คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เรือนหอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนหอเป็นสินส่วนแบ่งหลังการแต่งงาน: สิทธิในทรัพย์สินหลังหย่า
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนหอเป็นสินสอด: การบังคับคดีกับทรัพย์สินที่เป็นสินสอดต้องตกเป็นของผู้ร้อง
มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรสาวของผู้ร้องให้แต่งงานกับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกทองคำและเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้นสร้างให้เพื่อตอบแทนบิดามารดาฝ่ายหญิงที่ให้บุตรสาวแต่งงาน เรือนหอจะสร้างตรงไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับบิดามารดาของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอย่อมตกเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องขอให้ปล่อยเรือนหอที่โจทก์ยึดไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เรือนหอเป็นสินสอด: สิทธิในทรัพย์สินจากการแต่งงานและการบังคับคดี
บ้านพิพาทต่อเติมออกไปจากบ้านผู้ร้อง เพื่อใช้เป็นเรือนหอระหว่างจำเลยกับบุตรของผู้ร้อง โดยใช้เลขที่บ้านเดียวกัน และสำเนาทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นของผู้ร้อง และพยานโจทก์เบิกความรับข้อเท็จจริงว่าตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อตอบแทนที่บิดามารดาฝ่ายหญิงยอมให้บุตรสาวแต่งงานดังนั้นเรือนหอส่วนที่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงานย่อมตกเป็นของผู้ร้องเพราะมีลักษณะเป็นสินสอดซึ่งตกได้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 มิได้เป็นทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์จะยึดมาบังคับคดีได้ ผู้ร้องจึงขอให้ปล่อยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1329/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. เรือนหอ: เจ้าของที่ดินมีอำนาจขับไล่ได้แม้เคยยินยอมให้ปลูกสร้าง
ที่ดินพิพาทเดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.บุตรชายโจทก์ต่อมาส. ขายที่ดินพิพาทให้แก่น้องชาย ส.แล้วน้องชายส. ขายให้โจทก์ จำเลยและบุตรสาวโจทก์เป็นสามีภรรยากัน ก่อนที่จำเลยและบุตรสาวโจทก์จะแต่งงานกัน จำเลยได้ออกเงินปลูกเรือนหอในที่ดินพิพาทซึ่ง ขณะนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.โดยบุตรสาวโจทก์เป็นผู้ขออนุญาตส. และโจทก์ยินยอมอนุญาตให้ จำเลยปลูกเรือนหอได้ ต่อมาจำเลยกับน้องภรรยาจำเลยเกิดทะเลากัน ภรรยาจำเลย โจทก์และญาติโจทก์ที่อยู่อาศัยในเรือนหอพากันออกไปจากเรือนหอ แล้วโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนเรือนหอออกไปจากที่ดินโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทไม่มีความประสงค์จะให้เรือนหอของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์ต่อไป ก็ย่อมมีอำนาจขับไล่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
แม้โจทก์จะเคยให้ความยินยอมร่วมกับ ส. อนุญาตให้จำเลยปลูกเรือนหอลงในที่ดิน ก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์และไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินในภายหลัง
ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 ที่เกี่ยวกับเรือนหอนั้น เป็นบทบัญยัติพิเศษยกเว้นกฎหมายลักษณะทรัพย์ ไม่ให้ถือว่าเรือนหกที่ชายปลูกลงในที่ดินของฝ่ายหญิงตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายหญิงผู้เป็นเจ้าของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 โดยให้ถือว่าเรือนหอนั้นเป็นกรรมสิทธิ์และสินเดิมของชายและเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา มิใช่เป็นบทบัญญัติตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินให้ลดน้อยลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนมือเรือนเป็นเรือนหอ: ไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 1299 หากไม่ใช่การซื้อขายหรือยกให้
