงเรียนตั้งอยู่ไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ที่ดินต่อไปดังนี้จึงเป็นกรณีที่โจทก์ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนมิใช่เจ้าของที่ดินที่ใช้ตั้งโรงเรียนทั้งโจทก์ก็มิได้มีสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากเจ้าของที่ดินย่อมขัดต่อกฎกระทรวงฉบับที่2ข้อ6ซึ่งตามพระราชบัญญัติ โรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525มาตรา55บัญญัติว่าในกรณีที่สถานที่หรือบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนมีสภาพขัดต่อหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา18ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขสภาพเช่นว่านั้นเมื่อจำเลยที่2ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ดำเนินการให้ถูกต้องแล้วแต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงได้มีการออกคำสั่งให้หยุดทำการสอนชั่วคราวและเพิกถอนใบอนุญาตในเวลาต่อมาฉะนั้นไม่ว่าโจทก์จะได้รับประโยชน์จากบทเฉพาะกาลของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการดังที่อ้างหรือไม่ก็ไม่ทำให้กรณีของโจทก์ถูกต้องตามเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่2แต่อย่างใดกรณีต้องด้วยมาตรา85(3)แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2525ที่บัญญัติให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามมาตรา18ได้คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวกับระดับประถมศึกษาจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาแผนโบราณโดยไม่ขึ้นทะเบียน และหลอกลวงผู้ป่วยด้วยข้อมูลเท็จ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดย เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่ คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4,72,122 ซึ่งตาม มาตรา 4 ให้ถือว่า การมีไว้เพื่อขายเป็นการขายด้วย ก่อนเกิดเหตุ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัดโดยใช้คนขับรถสองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไป อาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยแก่จำเลยโดยห้ามจำเลยประกอบอาชีพผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและเกิดความแตกแยกภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5771/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคม: อำนาจควบคุมดูแลตาม พ.ร.บ.วัฒนธรรมฯ และเหตุผลความไม่สงบภายใน
สมาคมโจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่ศาสนาอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เรื่องควบคุมสมาคมและองค์การต่าง ๆ การที่สมาคมโจทก์ไม่แจ้งจำนวนสมาชิกทุกประเภทและรายชื่อกรรมการ ไม่รายงานกิจการที่สมาคมได้ดำเนินการไปต่อจำเลยที่ 1 อันเป็นการขัดต่อข้อบังคับดังกล่าวไม่แจ้งจำเลยที่ 1 ภายในกำหนดว่าประสงค์จะดำเนินกิจการอีกต่อไปทั้งสมาชิกของสมาคมโจทก์มีความแตกแยกเป็นหลายฝ่ายถึงขั้นแจ้งความจับกุมสมาชิกซึ่งกันและกัน นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลหลายคดี อันเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง และขัดต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นเป็นที่เสียหายแก่สมาคมโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลสมาคมโจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการอนุญาตที่ให้ไว้แก่สมาคมโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการละเมิดโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมและการสิ้นสุดสภาพกรรมการ การฟ้องอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรง
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อสมาคม ศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมิได้กระทำต่อโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะนายทะเบียนสมาคมจังหวัดมีประกาศขีดชื่อสมาคม ศ. ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ. ต้อง เลิกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่น เหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูกสมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้นั้น ก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเองถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวโจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมและการสิ้นสภาพกรรมการ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอาญา
การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคม ศ. เป็นการกระทำต่อสมาคม ศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคล มิได้กระทำต่อโจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นคณะกรรมการของสมาคม ศ. เป็นส่วนตัว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนสมาคมจังหวัดได้ประกาศขีดชื่อสมาคม ศ.ออกจากทะเบียนสมาคมแล้ว อันเป็นเหตุให้สมาคม ศ.ต้องเลิกไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1292(7) ไม่ได้เป็นนิติบุคคลอีกต่อไป โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นกรรมการของสมาคม ศ. ในขณะนั้นจึงต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการของสมาคม ศ. ไปด้วย ไม่มีอำนาจหน้าที่หรือความสัมพันธ์ใด ๆ เกี่ยวข้องกันอีก แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยามจากบุคคลอื่น และอาจถูกสมาชิกของสมาคม ศ. เรียกร้องค่าเสียหายได้นั้นก็เป็นความรู้สึกและคาดคิดส่วนตัวของโจทก์ทั้งเจ็ดเอง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้รับความเสียหายเนื่องจากการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1ดังกล่าว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชี และความรับผิดในสัญญาซื้อขายหุ้นหลังเพิกถอนใบอนุญาต
