คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรียกเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8091/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การเรียกเงินเพื่อช่วยเหลือคดีในบริเวณศาล
ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เรียกเงินจำนวน 120,000 บาท จากผู้กล่าวหาอ้างว่าเพื่อนำไปให้พนักงานอัยการช่วยเหลือนาย ส. ซึ่งถูกดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษไม่ให้ต้องรับโทษ ผู้กล่าวหาได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ที่บริเวณศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จึงเป็นการประพฤติตน ไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน แม้มีการเรียกเงินจากผู้หางาน ศาลยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางาน
การจะเป็นผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง และมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหารงานก่อน จำเลยเป็นบุคคลธรรมดาไม่เคยได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศและไม่ได้จดทะเบียนเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานของบริษัทจัดหางานแต่อย่างใด ดังนั้น การกระทำของจำเลยนอกจากจะไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" แล้ว ยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้างอย่างจริงจัง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ฟ้องข้อ 1 ข. กล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ระหว่างวันที่ 3 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 เวลากลางคืนหลังเที่ยงต่อเนื่องกันและฟ้องข้อ 1 ค. หาว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2542 จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงฟังได้ตามโจทก์ฟ้อง การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. จึงมีวันกระทำความผิดต่างกันอย่างน้อย 1 วัน และความผิดดังกล่าวนี้มีเจตนากระทำต่อผู้เสียหายต่างคนกันด้วย จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจเรียกเงินโดยอ้างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่เข้าข่ายความผิด ม.337 หากไม่มีการขู่เข็ญหรือใช้กำลัง
วันเกิดเหตุขณะผู้เสียหายกำลังจัดของอยู่กลางร้าน จำเลยทั้งสี่เข้ามาในร้านผู้เสียหายถามว่ามาซื้ออะไร จำเลยที่ 1 บอกว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยในร้าน ต้องการเงิน 5,000 บาท เป็นค่าดูแล ผู้เสียหายรู้สึกไม่ปลอดภัยจึงเดินไปหลังร้านโทรศัพท์ไปที่สถานีตำรวจแต่ไม่ติด เมื่อเดินออกมาหน้าร้านก็เห็นจำเลยทั้งสี่เดินขึ้นรถยนต์กระบะไป จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและพูดขอเงินเป็นค่าดูแลร้านเท่านั้น ซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามแต่อย่างใด และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้รอเอาเงินจากผู้เสียหายตามที่พูด คำพูดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4410/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เรียกเงินและยอมรับทองคำแทน แม้ไม่รับทองคำก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยที่ 1 เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายจำนวน 50,000 บาท แต่ผู้เสียหายไม่มีเงินจึงขอให้สร้อยข้อมือกับสร้อยคอทองคำแทนแม้จำเลยที่ 1 จะไม่รับทองคำ แต่มีการควบคุมตัวผู้เสียหายกับพวกไปร้านอาหารแห่งหนึ่ง และต่อมาได้ปล่อยตัวผู้เสียหายไปเพื่อให้ไปขายทองคำและหาเงินมาให้ โดยควบคุมตัวสามีและบุตรของผู้เสียหายไว้ ถือได้ว่าผู้เสียหายยินยอมให้เงินแก่จำเลยทั้งสองตามที่เรียกร้องแล้ว แต่ในขณะนั้นผู้เสียหายไม่มีเงินจึงยินยอมให้สร้อยข้อมือกับสร้อยคอทองคำแทน แม้จำเลยทั้งสองไม่รับก็ครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเรียกเงินจากผู้เสียหายเพื่อแลกกับการคืนรถที่ถูกลักขโมย เข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร แม้ไม่มีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์
