พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4917-4918/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดขอบเขตฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด, ทายาทรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่ฟ้องขอ, และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
การที่จำเลยร่วมอุทธรณ์ว่า ผู้ตายเป็นผู้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อแต่เพียงผู้เดียว เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นที่ฟังว่า ย. ลูกจ้างจำเลยที่ 1 มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย อุทธรณ์ของจำเลยร่วมจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ในสำนวนที่ 2 มีเพียงคนละไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยร่วมในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ให้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ และสมควรแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้ถูกต้อง เหตุที่รถยนต์บรรทุกที่ ย. ขับเสียหลักแล่นไปชนรถยนต์โดยสารของโจทก์ที่ 1 เป็นเพราะผู้ตายขับรถยนต์เก๋งแล่นล้ำเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถเข้าไปชนรถยนต์บรรทุกก่อน ดังนั้น ย. จึงไม่ได้ขับรถประมาท เหตุที่รถยนต์ชนกันเกิดความประมาทเลินเล่อของผู้ตายฝ่ายเดียว มิใช่เป็นผลโดยตรงที่เกิดจากการที่ ย. ขับรถด้วยความเร็วสูง หรือขับรถยนต์บรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก และโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 4 ที่เป็นโจทก์ในสำนวนที่สองบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของผู้ครอบครองรถยนต์เก๋งรับผิดในฐานะเป็นตัวการรับผิดร่วมกับผู้ตายซึ่งเป็นบุตรและเป็นตัวแทนขับรถไปตามคำสั่งของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตายที่กระทำละเมิด แม้โจทก์ที่ 1 จะแก้ไขคำฟ้องโดยระบุชื่อจำเลยที่ 2 ว่าในฐานะส่วนตัวและในฐานะทายาทของ อ. แต่ในคำฟ้องก็มิได้ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะทายาทด้วย การที่ศาลล่างพิพากษาให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนรับผิดต่อโจทก์ทั้งสี่ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. ผู้ตาย จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่กล่าวมาในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 ไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4644/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: พิจารณาจากลักษณะข้อตกลงและค่าเสียหายที่แท้จริง
สัญญาเช่าซื้อได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดและเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อแล้ว ถ้าขายได้ราคาไม่พอชำระค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อยังคงต้องชำระตามสัญญา รวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดหักด้วยค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระแล้ว ผู้เช่าซื้อตกลงจะชดใช้เงินจำนวนที่ขาดนั้นให้แก่เจ้าของ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อในลักษณะเป็นค่าขาดราคารถยนต์หาใช่เป็นการเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแล้วมาหักจากค่าเช่าซื้อทั้งหมดตามสัญญา และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (6) ทั้งไม่ใช่เป็นคดีที่ผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าเกี่ยวกับสัญญาเช่าที่อยู่ในอายุความ 6 เดือน การฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้เปลี่ยนรูปคดีเป็นเรียกค่าเสียหาย แต่หากมีมูลหนี้เดิมที่เคยฟ้องแล้ว ศาลจะถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็ค 3 ฉบับของ ก. จำนวน 400,000บาท นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสาขาของจำเลยที่ 1โดยไม่ขอรับเป็นเงินสดแต่ขอเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คแทน จำเลยที่ 2จึงออกแคชเชียร์เช็คในจำนวนเงินดังกล่าวให้ ต่อมาแคชเชียร์เช็คถูกระงับการจ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามแคชเชียร์เช็คจากจำเลยที่ 1 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เรียกเงินจำนวนเดียวกันนั้นอีก แม้จะเปลี่ยนแปลงตั้งรูปคดีใหม่เป็นเรียกค่าเสียหายและขอให้คืนเช็ค 3 ฉบับของ ก. แต่ก็เป็นการเรียกเงินตามแคชเชียร์เช็คที่สืบเนื่องจากเช็ค 3 ฉบับของ ก. ตามคดีก่อนนั่นเอง เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องซ้ำ: สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหายหลังศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาเดิม
คดีก่อนมีประเด็นว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้หรือไม่ ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องจะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เมื่อคดีก่อนศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องจำเลยอีกได้ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าวิชาชีพทนายความ: คดีต่อเนื่องกับการฟ้องขับไล่ และคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายแยกต่างหาก