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ถอนใบอนุญาตของโจทก์และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี เมื่อคณะผู้ชำระบัญชีประชุมมีมติให้ผู้ชำระบัญชี 2 คนมีอำนาจลงชื่อร่วมกันแต่งตั้งทนายความฟ้องคดีได้ ผู้ชำระบัญชี 2 คนจึงมีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องจำเลยได้
โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ การที่โจทก์จัดการซื้อหุ้นตลอดจนออกเงินทดรองค่าหุ้นให้แก่จำเลยไปนั้น จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าที่โจทก์ดำเนินกิจการดังกล่าวไปก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้ค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หาได้กระทำให้เปล่าโดยไม่มีประโยชน์ตอบแทนไม่จำเลยจึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์
จำเลยสั่งซื้อหุ้นจำนวน 500 หุ้น แต่จำเลยได้สั่งขายหุ้นดังกล่าวไป 300 หุ้น จึงเหลือหุ้นที่จำเลยสั่งซื้อไว้และยังไม่ได้ขายอีก 200 หุ้นจำเลยต้องรับผิดใช้เงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวนนี้แก่โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมบริษัท, เพิกถอนใบอนุญาต, การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี, สัญญาเช่าซื้อ, และการชดใช้ค่าเสียหาย
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมบริษัทโจทก์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 โดยกรรมการบางคนเป็นพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย และบางคนเป็นข้าราชการกระทรวงการคลังไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งมาตรา 22(7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ตั้งหรือยอมให้ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมบริษัทเงินทุนหรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหรือทำหน้าที่กรรมการ ผู้จัดการหรือพนักงานหรือบุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของบริษัทเงินทุนนั้นเพราะบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงการห้ามมิให้บริษัทเงินทุนตั้งหรือยินยอมให้บุคคลดังกล่าวทำหน้าที่ในบริษัทของตนเองโดยตรง หาได้เกี่ยวกับกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท การเพิกถอนใบอนุญาตและการเลิกบริษัทตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 และในหมวด 5 ดังกล่าวก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามตั้งบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 22 เป็นกรรมการควบคุมบริษัทที่ถูกควบคุมแต่ประการใด คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 87เป็นบทบัญญัติบังคับให้บริษัทที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ตามมาตรา 80 เลิกประกอบกิจการที่มาตรา 43(6) บัญญัติห้ามไว้ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หาใช่บทบัญญัติที่ให้อำนาจบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวประกอบกิจการที่ต้องห้ามต่อไปได้อีก 1 ปี ไม่ ฉะนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของโจทก์แล้ว อำนาจหรือสิทธิในการประกอบธุรกิจที่ต้องห้ามย่อมสิ้นสุดไปด้วยโดยอัตโนมัติ
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนผู้ชำระบัญชีของบริษัทโจทก์ชุดแรกและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 สืบแทนผู้ชำระบัญชีคณะเดิมต่อไป แสดงว่าเป็นการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ให้ปฏิบัติหน้าที่ติดต่อไปในทันทีนั่นเอง แม้จะมีการจดทะเบียนคณะผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2ภายหลังการฟ้องคดีนี้ ก็หาทำให้กิจการที่ผู้ชำระบัญชีชุดที่ 2 ปฏิบัติไปแล้วต้องเสียไปไม่ เพราะการจดทะเบียนผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1254 เป็นเพียงพิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนเท่านั้น หาได้มีบทบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไปไม่ ผู้ชำระบัญชีสองคนซึ่งเป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งทนายให้ฟ้องคดีนี้แม้จะมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งเพิกถอนไปพร้อมกับผู้ชำระบัญชีอื่นในชุดแรก แต่ทั้งสองคนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทโจทก์ในชุดที่ 2 การแต่งทนายให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 บังคับให้ทำเป็นหนังสือและมีข้อความในสัญญาเช่าซื้อระบุจำนวนเงินและเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อไว้ชัดแจ้งโดยจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเกิดจากการแสดงเจตนา ลวงของโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะบังคับตามสัญญาไม่ได้ จำเลยที่ 1 จะนำสืบว่ามี ข้อตกลงนอกเหนือไปจากสัญญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์ กับสืบถึงเจตนาและความประสงค์ของคู่สัญญาที่แตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงข้อความตามสัญญาเช่าซื้อ แม้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอมก็เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 94(ข)
เมื่อพิเคราะห์ถึงสภาพรถยนต์ที่เช่าซื้อและพฤติการณ์อื่น ๆ แห่งคดีแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยคำนวณเป็นรายเดือนเพียง 1 ปี
of 3