หลังจากรถยนต์เก๋งของโจทก์ร่วมถูกลักไปแล้ว ในระหว่างที่จำเลยรอการตกลงซื้อขายรถของโจทก์ร่วมให้แก่ลูกค้ารายอื่น จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์ร่วมตั้งแต่ครั้งแรกที่โจทก์ร่วมมาติดต่อให้จำเลยสืบหารถที่ถูกลัก โดยจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นรถอยู่ที่ใด พฤติการณ์ที่จำเลยเรียกเงินจากโจทก์ร่วมดังกล่าวหาใช่เป็นการเรียกค่าใช้จ่ายที่จำเลยออกทดรองจ่ายในการสืบหารถของโจทก์ร่วมไม่แต่เป็นการเรียกค่าไถ่รถจากโจทก์ร่วมอันเป็นการช่วยเหลือคนร้ายจำหน่ายทรัพย์โดยจำเลยรู้ดีว่าทรัพย์ดังกล่าวถูกคนร้ายลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานรับของโจรโดยไม่คำนึงถึงว่าจำเลยจะมีเจตนาทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ เพราะความผิดฐานนี้ต้องการองค์ประกอบความผิดภายในเพียงการกระทำโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 59เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินขาดจำนวน: พิจารณาจากวันที่รู้สิทธิและอายุความทั่วไปสิบปี
ป.พ.พ.มาตรา 467 ห้ามฟ้องในกรณีที่มีการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนจากที่ตกลงซื้อขายกันเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาส่งมอบดังนั้น หากผู้ซื้อต้องการเรียกร้องให้ผู้ขายส่งมอบที่ดินที่ขาดจำนวนเพื่อให้ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน ผู้ซื้อต้องฟ้องให้ผู้ขายรับผิดส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดดังกล่าวแก่ผู้ซื้อภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนซื้อขาย
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยส่งมอบที่ดินส่วนที่ขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ซื้อขายกันแก่โจทก์ แต่กรณีเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยไปบางส่วนคืนด้วยเหตุที่จำเลยส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันขาดตกบกพร่องจากจำนวนที่ตกลงซื้อขายกัน และจำเลยไม่อาจอ้างกฎหมายที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406กรณีต้องบังคับด้วยอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม มาตรา 419 ที่บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์จำเลยจดทะเบียนซื้อขายที่ดินกันเมื่อวันที่ 27พฤศจิกายน 2533 อันถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยชอบในวันดังกล่าว สิทธิที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินฐานลาภมิควรได้เกิดขึ้นแล้วแต่โจทก์เพิ่งมารู้ว่าที่ดินที่ซื้อจากจำเลยขาดตกบกพร่องจำนวนไปเมื่อได้มีการเปลี่ยนหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาเป็นโฉนดที่ดินที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2535 และนำคดีมาฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 จึงยังไม่พ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการซื้อขายกันเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายทั่วไปจึงต้องถืออายุความทั่วไปสิบปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่า ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และคดีโจทก์ขาดอายุความแล้ว คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันตามฟ้อง และคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เท่านั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องที่จำเลยได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ครบถ้วนแล้วและที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่ขาดไปเพราะถูกกันเป็นถนนและในปัญหาอื่นนอกจากนี้ขึ้นมาแม้จำเลยจะได้นำสืบไว้ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งการที่ที่ดินที่ซื้อขายจะส่งมอบให้แก่กันขาดจำนวนมากน้อยเพียงใดและด้วยเหตุใดนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาเหล่านี้ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 225 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขายที่ดินเวนคืน: 10 ปีตามหลักสัญญา ไม่ใช่ 1 ปีตามลาภมิควรได้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ในการที่โจทก์เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางด่วนมีสาระสำคัญว่าโจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลย 4 ตารางวา ตารางวาละ 150,000 บาทรวมเป็นเงิน 600,000 บาท ถ้ามีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแล้วหากปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันมากกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาโจทก์จะจ่ายค่าที่ดินเพิ่มให้แก่จำเลยตามอัตราที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำนวนเนื้อที่ดินน้อยกว่าที่ระบุไว้ในสัญญา