โจทก์ซึ่งเป็นทนายความรับว่าความให้แก่จำเลยเพื่อฟ้องขับไล่ ช. กับพวกผู้เช่าออกไปจากตึกแถวและแผงลอยทั้งหมดโดยตกลงค่าวิชาชีพกันไว้เป็นจำนวนแน่นอน เมื่อโจทก์ดำเนินการให้จำเลยจนบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว คือฟ้องขับไล่และดำเนินการให้ผู้เช่าขนย้ายออกจากที่ดินที่เช่า เพื่อให้จำเลยซึ่งเป็นตัวความเข้าครอบครองที่ดินและ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าวิชาชีพเต็มตามจำนวน แม้จำเลยจะมีส่วนในการทำความตกลงกับผู้เช่าบางรายจนมีการประนีประนอมยอมความกันก็ตาม
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก
ในระหว่างที่โจทก์ดำเนินการขับไล่ผู้เช่า ช. กับพวกซึ่งเป็นผู้เช่าได้ยื่นฟ้องจำเลยกับพวกเป็นคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 10425/2534 กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำสัญญาเช่าที่ดินโดยทุจริต ขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าและชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้อง ช. กับพวกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16093/2534 ฐานละเมิด ให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย คดีทั้งสองเรื่องดังกล่าวจำเลยได้มอบให้โจทก์เป็นทนายความแก้ต่างและยื่นฟ้อง เมื่อคดีทั้งสองไม่มี ความสัมพันธ์กับคดีที่จำเลยฟ้องขับไล่ ช. กับพวก จึงไม่ใช่คดีที่ต่อเนื่องกัน จำเลยจึงต้องชำระค่าวิชาชีพในคดีแพ่งทั้งสองแยกต่างหากจากค่าวิชาชีพในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่ ช. กับพวก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: ประกันภัยกับประกันภัย vs. ประกันภัยกับบุคคลภายนอก
โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535เท่านั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ มีความหมายว่าถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้ หมายความรวมถึง การฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อ ให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีขอให้จดทะเบียนเช่าและเรียกค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 245,600,000 บาทและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ทุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน 4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไร โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท
ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 245,600,000บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาท เพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย 245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้ การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน 4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไร โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท
ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 245,600,000บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาท เพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย 245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้ การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยตรง แต่มีสิทธิครอบครองตามสัญญา
ส. เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาจากบริษัท โจทก์ที่ 1 ได้รับโอนสิทธิการเช่าซื้อและรับมอบรถยนต์คันดังกล่าวมาจาก ส.โดยมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1กับส. ว่า หากโจทก์ที่ 1 ผ่อนชำระราคาเช่าซื้อในนามของ ส. ครบแล้ว บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจะโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่ ส.ส. ก็จะโอนทะเบียนรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองรถยนต์ตามสัญญาที่ทำไว้กับ ส. และมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดแก่รถยนต์คันนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าและเรียกค่าเสียหายได้
เจ้าของรวมซึ่งทำสัญญาให้จำเลยเช่าฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ค่าเสียหายจากการละเมิดต่อเนื่อง โจทก์เรียกค่าเสียหายจากละเมิดเดิมซ้ำไม่ได้
โจทก์เคยฟ้องจำเลยหาว่าละเมิดเข้ามาระเบิดเอาหินไปจากที่อันเป็นสิทธิของโจทก์ และเรียกค่าเสียหาย 140,000 บาทกับค่าเสียหายวันละ 840 บาท ตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะหยุดทำการระเบิดและขุดต่อยหิน ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดพิจารณา และจำเลยได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่อยู่ โจทก์มาฟ้องจำเลยอีกสำนวนหนึ่งว่า จำเลยไม่ยอมออกไปจากที่พิพาท ซึ่งโจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 60,000 บาท กับค่าเสียหายวันละ 420 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจำเลยจะสละการครอบครองรื้อถอนโรงเรือน สะพานและวัตถุระเบิดออกไปจากที่พิพาทดังนี้ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144,148