พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือและเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย: การตีความ 'เครื่องมือทำการประมง' ตาม พ.ร.บ.การประมง
พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสาหลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง" ดังนั้น เรือยนต์และอวนลากแขกจึงเป็นเครื่องมือทำการประมง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ออกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากคานถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด เรือยนต์และอวนลากแขกที่จำเลยใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 32 (2) ซึ่งต้องริบตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือและอุปกรณ์ทำการประมงที่ฝ่าฝืนประกาศห้ามใช้เครื่องมือประมง
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4(3)บัญญัติว่า "เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไกเครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสาหลัก หรือเรือบรรดาที่ใช้ทำการประมง" ดังนั้นเรือยนต์และอวนลากแขกจึงเป็นเครื่องมือทำการประมง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ออกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลาก คาน ถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด เรือยนต์และอวนลากแขกที่จำเลยใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 32(2) ซึ่งต้องริบตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดทางเรือ: เจ้าของเรือและผู้ครอบครองไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือยนต์ที่ไปทำละเมิด จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองเรือยนต์ที่ก่อเหตุละเมิด แต่ ป.พ.พ. มาตรา425 และมาตรา 437 วรรคแรก มิได้บัญญัติให้เจ้าของเรือยนต์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย จึงขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายด้วยไม่ได้ ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 2 นั้น ตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่บรรยายว่า ลูกจ้างที่ยังไม่ทราบชื่อของจำเลยที่ 2 ได้ขับเรือแล่นไปชนเรือของโจทก์โดยมิได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ที่ขับเรือไปชนนั้นกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ทั้งข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ในเรือที่ก่อเหตุด้วย แม้จะได้บันทึกประจำวันว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองก็ไม่ทำให้ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ครอบครองจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดทางเรือ: เจ้าของเรือไม่ต้องรับผิดหากมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และผู้ขับเรือไม่ได้กระทำการในทางการจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นเจ้าของเรือยนต์ที่ไปทำละเมิดจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองเรือยนต์ที่ก่อเหตุละเมิดแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา425และมาตรา437วรรคแรกมิได้บัญญัติให้เจ้าของเรือยนต์ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วยจึงขอบังคับให้จำเลยที่1ชดใช้ค่าเสียหายด้วยไม่ได้ส่วนความรับผิดของจำเลยที่2นั้นตามคำฟ้องโจทก์เพียงแต่บรรยายว่าลูกจ้างที่ยังไม่ทราบชื่อของจำเลยที่2ได้ขับเรือแล่นไปชนเรือของโจทก์โดยมิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ที่ขับเรือไปชนนั้นกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ทั้งข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่1และจำเลยที่2มิได้อยู่ในเรือที่ก่อเหตุด้วยแม้จะได้บันทึกประจำวันว่าจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองก็ไม่ทำให้ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ครอบครองจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือโดยตรง สัญญาจึงไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
เรือ ด.และเรือ ก.มีชื่อ ส.และ ก.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามลำดับ แต่เรือทั้งสองลำดังกล่าวได้ทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า จึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดเรือไว้ โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือดังกล่าวจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเรือทั้งสองลำดังกล่าวและไม่สามารถที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำให้แก่จำเลยได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะที่โจทก์และจำเลยทำสัญญากันนั้นทั้งสองฝ่ายต่างทราบดีอยู่แล้วว่าประเทศสหภาพพม่าหรือรัฐบาลสหภาพพม่าก็ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์เรือทั้งสองลำนั้นแต่รัฐบาลสหภาพพม่ามีสิทธิยึดเรือไว้เพราะทำผิดกฎหมายของประเทศสหภาพพม่าดังนั้นที่โจทก์ซื้อเรือทั้งสองลำจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้น ดังนั้น ที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่ามิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคแรก ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระค่าซื้อสิทธินำเรือกลับประเทศไทยจากโจทก์และโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามเช็คจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมเช่นนี้ก็ไม่มีบทกฎหมายจะให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะอ้างเอกสารเป็นพยาน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ก็บัญญัติแต่เพียงว่า ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่คู่ความมิได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงเท่านั้น ทั้งยังยกเว้นไว้ด้วยว่าถ้าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี แม้จะฝ่าฝืนบทบัญญัติในอนุมาตรานี้ก็ให้อำนาจศาลที่จะรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านี้ได้ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานเอกสารดังกล่าว จึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการนำเรือกลับไทย ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ซื้อเรือจาก รัฐบาลสหภาพพม่าซึ่งยึดเรือไว้เพราะเรือดังกล่าวทำผิดกฎหมายโดยทำ การประมงเข้าไปใน เขตน่านน้ำของ ประเทศสหภาพพม่า เป็นเพียงการ ซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับคืนประเทศไทยได้เมื่อโจทก์ ขายสิทธิให้แก่จำเลยจึงมิใช่การ ซื้อขายเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกไม่จำต้องทำ เป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ค่าอ้างเอกสารเป็น ค่าธรรมเนียมอื่นๆเมื่อโจทก์มิได้จงใจที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวและศาลเห็นว่าเป็น พยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)ก็ให้ อำนาจศาล รับฟังพยานหลักฐานนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในการรับเรือคืนจากต่างประเทศ ไม่ใช่การซื้อขายเรือตามกฎหมาย จึงไม่ต้องจดทะเบียน
มีผู้นำเรือทำการประมงเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศสหภาพพม่าจึงถูกเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าจับกุมและยึดไว้โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อเรือจากเจ้าหน้าที่ของประเทศสหภาพพม่าแล้วมาทำสัญญาขายต่อให้แก่จำเลยดังนั้นการที่โจทก์ซื้อเรือจากประเทศสหภาพพม่าจึงเป็นเพียงการซื้อสิทธิที่จะได้รับอนุญาตให้นำเรือกลับประเทศไทยได้เท่านั้นการที่โจทก์ขายสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยจึงเป็นการขายสิทธิจะได้รับเรือคืนจากประเทศสหภาพพม่า มิใช่การซื้อขายเรือตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีผลบังคับได้และไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 นั้นหากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่
บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 226, 227
บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 226, 227
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 นั้น หากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่ บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227