จำเลยต้องคืนเงินค่าที่ดินให้แก่โจทก์ตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ลดลงตามอัตราที่กำหนดไว้ ดังนี้จำนวนเงิน ที่จำเลยรับไว้ก็ดีหรือต้องคืนให้แก่โจทก์ก็ดี เป็นเงิน ที่จำเลยรับไว้หรือต้องคืนตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้เป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ตามสัญญา หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์ เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้อันเป็นลาภมิควรได้อันโจทก์จะต้องใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 419 ไม่ แต่เป็นกรณีไม่มีกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้เป็นพิเศษ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 คือมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5462/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพื่อนำไปจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่ศาล ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
พยานแวดล้อมกรณีคือพยานเหตุผลที่จะทำให้ศาลเชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่หรือไม่ซึ่งจะต้องมีการใช้เหตุผลอนุมานเอาอีกต่อหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2รับฟังคำของส.เจ้าของบ้านอันเป็นสถานที่ที่มีการเรียกเงินและเป็นผู้แนะนำให้หาผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความให้กับคำของท. เพื่อนบ้านของผู้กล่าวหาซึ่งผู้กล่าวหายืมเงิน40,000บาทเพื่อนำไปให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาจึงมารู้เห็นเหตุการณ์อันเป็นพยานแวดล้อมที่มีรายละเอียดประกอบชอบด้วยเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างอยู่จึงไม่ขัดต่อวิธีพิจารณาความ พยานคู่กันนั้นไม่จำเป็นต้องรู้เห็นเหตุการณ์หรือเบิกความได้ตรงกันหมดทุกตอนจึงจะรับฟังได้พยานอาจเบิกความสนับสนุนบางตอนเท่าที่ตนรู้เห็นจริงซึ่งขึ้นอยู่กับศิลปะในการซักถามพยานของพนักงานอัยการหรือทนายความผู้ว่าคดีด้วยในเมื่อพยานเบิกความในสาระสำคัญตรงกันว่าผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกเงินจากผู้กล่าวหาโดยอ้างว่าจะเอาไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาโดยเฉพาะคำเบิกความของพยานทุกปากไม่มีทนายความช่วยเหลือซักถามเป็นการเบิกความเล่าเรื่องต่อศาลเองแต่ยังคงได้ความในสาระสำคัญตรงกันเช่นนี้ย่อมมีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่ามีการอ้างว่าจะเอาเงินไปให้พนักงานอัยการและผู้พิพากษาจริง แม้การอ้างว่าจะเอาเงินไปให้ผู้พิพากษาจะกระทำนอกบริเวณศาลแต่การอ้างเช่นว่านั้นก็เพื่อเป็นอามิสสินจ้างในการดำเนินคดีในศาลผลที่เกิดขึ้นจึงมุ่งหมายให้มีผลในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลถือได้ว่าเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลโดยเฉพาะคดีนี้ยังมีการทวงถามเงินดังกล่าวในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกเงินจากผู้กล่าวหาด้วยจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัญชีธนาคาร: พิจารณาจากฝากทรัพย์ ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลย เช็คที่โจทก์สั่งให้จำเลยจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ถูกแก้ไขเดือนและปี ในข้อสำคัญและเห็นได้ชัดเจนจำเลยกระทำโดยประมาท จ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ชอบ ขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้เงินคืน เป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืน หาใช่เป็นการฟ้องในมูลหนี้ละเมิดไม่ อายุความต้องถือตามบทบัญญัติ เรื่องฝากทรัพย์ เมื่อมิใช่เป็นการฟ้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินจากบัญชีธนาคาร: พิจารณาจากฝากทรัพย์ ไม่ใช่ละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยเช็คที่โจทก์สั่งให้จำเลยจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์ถูกแก้ไขเดือนและปีในข้อสำคัญและเห็นได้ชัดเจนจำเลยกระทำโดยประมาทจ่ายเงินจากบัญชีกระแสรายวันของโจทก์โดยไม่ชอบขอให้บังคับให้จำเลยชดใช้เงินคืนเป็นคำฟ้องที่มีลักษณะเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนหาใช่เป็นการฟ้องในมูลหนี้ละเมิดไม่อายุความต้องถือตามบทบัญญัติเรื่องฝากทรัพย์เมื่อมิใช่เป็นการฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ต้องใช้อายุความ10ปีตามมาตรา164เดิม
of 6