เรือนพิพาทเดิมเป็นของผู้ร้องและปลูกอยู่ในที่ดินของผู้ร้อง เมื่อจำเลยมาแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้อง ฝ่ายผู้ร้องได้เรียกเอาเงินเป็นค่าเรือนหอและมอบเรือนนั้นให้เป็นที่อยู่อาศัยของคู่สมรส เรือนนั้นจึงเปลี่ยนมือจากผู้ร้องมาเป็นเรือนหออันเป็นสินเดิมของจำเลย กรณีมิใช่เรื่องซื้อขายหรือยกให้ ไม่จำต้องมีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เรือนพิพาทเป็นของจำเลย ดังแบบอย่างฎีกาที่ 1693/2500
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนมือของเรือนเป็นเรือนหอและอำนาจยึดทรัพย์ การให้เงินค่าเรือนหอทำให้เรือนตกเป็นสินเดิมของจำเลย
เรือนพิพาทเดิมเป็นของผู้ร้องและปลูกอยู่ในที่ดินของผู้ร้องเมื่อจำเลยมาแต่งงานกับบุตรสาวของผู้ร้องฝ่ายผู้ร้องได้เรียกเอาเงินเป็นค่าเรือนหอและมอบเรือนนั้นให้เป็นที่อยู่อาศัยของคู่สมรสเรือนนั้นจึงเปลี่ยนมือจากผู้ร้องมาเป็นเรือนหออันเป็นสินเดิมของจำเลย กรณีมิใช่เรื่องซื้อขายหรือยกให้ไม่จำต้องมีการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 เรือนพิพาทเป็นของจำเลย ดังแบบอย่างฎีกาที่ 1693/2500
โจทก์ขอ และศาลสั่งให้เจ้าพนักงานศาลนำเอกสารพยานไปส่งกองวิทยาการ กรมตำรวจ เพื่อตรวจพิสูจน์ ค่าพาหนะและค่าป่วยการที่โจทก์เสียให้เจ้าพนักงานศาลนี้ นับเป็นค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161ซึ่งผู้แพ้คดีจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เรือนหอจากค่าเรือนหอสู่สินเดิม
จำเลยที่ 1 ให้เงินแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 2 ที่จะแต่งงาน เป็นค่าเรือนหอ โจทก์ยินยอมให้เอาเรือนพิพาทเป็นเรือนหอ เมื่อแต่งงานแล้วจำเลยทั้ง 2 ก็อยู่ในเรือนพิพาท ๆ เป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยต้องการจะย้ายที่อยู่ ได้จัดการย้ายเรือนพิพาทไป เช่นนี้ โจทก์จะมาเรียกให้จำเลยคืนเรือนไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1693/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์เรือนหอจากค่าเรือนหอ: เรือนหอเปลี่ยนมือจากค่าเรือนหอไม่ใช่การซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ให้เงินแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาจำเลยที่ 2 ที่จะแต่งงาน เป็นค่าเรือนหอ โจทก์ยินยอมให้เอาเรือนพิพาทเป็นเรือนหอ เมื่อแต่งงานแล้วจำเลยทั้ง 2 ก็อยู่ในเรือนพิพาท เรือนพิพาทเป็นสินเดิมของจำเลยที่ 1เมื่อจำเลยต้องการจะย้ายที่อยู่ ได้จัดการย้ายเรือนพิพาทไป เช่นนี้ โจทก์จะมาเรียกให้จำเลยคืนเรือนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนหอในกฎหมายลักษณะผัวเมีย การชำระราคาสำคัญกว่ารูปแบบสัญญา
โจทก์แต่งงานกับบุตรจำเลย ๆ ได้ขายเรือนของจำเลยให้แก่โจทก์เป็นเรือนหอซึ่งในขณะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยายังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ ซึ่งตามกฎหมายนั้นเรือนหอเป็นสินเดิมของฝ่ายที่ออกทรัพย์ปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในเรือนหอเป็นของใคร จึงอยู่ที่ว่าได้ชำระราคากันแล้วหรือยัง หาใช่เรื่องการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะซื้อขายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนหอในความสัมพันธ์ผัวเมีย: การชำระราคาเป็นสำคัญ
โจทก์แต่งงานกับบุตรจำเลย จำเลยได้ขายเรือนของจำเลยให้แก่โจทก์เป็นเรือนหอ ซึ่งในขณะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยายังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ ซึ่งตามกฎหมายนั้นเรือนหอเป็นสินเดิมของฝ่ายที่ออกทรัพย์ ปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในเรือนหอเป็นของใคร จึงอยู่ที่ว่าได้ชำระราคากันแล้วหรือยัง หาใช่เรื่องการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะซื้อขายไม่
of 2